มะเขือเปราะ หรือ ลูกเขือเปราะ เปลือกผลเป็นมันหนา มีรสขื่นเล็กน้อย

มะเขือเปราะ หรือ ลูกเขือเปราะ

ชื่ออื่นๆ : มะเขือขัยคำ, มะเขือคางกบ, มะเขือจาน, มะเขือแจ้, มะเขือแจ้ดิน, มะเขือดำ (ภาคเหนือ) มะเขือหืน (ภาคอีสาน) มะเขือขื่น, มะเขือเสวย (ภาคกลาง) เขือพา, เขือหิน (ภาคใต้) มั่งคอเก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย

ชื่อสามัญ : Thai Eggplant

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum melongena Linn.

ชื่อวงศ์ :  SOLANACEAE

ลักษณะของมะเขือเปราะ หรือ ลูกเขือเปราะ

ต้น  เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งแขนงตั้งแต่ระดับต่ำเป็นทรงพุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 20-100 เซนติเมตร ลำต้นเปลือกลำต้นบาง สีเขียวหรือเขียวอมเทา ส่วนลำต้นที่ปลายกิ่งจะมีสีเขียวอ่อน เนื้อไม้เป็นไม้เนื้ออ่อนมีสีขาว เปราะและหักง่าย

ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันบนกิ่ง มีก้านใบยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร  แผ่นใบเรียบ มีขนปกคลุมทั้งด้านล่าง และด้านบน ขอบใบเว้า โค้งเป็นลูกคลื่น และงุ้มเข้าหากลางใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15เซนติเมตร

ต้นมะเขือเปราะ
ต้นมะเขือเปราะ สีเขียวหรือเขียวอมเทา

ดอก  เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อออกบริเวณซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ขนาดเล็ก สีเขียว หุ้มห่อฐานดอกไว้ ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบ และกลางกลีบเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็นแฉก 5 แฉก มีจงอยแหลมตรงกลางกลีบ แผ่นกลีบดอกย่น มีขนโดยดอกจะเป็นสีขาวหรือสีม่วงแล้วแต่สายพันธุ์  และมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ทรงกระบอก สีเหลือง และเกสรเพศเมีย มีก้านเกสร 1 อัน สีเหลืองอมส้ม แทงยื่นยาวกว่าเกสรตัวผู้

ดอกมะเขือเปราะ
ดอกมะเขือเปราะ ดอกสีม่วง มี 5 กลีบ

ผล  ออกเป็นผลเดี่ยว แต่ละผลจะมีก้านผลที่พัฒนามาจากก้านดอก ยาว 3-5 เซนติเมตร ที่ขั้วผลหุ้มด้วยกลีบเลี้ยงขนาดใหญ่ สีเขียว  ผลจะเป็นทรงกลมหรือเป็นรูปไข่ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และมีเปลือกผลเป็นมันหนา เรียบ เป็นมัน มีหลายสีขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เช่น สีขาว สีเขียวอ่อน สีเขียวเข้ม หรือมีลายปะสีขาวขนาดผลกว้าง 3-5 เซนติเมตร แล้วแต่สายพันธุ์ เนื้อในผลมีลักษณะเป็นเมือก มีรสขื่นเล็กน้อยหรือบางสายพันธุ์ไม่มีรสขื่นเลย และมีเมล็ดสีเหลือง หรือ น้ำตาล ข้างในมาก

ผลมะเขือเปราะ
ผลมะเขือเปราะ ผลจะเป็นทรงกลมหรือเป็นรูปไข่ สีเขียว สีขาว

การขยายพันธุ์ของมะเขือเปราะ หรือ ลูกเขือเปราะ

ใช้เมล็ด/นำเมล็ดมะเขือเปราะ หยอดลงในหลุมปลูก

การดูแลรักษา

  1. ย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในแปลง หรือในกระถาง
  2. รดน้ำทุกวัน และในช่วงการติดผลต้องระมัดระวังในน้ำอย่างสม่ำเสมอ
  3. หลังย้ายปลูกแล้ว 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1/4 ช้อนชา ควรโรยปุ๋ยห่างโคนต้นประมาณ 2-3 เซนติเมตรและรดน้ำทันที
  4. ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1/4 ช้อนชาทุกๆ 15 วัน
  5. หลังย้ายปลูกนาน 45-60 วัน มะเขือเปราะเริ่มทยอยผลผลิต สามารถเก็บผลผลิตไปบริโภคได้
  6. หลังจากที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือเปราะไปแล้วประมาณ 2 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งออกบ้าง เพื่อทำให้ลำต้นมะเขือเปราะเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านใหม่ที่มีความแข็งแรง จะให้ผลผลิตรุ่นใหม่ได้อีก และควรทำการตัดแต่งและบำรุงต้นมะเขือเปราะด้วยฮอร์โมนช้อนเงินเช่นนี้ทุกๆ 2-3 เดือน

ธาตุอาหารหลักที่มะเขือเปราะ หรือ ลูกเขือเปราะต้องการ

ประโยชน์ของมะเขือเปราะ หรือ ลูกเขือเปราะ

จัดเป็นผักชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมรับประทานโดยใช้รับประทานเป็นผักคู่กับอาหารต่างๆ อาทิ ลาบ  น้ำพริก ส้มตำ ซุบหน่อไม้ และคั่วกลิ้ง อีกทั้งยังสามารถใช้ประกอบอาหารเดี่ยวๆ อาทิ แกงเผ็ด ซุบมะเขือ หรือใช้เป็น

สรรพคุณทางยาของมะเขือเปราะ หรือ ลูกเขือเปราะ

มะเขือเปราะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และขับปัสสาวะ

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเปราะ หรือ ลูกเขือเปราะ

มะเขือเปราะ 100 กรัม ให้พลังงาน 39 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

  • โปรตีน 1.6 กรัม
  • ไขมัน 0.5 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม
  • แคลเซียม 7 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม
  • ไทอะมิน 0.11 มิลลิกรัม
  • ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม
  • ไรโบฟลาวิน 0.06 มิลลิกรัม
  • น้ำ 90.2 กรัม
  • วิตามินเอรวม 143 RE.
  • วิตามินซี 24 มิลลิกรัม

การแปรรูปของมะเขือเปราะ หรือ ลูกเขือเปราะ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11067&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment