มังคุด ราชินีแห่งผลไม้ เนื้อมังคุดมีคุณค่าทางอาหารสูง

มังคุด

ชื่ออื่นๆ : มังคุด

ต้นกำเนิด : ภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินโดนีเซีย

ชื่อสามัญ : Mangosteen

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia mangostana Linn.

ชื่อวงศ์ : Guttiferae

ลักษณะของมังคุด

ต้น ไม้ยืนต้น ลำต้นตั้งตรง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ผิวลำต้นเรียบ ทุกส่วนมียางสีเหลือง

ใบ เดี่ยวใบรูปไข่ ขนาดใหญ่ ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาค่อนข้างเหนียว ผิวใบมัน มีต้นตัวผู้กับต้นตัวเมียแยกจากกัน

ดอก เดี่ยวออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง แข็ง จะคงทนอยู่จนกลายเป็นผล กลีบดอกสีชมพูเข้ม ร่วงง่าย จะเริ่มออกดอกประมาณ กลางเดือนพฤศจิกายน

ผล ค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย ผลอ่อนสีเหลืองอมเขียว ผิวผลแข็ง ผลแก่สุกจะเป็นผลสีม่วงดำ ผิวด้านในสีชมพูอมม่วง เปลือกผลหนา ผิวผลนิ่ม ภายในมีมีเนื้อสีขาว รสหวาน หรือ หวานอมเปรี้ยว มีเนื้อใน 5-7 กลีบ มีเมล็ด 0-2 เมล็ด ในหนึ่งผลมีเมล็ดใหญ่เพียงหนึ่งเมล็ด ออกผลช่วงเดือนมิถุนายน

ต้นมังคุด
ต้นมังคุด ลำต้นตรง ใบยาวรี

การขยายพันธุ์ของมังคุด

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มังคุดต้องการ

ประโยชน์ของมังคุด

รับประทานผลสุก

สรรพคุณทางยาของมังคุด

ตำรายาไทยใช้เปลือกผลแห้งซึ่งมีสารแทนนินเป็นยาฝาดสมาน แก้โรคท้องร่วง ท้องเสียเรื้อรังและโรคเกี่ยวกับลำไส้ พบสาร xanthone ในเปลือกผลมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดหนอง โดยสามารถฆ่าได้ทั้งสายพันธุ์ปกติและสายพันธุ์ปกติและสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาเพนนิซิลลิน มีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังหลายชนิดและลดการอักเสบด้วย จึงมีการพัฒนายาในรูปครีมผสมสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากเปลือกผล เพื่อใช้รักษาแผลที่เป็นหนองและสิวซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ ตลอดจนใช้ช่วยลดร่องรอยด่างดำบนใบหน้าด้วยตำรายาไทยใช้เปลือกผลแห้งซึ่งมีสารแทนนินเป็นยาฝาดสมาน แก้โรคท้องร่วง ท้องเสียเรื้อรังและโรคเกี่ยวกับลำไส้ พบสาร xanthone ในเปลือกผลมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดหนอง โดยสามารถฆ่าได้ทั้งสายพันธุ์ปกติและสายพันธุ์ปกติและสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาเพนนิซิลลิน มีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังหลายชนิดและลดการอักเสบด้วย จึงมีการพัฒนายาในรูปครีมผสมสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากเปลือกผล เพื่อใช้รักษาแผลที่เป็นหนองและสิวซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ ตลอดจนใช้ช่วยลดร่องรอยด่างดำบนใบหน้าด้วย

  • สรรพคุณทางยา
    เปลือกผลแก่แห้ง มีสารแทนนินบำบัดท้องเสีย ใช้เปลือกผล 1/2 ผล ต้มกับน้ำปูนใส ดื่มแต่น้ำ หรือใช้ครึ่งผล ฝนกับน้ำรับประทานครั้งละ 2-5 ช้อนชา แก้บิด ใช้เปลือกผล 1/2 ผล ปิ้งไฟให้เกรียม ฝนกับน้ำปูนใสหรือฝนกับน้ำดื่ม ครั้งละ 2-5 ช้อนชา รักษาแผลพุพอง ใช้เปลือกผลฝนกับน้ำข้น ๆ ทารักษาแผลพุพอง รักษาน้ำกัดเท้า ใช้เปลือกผลฝนกับน้ำข้น ๆ ทารักษาแผลพุพอง
  • ต้น ใบ และดอก รักษาโรคบิดมูกเลือด
  • เปลือกต้น ชะล้างบาดแผล รักษาแผล 
  • ผลดิบ สมานแผล แก้บาดแผล แก้ท้องร่วง แก้บิด
  • เนื้อในผล บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย
ผลมังคุดสุก
ผลมังคุดสุก ผลสีม่วง ผลสุกจัดสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด

เนื้อมังคุดมีคุณค่าทางอาหารสูงโดยเฉพาะโพแทสเซียม โปรตีน สารเยื่อใย วิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียมและแมกนีเซียม

ในน้ำมังคุด 100 มิลลิลิตร ประกอบด้วย

  • โพแทสเซียมปริมาณสูงถึง 87.14 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 34.53 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 111.22 มิลลิกรัม 
เนื้อผลมังคุด
เนื้อผลมังคุด เนื้อมีสีขาวขุ่น

การแปรรูปของมังคุด

มีการนำมังคุดมาประกอบอาหารบ้างทั้งอาหารคาว เช่น แกง ยำ และอาหารหวาน เช่น มังคุดลอยแก้ว แยมมังคุด มังคุดกวน มังคุดแช่อิ่ม ในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีการทำมังคุดคัด ด้วยการแกะเนื้อมังคุดห่ามออกมาเสียบไม้รับประทาน ในขณะที่ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทางมังคุดสุกเป็นผลไม้ ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย และยังมีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอีกด้วย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11112&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

7 Comments

Add a Comment