มันขี้หนู หรือ หัวมันขี้หนู (ภาคใต้) นิยมบริโภคกันมากในภาคใต้ โดยใส่ในแกงส้มหรือทำเป็นอาหารว่างต้มจิ้มเกลือ

มันขี้หนู หรือ หัวมันขี้หนู (ภาคใต้)

ชื่ออื่นๆ : มันหนู (ใต้) อุปิกะลัง (นราธิวาส, มาเลเซีย)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : มันขี้หนู (นครศรีธรรมราช, สงขลา)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plectranthus rotundifolius

ชื่อวงศ์ : Lamiaceae

ลักษณะของมันขี้หนู หรือ หัวมันขี้หนู (ภาคใต้)

เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นสูงประมาณ 1- 2 ฟุต ลำต้นอวบน้ำมีขนปกคลุม มีหัวใต้ดินที่เติบโตจากราก สามารถรับประทานและใช้ขยายพันธุ์ต่อไปได้ ลำต้นอวบน้ำ มีขนปกคลุม ลำต้นเป็นสีเหลี่ยมและทอดเลื้อย ใบเดี่ยวรูปกลมแกมไข่ ขอบใบหยัก ปลายใบมน ออกตรงข้ามสลับตั้งฉากกัน โดยออกจากหัว ใบแผ่บนผิวดิน ขนาดของใบยาวประมาณ 6.5 – 8.5 ซม. กว้างประมาณ 5 – 7 ซม. ก้านใบยาว 4 – 5 ซม. ดอก มีขนาดเล็กสีขาวอมม่วง ช่อดอกออกที่ปลายยอดชูตั้งขึ้นสูง แต่ไม่ค่อยติดผล
หัว รากของมันขี้หนู บริเวณข้อของลำต้นจะมีการสะสมอาหารและพัฒนากลายเป็นหัวขนาดเล็ก ยาว 3- 5 ซม. ทรงกระบอกหัวท้ายป้าน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 – 3 ซม.ผิวเปลือกของหัวมีสีน้ำตาลเนื้อในสีขาวหรือม่วง

มันขี้หนูก็ไม่มีการเรียกชื่อเป็นพันธุ์ ๆ แต่หากดูที่ลักษณะหัวพอจะ แยกได้เป็น 3 ลักษณะ..คือ หัวทรงผอมยาวปลายแหลม หัวทรงกระบอก และหัวทรงกลม

ต้นมันขี้หนู
ต้นมันขี้หนู ขอบใบหยักมน ช่อดอกออกที่ปลายยอด สีม่วงอมขาว

การขยายพันธุ์ของมันขี้หนู หรือ หัวมันขี้หนู (ภาคใต้)

ใช้เมล็ด/การปลูก
ในปัจจุบันมีการปลูกมันขี้หนูเพื่อการค้า แต่มีปริมาณน้อยมาก โดยปลูกตามท้องไร่และสวนยางเล็กในภาคใต้ มันขี้หนูเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ไม่ท่วม39618832835_5ab6bb27a8_wขังและได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ถ้ามีการพูนโคนก็จะให้หัวได้ดี การเก็บเกี่ยวผลผลิตสามารถเก็บได้มากในช่วงฤดูฝน

ธาตุอาหารหลักที่มันขี้หนู หรือ หัวมันขี้หนู (ภาคใต้)ต้องการ

ประโยชน์ของมันขี้หนู หรือ หัวมันขี้หนู (ภาคใต้)

หัวมันขี้หนูที่ขุดขึ้นมา จะมีสีดำ จะต้องใช้มีดขูดผิวเพื่อให้มีสีขาวน่ารับประทาน นิยมบริโภคกันมากในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคใต้ตอนล่าง (สงขลา สตูล นราธิวาส ปัตตานี ยะลา) และ นครศรีธรรมราช โดยใช้ใส่ในแกงส้ม แกงกะทิ แกงไตปลา หรือทำเป็นอาหารว่างต้มจิ้มเกลือ หรือน้ำตาลทรายขาวก็ได้

หัวหรือรากมันขี้หนู
หัวหรือรากมันขี้หนู ทรงกลม ผิวเปลือกของหัวมีสีน้ำตาล

สรรพคุณทางยาของมันขี้หนู หรือ หัวมันขี้หนู (ภาคใต้)

คุณค่าทางโภชนาการของมันขี้หนู หรือ หัวมันขี้หนู (ภาคใต้)

คุณค่าทางโภชนาการ

มันขี้หนูดิบ 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 78 กิโลแคลอรี
ประกอบด้วย น้ำ 80.6 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 17.0 กรัม
โปรตีน 0.5 กรัม
ไขมัน 0.6 กรัม
กาก 0.7 กรัม
แคลเซียม 19 มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน 7 ไมโครกรัม
ไนอาซีน 0.2 มิลลิกรัม
วิตามินซี 4 มิลลิกรัม

การแปรรูปของมันขี้หนู หรือ หัวมันขี้หนู (ภาคใต้)

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11145&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment