การปลูกมันสำปะหลัง ให้ได้ผลผลิตสูง และการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง

มันสำปะหลัง

ชื่ออื่นๆ : มันสำโรง, มันไม้ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า มันต้นเตี้ย ภาคใต้เรียก มันเทศ (แต่เรียกมันเทศว่า “มันหลา”) คำว่า “สำปะหลัง” ที่นิยมเรียกอาจมาจากคำว่า “ซำเปอ (Sampou)” ของชวาตะวันตก

ต้นกำเนิด : อเมริกาใต้

ชื่อสามัญ : Cassava

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manihot esculenta Crantz.

ชื่อวงศ์ : Euprorbiaceae

ลักษณะของมันสำปะหลัง

มันสำปะหลัง เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นตั้งตรง สูง 1.3–5 เมตร รากแบบสะสมอาหาร (tuberous root) สายพันธุ์ที่นิยมปลูกสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10–1.5 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อๆ ซึ่งเป็นรอยที่ก้าน ใบร่วงหลุดไป สีของลำต้นส่วนยอดจะเป็นสีเขียว ส่วนทางด้านล่างอาจมีสีน้ำตาลหรือสีม่วงแดงขึ้นอยู่กับพันธุ์ มีรากน้อยและอยู่ไม่ลึกจากผิวดิน มีราก 2 ชนิด คือรากจริงและรากสะสมอาหาร ที่เรียกกันทั่วไปว่า หัว มีปริมาณแป้งประมาณ 5-40 %

มันสำปะหลัง เป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ยอดใบจนถึงราก (หัวมัน) เพื่อการบริโภคเป็นอาหารมนุษย์ และอาหาร สัตว์ รวมถึงใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมต่างๆ อีกด้วย

มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

  1. ชนิดหวาน (Sweet Type)  เป็นมันสำปะหลังที่มีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคต่ำ ไม่มีรสขมใช้เพื่อการบริโภคของมนุษย์ มีทั้งชนิดเนื้อร่วนนุ่ม และชนิดเนื้อแน่น เหนียว แต่มีจำนวนน้อย
  2. ชนิดขม (Bitter Type) เป็นมันสำปะหลังที่มีกรดไฮโดรไซยานิคสูง เป็นพิษ และมีรสขม ไม่เหมาะสำหรับ การบริโภคของมนุษย์ หรือใช้หัวมันสำปะหลัง สดเลี้ยงสัตว์โดยตรง แต่จะใช้สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆเช่น แป้งมัน มันอัดเม็ด และแอลกอฮอล์ เป็นต้น เนื่องจากมีปริมาณแป้งสูง มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศ ไทยส่วนใหญ่เป็นชนิดขมสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม

    ต้นมันสำปะหลัง
    ต้นมันสำปะหลัง ลำต้นตั้งตรง สีเขียว

การปลูกมันสำปะหลัง

การเตรียมดิน

  1. โรยปุ๋ยหมักจุลินทรีย์อีเอ็มโบกาฉิ ในอัตรา 300 กิโลกรัม/ไร่
  2. ตามด้วยการฉีดพ่นจุลินทรีย์ฮอร์โมนผลไม้ในอัตรา 10 ปี๊บ/ไร่(น้ำหมัก 1 ช้อน + น้ำ 20 ลิตร/ปี๊บ)
  3. จากนั้นไถกลบหน้าดิน ตากดินไว้เพื่อท้าการหมักอย่างน้อย 15 วัน แล้วจึงยกร่องปลูก
  4. ยกร่องปลูกสูง 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างร่อง 1 เมตร แหวกกลางร่องออก แล้วหว่านปุ๋ยหมักจุลินทรีย์อีเอ็มโบกาฉิ 700 กิโลกรัม/ไร่ แล้วกลบทับท้าเป็นเนินเพื่อเตรียมปลูกต่อไป

การเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลั

  1. ตัดท่อนพันธุ์มันส้าปะหลังยาวประมาณ 6 ข้อ โดยตัดแบบทางตรงเพื่อให้รากและหัวมันออกเป็นวงกลม360 องศา
  2. ใช้เชือกมัดท่อนพันธุ์เป็นมัดๆ แล้วน้าไปแช่ในน้ำจุลินทรีย์ฮอร์โมนผลไม้ 1 ช้อน + น้ำ20 ลิตร แช่นาน 15 นาที เพื่อเป็นการเร่งรา

การปลูก

ปลูกท่อนพันธุ์แบบตั้งตรง ให้กดลงลึกประมาณ 3 ข้อ ระยะห่าง 1*1 เมต

การดูแลรักษา

  1. มันสำปะหลังอายุ 1 เดือน เริ่มรดบำรุงด้วยจุลินทรีย์ฮอร์โมนผลไม้ 1 ช้อน+น้ำ20 ลิตร ไปเรื่อยๆ จครบทุกต้น ประมาณ 200 ลิตร/ไร่
  2. เริ่มดายหญ้าเมื่อมันสำปะหลังมีอายุ 2 เดือนขึ้นไป ด้วยเคียวเกี่ยวหญ้า แล้วนำหญ้าวัชพืชต่างๆ มาคลุโคนต้นไว้เพื่อรักษาความชื้น
  3. ตัดแต่งกิ่งมันส้าปะหลังเมื่อมันอายุ 2 เดือน โดยให้เหลือกิ่งไว้ 2 กิ่งหันไปทางทิศเหนือใต้ ลักษณะคล้าตัว V เพื่อให้ได้รับแสงแดดเท่ากันทั้ง2 ด้าน
  4. ดายหญ้าอีกครั้งเมื่อมันอายุ 35 เดือน พร้อมตกแต่งกิ่ง
  5. รดน้ำหมักฮอร์โมนระเบิดหัวมันหรือฮอร์โมนอาหารหลัก 5 หมู่ สูตรเข้มข้นช่วงมันอายุ 35 เดือน เพื่อเร่งขยายหัวมันให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด 1 ครั้ง
  6. สังเกตมันเริ่มออกหัวเมื่ออายุ 35 เดือน จะมีรอยแยกของดิน
  7. หัวมันสำปะหลังเมื่ออายุ 35 เดือน จะมีความยาวประมาณ 120 เซนติเมต

    มันสำปะหลัง
    มันสำปะหลัง หรือหัวมันสำปะหลัง

การเก็บเกี่ยวสำปะหลัง

ควรเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังอายุมากกว่า 1012 เดือน หลังปลูก ไม่ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่มีฝนชุก เนื่องจากหัวมันสำปะหลังจะมีเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่มีอายุน้อยทำให้มีการสะสมน้ำหนักของมันสำปะหลังต่ำ เป็นผลให้มันสำปะหลังหัวเล็กผลผลิตต่อไร่ต่ำ แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้มันสำปะหลังมีอายุมากกว่า 18 เดือน เพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งลดล

การเก็บรักษาท่อนพันธุ์ไว้ใช้ในฤดูกาลถัดไป

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ของมันสำปะหลังคือ ส่วนของลำต้น การเก็บรักษาต้นพันธุ์ ระยะเวลาจำกัด เนื่องจากความสมบูรณ์ ความแข็งแรง และความงอกจะลดลงเรื่อยๆ ควรเก็บจากแปลงขยายท่อนพันธุ์ที่แยกไว้ต่างหากและปฏิบัติดังนี้

  1. ตัดต้นพันธุ์ที่ไม่ได้ขนาด เป็นโรค มีแมลงทำลายและพันธุ์อื่นที่ปนมาทิ้งก่อ
  2. เมื่อตัดท่อนพันธุ์แล้วควรรีบนำไปปลูกภายใน 1530วัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของท่อนพันธุ์ จึงไม่ควรตัดต้นพันธุ์มาเก็บไว้เพื่อรอจ้าหน่าย จ่าย แจก
  3. วิธีการเก็บรักษาต้นพันธุ์ที่ดีที่สุด คือ การทำแปลงขยายพันธุ์ไว้เฉพาะ ซึ่งจะเก็บเกี่ยวหลังจากเอาต้นพันธุ์ไปปลูกแล้ว หรือในปีถัดไป
  4. ในฤดูฝน เก็บไว้ในสภาพกลางแจ้งหรือในที่ร่มมีผลไม่แตกต่างกัน
  5. ในฤดูแล้ง เก็บในที่ร่มจะเก็บไว้ได้นานกว่าเก็บในสภาพกลางแจ้ง

โรคของมันสำปะหลัง

  1. โรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava mosaic disease)
    สาเหตุโรคเกิดจาดเชื้อ Cassava mosaic virus เชื้อสาเหตุโรคใบด่างมันส้าปะหลัง ปัจจุบันมีรายงานทั้งหมด 10 ชนิด ในทวีปแอฟริกาพบ 8 ชนิด และทวีปเอเชียพบ 2 ชนิด

    ลักษณะอาการของโรค มันสำปะหลังมีลักษณะอาการใบด่างเหลือง ต้นแคระแกร็นใบเสียรูปทรง ลดรูป ยอดที่แตกใหม่แสดงอาการด่างเหลือง หากใช้ท่อนพันธุ์ที่ติดเชื้อไวรัสมาปลูกจะทำให้เกิดอาการใบด่างเหลืองทั้งต้น ถ้ามันสำปะหลังได้รับการถ่ายทอดโรคจากแมลงหวี่ขาวยาสูบที่มีเชื้อไวรัส จะแสดงอาการใบด่างเหลืองชัดเจนที่ส่วนยอด ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสและพันธุ์พืช

    อาการใบเหลืองด่าง
    อาการใบเหลืองด่าง ใบจะมีสีเขียวด่างเหลือง
  2. โรครากหรือหัวเน่า
    พบในแหล่งที่ดินระบายน้ำไม่ดี หรือสภาพดินดานและฝนตกชุกเกินไปโรคหัวเน่าเละเกิดจากเชื้อรา ต้นเหี่ยวเฉา ใบล่าง ๆ มีสีเหลืองและเหี่ยวแห้งหลุดร่วงลงมา ส่วนใบยอดมีขนาดเล็ก ต้นแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต เมื่อขุดรากดูพบรากเน่าเละสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็น

    โรครากเน่า
    โรครากเน่าหรือหัวเน่า ทำให้รากเน่าแห้ง มีกลิ่นเหม็น


    โรคหัวเน่าแห้งเกิดจากเชื้อเห็ดรา ที่หัวมันสำปะหลังจะมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุม อาจพบบริเวณโคนต้นด้วย เนื้อในหัวจะเน่าแห้งและเส้นใยของเชื้อราจะก่อตัวเป็นดอกเห็ดสีต่าง ๆ ได้ เช่น สีขาว สีเหลือง หรือส้ม นอกจากนี โคนต้นจะบวม เนื่องจากมีการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปและอาจเกิดรากใหม่ตรงบริเวณเนื้อเยื่อที่บวมทำให้เกิดหัวมันสำปะหลังใหม่ขึ้นมา แต่มีขนาดเล็ก

    โรคหัวเน่าดำ เกิดจากเชื้อรา จะมีลักษณะหัวเน่าสีด้าหรือสีน้ำตาลเข้มเนื่องจากเป็นสีที่เกิดจากเส้นใยของเชื้อรา หรือส่วนขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของเชื้อรา

    โรคเน่าคอดิน เกิดจากเชื้อรา มักพบอาการในต้นกล้าลักษณะต้นมันสำปะหลังจะเหี่ยวเฉาตายและมีเม็ดผักกาดพร้อมกับเส้นใยสีขาวปกคลุมส่วนของโคนต้นที่ติดอยู่กับผิวดิน

    การป้องกัน
    1. การเตรียมแปลงปลูกควรไถระเบิดดินดานให้มีการระบายน้ำที่ดี
    2.
    การไถตากดินเป็นเวลานาน ๆ จะช่วยลดประชากรของเชื้อราในดินได้
    3. ก้าจัดเศษซากมันสำปะหลังเก่า ๆ จากแปลงเพาะปลูกให้หมด
    4. คัดเลือกท่อนพันธุ์สมบูรณ์และปราศจากโรค
    5. ในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรงปลูกพืชหมุนเวียนอย่างน้อย 6 12 เดือน

  3. โรคใบไหม้
    มีสาเหตุจากบักเตรี ความเสียหาย 30% เมื่อใช้ท่อนพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคมาปลูกและถ้าอุณหภูมิค่อนข้างสูง ความชื้นอาจทำความเสียหายถึง 80 % การแพร่ระบาดที่ส้าคัญคือ ติดไปกับท่อนพันธุ์ โดยฝนหรือดินรวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตร

    ลักษณะอาการ เริ่มแรกแสดงอาการใบจุดเหลี่ยมฉ่ำน้ำใบไหม้ ใบเหี่ยวยางไหลจนถึงอาการยอด เหี่ยวและแห้งตายลงมานอกจากนี้ ยังทำให้ระบบท่อน้ำอาหารของลำต้นและรากเน่า

    การป้องกันกำจัด
    1. ใช้พันธุ์ต้านทาน หรือพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคปานกลาง
    2. ใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อ หรือหลีกเลี่ยงการใช้ท่อนพันธุ์ส่วนโคนลำต้นหรือโคนกิ่งมันสำปะหลัง
    3. ในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรงให้ปลูกพืชหมุนเวียน อายุสั้น เพื่อลดประชากรเชื้อโรคในดิน
    4. การใช้สารเคมีเป็นทางเลือกสุดท้ายควรใช้สารเคมีที่มีองค์ประกอบเป็นพวกทองแดง

    โรคใบไหม้
    โรคใบไหม้ ใบจะแห้งไหม้ที่ใบลงมา
  4. โรคแอนแทรคโนส
    มีสาเหตุจากเชื้อรา สภาพที่มีความชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ ในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค ความเสียหาย 80 % ส่วนพันธุ์ที่ค่อนข้างทนทาน ยอดจะเหี่ยวแห้งตายลงมาทำให้เกิดมีการเจริญเติบโตของกิ่งหรือยอดใหม่น้ำหนักผลผลิตจะลดลงหรือเก็บเกี่ยวล่าช้า ผลผลิตจะเสียหาย 30 –40 %

    โรคแอนแทรคโนส
    โรคแอนแทรคโนส ใบจะไหม้อบใบขยายตัวเข้าสู้กลางใบ

    ลักษณะอาการ ใบจะมีขอบใบไหม้สีน้ำตาลขยายตัวเข้าสู่กลางใบ มักปรากฏกับใบที่อยู่ล่าง ในตัวแผลบนใบจะมีเม็ดเล็ก ๆ สีดำขยายตัวไปตามขอบของแผลอาการไหม้ ส่วนก้านใบ อาการจะปรากฏในส่วนโคนก้านใบ จะเป็นแผลสีน้ำตาลขยายตัวไปตามก้านใบท้าให้ก้านใบมีลักษณะลู่ลงมาจากยอดหรือตัวใบจะหักงอจากก้านใบเกิดอาการใบเหี่ยวและแห้งได้ส่วนลำต้นและยอดแผลที่ลำต้นจะเป็นแผลที่ดำตรงบริเวณข้อต่อกับก้านใบและมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมแผลจะขยายตัวไปสู่ส่วนยอดท้าให้ยอดเหี่ยวแห้งลงมา

    การป้องกันและกำจัด
    1. ใช้พันธุ์ต้านทาน
    2. การใช้ท่อนพันธุ์ปลอดโรค
    3. ปลูกพืชหมุนเวียน
    4. ไถกลบเศษซากมันส้าปะหลังลึก ๆช่วยลดประชากรเชื้อโรคในดินได้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9743&SystemType=BEDO
https://image.mfa.go.th
https://www.flickr.com

Add a Comment