มูก โมกมัน ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง เปลือกด้านในมีน้ำยางขาว 

มูก

ชื่ออื่นๆ : โมก, มูก (ภาคกลาง) มูกเกื้อ (จันทบุรี) โมกมัน (ชลบุรี, กาญจนบุรี, นครราชสีมา) มักมัน (สุราษฎร์ธานี) มูกน้อย, มูกมัน (น่าน) โมกน้อย, โมกมัน (ทั่วไป) เส่ทือ, แนแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) โมกมันเหลือง (สระบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : โมกมัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia tomentosa Roem. & Schult.

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะของมูก

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูงได้ถึง 15 เมตร กิ่งอ่อนเกลี้ยงหรือมีขนประปราย มีรูอากาศมาก เปลือกสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน เปลือกด้านในมีน้ำยางขาว

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี กว้าง 3-4 ซม. ยาว 8-10 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ผิวด้านบนมีขนเฉพาะที่เส้นกลางใบหรือมีขนทั่วไป ด้านล่างมีขนที่เส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบ ถึงมีขนทั่วไป เส้นแขนงใบ ข้างละ 8-12 เส้น ก้านใบ ยาว 3-4 มม. มีขนสั้นนุ่มประปราย

ดอก ช่อดอก แบบช่อกระจุกออกที่ปลายกิ่ง ยาว 3-6 ซม. ดอกสีขาวหรือสีชมพู รูปกรวย ก้านช่อดอกและก้านดอกย่อยมีขนสั้นนุ่มประปรายถึงหนาแน่น กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ กว้าง 2-3 มม. ยาว 2.5-5 มม.ปลายมนถึงกลม มีขนสั้นนุ่มประปรายถึงหนาแน่น กลีบดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน เป็นหลอดยาว 4-5 มม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปรี รูปรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 มม. ยาว 0.8-1.2 ซม. ปลายมน ปลายหลอดกลีบดอกด้านนอก มีขนสั้นนุ่ม ด้านในเกลี้ยงถึงมีขนละเอียด กระบังรอบที่ติดตรงข้ามกลีบดอกยาว 3.5-5 มม. ติดแนบเกือบตลอดความยาว ปลายจักซี่ฟัน กระบังรอบที่ติดสลับกับกลีบดอก ยาว 1.5-3 มม. รูปแถบ ปลายแยกเป็น 2 แฉก เกสรเพศผู้ติดบนหลอดกลีบดอก โผล่พ้นปากหลอด อับเรณูรูปหัวลูกศร มีขนสั้นนุ่มที่ด้านนอก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ คาร์เพลเชื่อม 2 อัน

ผล  ผลแตกแนวเดียว เป็นฝักคู่เชื่อมติดกัน รูปร่างเกือบตรง ห้อยลง กว้าง 1.2-1.5 ซม. ยาว 6.5-30 ซม. ผิวฝักเกลี้ยง ไม่มีรูอากาศ

เมล็ด  รูปแถบกว้าง 1.5-2.5 มม. ยาว 1.2-1.5 ซม. มีกระจุกขนที่ปลายด้านหนึ่ง กระจุกขน ยาว 2-4 มม. พบตามป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 280 เมตร ออกดอกราวเดือนเมษายนถึงสิงหาคม ติดผลราวเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม

ต้นมูก
ต้นมูก เปลือกสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน
ใบมูก
ใบมูก ใบรูปรี แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ผิวด้านบนมีขน

การขยายพันธุ์ของมูก

ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มูกต้องการ

ดินทุกชนิด กลางแจ้ง ทนแสงแดดจัด

ประโยชน์ของมูก

  • ยอดอ่อนใช้ลวกจิ้มรับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือนำมาทำแกงได้
  • เปลือกต้นโมกมันสามารถนำมาสกัดทำเป็นสีย้อมเส้นไหมด้วย โดยจะใช้สีเขียวอ่อน
  • เปลือก ให้เส้นที่นำไปใช้ทำกระดาษ และใช้แทนเส้นใยจากฝ้าย
  • ปลูกเพื่อให้ร่มเงา
  • พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดราชบุรี ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงโปรดพระราชทานกล้าไม้มงคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด นำไปปลูกเป็นศิริมงคลในวันเริ่มโครงการ ในงานรณรงค์โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ ฯ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ดอกมูก
ดอกมูก ดอกสีขาวหรือสีชมพู รูปกรวย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ

สรรพคุณทางยาของมูก

  • ตำรายาไทย เปลือกต้น รสขมร้อน ฝาดเมา ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ ทำให้ประจำเดือนปกติ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้โรคไต ฆ่าเชื้อรำมะนาด เชื้อคุดทะราด แก้บิดมูกเลือด
  • ใบ รสเย็น เป็นยาขับน้ำเหลืองเสีย แก้ตับพิการ แก้ท้องมาน
  • ดอก รสจืด เป็นยาระบาย แก้พรรดึก(ท้องผูก)
  • ผล รสเมา แก้ฟันผุ ฆ่าเชื้อรำมะนาด
  • ราก รสร้อน รักษางูกัด แก้ลมที่เกิดเรื้อรัง
  • เนื้อไม้หรือแก่น รสร้อนขม เป็นยาขับโลหิต
  • กระพี้ บำรุงถุงน้ำดี
  • น้ำยาง รสเมาเบื่อ แก้บิด ใช้แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้พิษแมลงกัดต่อย

คุณค่าทางโภชนาการของมูก

การแปรรูปของมูก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11874&SystemType=BEDO
www.forest.go.th, www.flickr.com

One Comment

Add a Comment