ม่านบาหลี ปลูกเป็นไม้ประดับซุ้มเพื่อให้ร่มรื่นหรือทำซุ้มประตู

ม่านบาหลี

ชื่ออื่นๆ : ม่านบาหลี ม่านบังตา

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ Grape Ivy, Javanese Treebine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus nodosa Blume

ชื่อวงศ์ : Vitaceae

ลักษณะของม่านบาหลี

ไม้เลื้อยขนาดกลาง อายุหลายปี กิ่งก้านทอดเลื้อยได้ไกล 2-6 เมตร ลำต้นมีรากพิเศษแตกตามข้อเป็นเส้นสีแดงยาวห้อยลงมา 3-8 เมตร เมื่ออายุมากขึ้นลำต้นและรากมีเนื้อไม้ ใบเดี่ยวออกสลับ รูปไข่ กว้าง 4-7 เซนติเมตร ยาว 7-8 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบหยักมนเล็กน้อย แผ่นใบสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกย่อยสีขาวครีม ออกดอกเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ แต่มักไม่ค่อยพบ

ม่านบาหลี
ม่านบาหลี มีรากพิเศษแตกตามข้อเป็นเส้นสีแดงยาวห้อยลงมา

การขยายพันธุ์ของม่านบาหลี

ปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ม่านบาหลีต้องการ

ควรหมั่นตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอไม่ให้รก ส่วนรากหากตัดบ่อยๆ จะแตกใหม่เป็นสีชมพูสวยงาม

ประโยชน์ของม่านบาหลี

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับซุ้มเพื่อให้ร่มรื่น ใช้ประดับตกแต่งสวน บริเวณประตู หน้าต่าง ปลูกเป็นซุ้ม

สรรพคุณทางยาของม่านบาหลี

ราก เป็นยาโบราณใช้แก้ลมชัก

คุณค่าทางโภชนาการของม่านบาหลี

การแปรรูปของม่านบาหลี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9375&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment