ยางนา ไม้ต้นขนาดใหญ่ เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน

ยางนา

ชื่ออื่นๆ : กาตีล (เขมร ปราจีนบุรี) ขะยาง (ชาวบน นครราชสีมา) จ้อง (กะเหรี่ยง) จะเตียล (เขมร) ชันนา (ชุมพร) ทองหลัก (ละว้า) ยาง (กลาง, ตะวันออกเฉียงเหนือ) ยางกุง (เลย) ยางขาว (กลาง, ลำปาง) ยางควาย (หนองคาย) ยางตัง (ชุมพร, ใต้) ยางเนิน (จันทบุรี) ยางแม่น้ำ (กลาง) ยางหยวก (กลาง, หนองคาย) ราลอย (ส่วย สุรินทร์) และ ลอยด์ (โซ่ นครพนม)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ยางนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus alatus Roxb.

ชื่อวงศ์ : Dipterocarpaceae

ลักษณะของยาง

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีออกเทาอ่อน เกลี้ยง หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลมๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 6-14 เซนติเมตร ยาว 12.5-25 เซนติเมตร ใบมีขนปกคลุม ใบด้านท้องใบมีขนรูปดาวสั้นๆ เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน โคนใบมนกว้าง ปลายใบสอบทู่ๆ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร มีขนประปราย ใบมีหูใบขนาดใหญ่

ดอก  ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆแบบช่อกระจะ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ดอกขนาด 4 เซนติเมตร สีชมพูอ่อน ช่อละ 4-5 ดอก ดอกขนาดใหญ่เรียงตัวหลวมๆ เป็นช่อห้อยยาวถึง 12 เซนติเมตร ก้านช่อมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน ส่วนปลายกลีบมนและบิดเวียน โคนกลีบชิดกัน ชั้นกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยมีครีบตามยาว 5 ครีบ ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีแฉกยาว 2 แฉก และสั้น 3 แฉก มีขนสั้นๆสีน้ำตาลปกคลุม เกสรเพศผู้มากกว่า 25 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น ปลายอับเรณูมีรยางค์รูปเส้นด้าย รังไข่มีขน ก้านเกสรตัวเมียอ้วน และมีร่อง

ผล เป็นผลแห้งรูปกระสวย มีหลอดกลีบเลี้ยงหุ้มจนมิด ยาว 2-2.5 เซนติเมตร มีปีกขนาดใหญ่ 2 อัน ที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยง สีแดงอมชมพู กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร  ยาว 11-15 เซนติเมตร เมื่อสุกสีน้ำตาล เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น ปีกสั้น 3 ปีก ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนกลางผล มีครีบตามยาว 5 ครีบ เส้นผ่านศูนย์กลางผล 2.2-2.8 เซนติเมตร มี 1

เมล็ด เมล็ดมีขนสั้นนุ่ม ปลายมีติ่งแหลม มักขึ้นในป่าดิบแล้ง ใกล้ลำธาร ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 50-400 เมตร ออกดอกราวเดือนมีนาคมถึงเมษายน ติดผลเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม

ต้นยางนา
ต้นยางนา ไม้ต้นขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง

การขยายพันธุ์ของยาง

การใช้เมล็ด

วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม ควรทำในช่วงฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายนระยะปลูกที่เหมาะสมควรใช้
ระยะห่าง4×4เมตรอัตราการรอดตายสูงมากและเจริญเติบโตได้ดีหลุมปลูกควรมีขนาด30x30x30ซม.ก้นหลุมควรมีผิดดินที่ร่วนซุยหรืออาจใช้ปุ๋ยอินทรีย์
รองก้นหลุมเมื่อปลูกแล้วควรกลบหลุมให้ระดับผิวดินอย่าให้น้ำขัง

ธาตุอาหารหลักที่ยางต้องการ

ประโยชน์ของยาง

  • ไม้ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เมื่ออาบน้ำยาถูกต้องจะทนทานขึ้น
  • น้ำมันใช้ทาไม้ ยาแนวเรือ ใช้เดินเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้ ทำน้ำมันใส่แผล แก้โรคเรื้อน
  • ไม้ยางนาเป็นไม้ขนาดใหญ่ เปลาตรง สูง และไม่ค่อยมีกิ่งก้าน การตัดไม้ยางนามาใช้จึงได้เนื้อไม้มาก โดยเนื้อไม้ที่ได้จะมีความแข็งปานกลาง สามารถนำมาเลื่อยไสกบตกแต่งให้เรียบได้ง่าย ด้วยเหตุนี้จึงมีการใช้ประโยชน์จากไม้ยางนากันมาตั้งแต่อดีต โดยนิยมนำมาเลื่อยทำเสาบ้าน รอด ตง ไม้พื้น ไม้ระแนง ไม้คร่าว โครงหลังคา ฝ้าเพดาน เครื่องเรือนต่าง ๆ ทำรั้วบ้าน ทำเรือขุด เรือขนาดย่อม แจว พาย กรรเชียง รวมไปถึงตัวถังเกวียน ถังไม้ หมอนรองรางรถไฟ ฯลฯ
  • ไม้ยางนาจะขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีเชื้อเห็ดราไมคอร์ไรซาส์ (Micorrhyzas) ซึ่งเป็นตัวเอื้อประโยชน์ในการเจริญเติบโต โดยเชื้อราเหล่านี้จะสร้างดอกเห็ดเมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงฝนแรกของทุกปีจะมีดอกเห็ดหลายชนิดให้หาเก็บมารับประทานได้มากมาย เช่น เห็ดชะโงกเหลือง เห็ดเผาะ เห็ดน้ำหมาก เห็ดยาง เป็นต้น
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามสองฝั่งถนน เพื่อความสวยงาม และปลูกเพื่อประโยชน์ทางด้านนิเวศ ให้ร่มเงา กำบังลม ให้ความชุ่มชื้น ควบคุมอุณหภูมิในอากาศ ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ฯลฯ
  • น้ำมันต้นยางนา ณ ปัจจุบันได้ถูกนำมาพัฒนาทำไบโอดีเซลอีกด้วย
  • เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดอุบลราชธานี  ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
ใบยางนา
ใบยางนา ใบเดี่ยว มีขนปกคลุม

สรรพคุณทางยาของยาง

  • น้ำต้มเปลือกกินแก้ตับอักเสบ บำรุงร่างกาย ฟอกเลือด และใช้ทาถูนวด (ขณะร้อน) แก้ปวดตามข้อ
  • ใบยางใช้รับประทานเป็นยาขับเลือด (ทำให้เป็นหมัน)
  • น้ำมันยางดิบ ใช้เป็นยาถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ
  • น้ำมันยางจากต้น ใช้สมานแผล ห้ามหนอง ใช้เป็นยาทาแผลเน่าเปื่อย แผลโรคเรื้อน แก้โรคหนองใน
ผลยางนา
ผลยางนา ผลเป็นผลแห้งรูปกระสวย

คุณค่าทางโภชนาการของยาง

การแปรรูปของยาง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9184&SystemType=BEDO
www.yangna.org
www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment