ยางน่องเถา ยางน่องเครือ ไม้เถาเนื้อแข็ง

ยางน่องเครือ

ชื่ออื่นๆ :  เครือน่อง, ยางน่องเครือ (อุบลราชธานี) น่อง, ยางน่องเถา

ต้นกำเนิด : ประเทศจีน

ชื่อสามัญ : ยางน่อง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strophanthus caudatus (Linn.) Kurz.

ชื่อพ้อง :  Strophantus scandens

ชื่อวงศ์Apocynaceae

ลักษณะของยางน่องเครือ

ต้น  ไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สูงได้ถึง 12 เมตร เถากลม เกลี้ยง เปลือกสีน้ำตาลแดง ไส้อ่อน ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาวมีพิษ

ยางน่องเครือ
ยางน่องเครือ ไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อย ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาวมีพิษ

ใบ  ใบเดี่ยว หนาเรียบ แข็ง ใหญ่และยาว เรียงตรงข้าม รูปวงรี รูปไข่กลับหรือรูปไข่ กว้าง 3-9 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม เป็นมันสีเขียวเข้ม

ใบยางน่องเครือ
ใบยางน่องเครือ ใบสีเขียวเข้ม หนาเรียบ แข็ง

ดอก  ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวนวล 5 กลีบ ปลายแหลมยาวสีแดงเข้มเมื่อแรกบาน แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดง ปลายกลีบสีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงและม่วง รยางค์รูปมงกุฎสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง

ดอกยางน่องเครือ
ดอกยางน่องเครือ กลีบดอกสีขาวนวล 5 กลีบ รยางค์รูปมงกุฎสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง

ผล  เป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอก ขนาดใหญ่ กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 13-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จัดสีน้ำตาลแดง และแตกออก เมล็ดสีน้ำตาล มีขนสีขาว ปลิวไปตามลม เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ในป่าละเมาะ ป่าแล้ง

ผลยางน่องเครือ
ผลยางน่องเครือ ผลเป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอก ขนาดใหญ่

การขยายพันธุ์ของยางน่องเครือ

การใช้เมล็ด, การตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ยางน่องเครือต้องการ

ชอบแสงแดดจัด

ประโยชน์ของยางน่องเครือ

  • ปลูกเป็นซุ้มไม้เลื้อย

สรรพคุณของยางน่องเครือ

  • ยางมีรสเมาเบื่อเป็นพิษ บำรุงหัวใจอย่างแรง ไม่ควรนำมาใช้เอง เพราะอันตรายมาก ทางยาควรใช้แต่น้อยที่สุดจึงจะมีผลในทางดีได้ หรือใช้แก้ช็อกหมดสติ หมอโบราณกล่าวว่าใช้ยางไม้นี้ผสมทำยาพิษอาบลูกดอก ทำให้พิษแล่นเร็ว ยางจากต้น ผสมกับยาพิษชนิดอื่น เช่น พิษจากงูเห่า และสัตว์มีพิษอื่นๆมาผสมรวมกัน  ทาลูกหน้าไม้ล่าสัตว์   เพราะยางไม้นี้นำพิษซึมเข้าบาดแผลอย่างรวดเร็ว แต่ก่อนรับประทานเนื้อสัตว์ให้เฉือนเอาเนื้อร้ายที่มีสีเขียวออกจนหมด จึงจะรับประทานเนื้อสัตว์นั้นได้

คุณค่าทางโภชนาการของยางน่องเครือ

การแปรรูปยางน่องเครือ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ภาพประกอบ : สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย, สวนพฤกษศาสตร์พุแค

One Comment

Add a Comment