ยางเหียง ชาด ลำต้นเปลาตรง เนื้อใบหนามีขนสีน้ำตาลคลุมแน่น

ยางเหียง  ชาด

ชื่ออื่นๆ : เหียง, ยางเหียง (ทั่วไป) ตาด (พิษณุโลก, จันทบุรี)  สะแบง, ตะแบง, (ภาคตะวันออก)  ล่าทะย่อง, ตะลาอ่ออาหมื่อ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) สาละอองโว, เหียงพลวง, เหียงโยน, เกาะสะเตียง (ลั๊วะ-เชียงใหม่) กุง, คร้าด (โส-นครพนม) เห่ง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ยางเหียง / ชาด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.

ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ลักษณะของยางเหียง ชาด

ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 8-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ขนาดกว้าง 10-20 ซม. ยาว 13-25 ซม. ปลายใบมน โคนใบสอบ หรือหยักตื้นๆ เนื้อใบหนามีขนสีน้ำตาลคลุมแน่น พื้นใบจีบเป็นร่องแบบรางน้ำเส้นแขนงใบเป็นสันแข็ง ก้านใบยาว 3-5 ซม. มีขนยาวๆ สีน้ำตาลทั่วไป

ดอก ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ ตามง่ามใบและตอนปลายกิ่ง กลีบรองดอกเกลี้ยง โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก สั้น 3 แฉก ยาว 2 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ โคนประสานติดกัน ปลายกลีบเวียนสแบบกังหัน เกสรผู้ 30 อัน อยู่ในหลอดดอก

ผล ผลกลม เกลี้ยง แข็ง สีน้ำตาลเป็นมัน ขนาดผ่าศูนย์กลาง 3 ซม. ปีกยาว 2 ปีก ขนาดกว้าง 4 ซม. ยาว 13 ซม. รูปขอบขนาน และสอบเรียวไปทางโคนมีเส้นปีก 3 เส้น

ต้นยางเหียง
ต้นยางเหียง ลำต้นเป็นเปลาตรง
ใบยางเหียง
ใบยางเหียง เนื้อใบหนามีขนสีน้ำตาลคลุมแน่น

การขยายพันธุ์ของยางเหียง  ชาด

ใช้เมล็ด

พบขึ้นในอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในประเทศไทยพบขึ้นเป็นกลุ่มตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ความสูง 100-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ติดผลเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน

ธาตุอาหารหลักที่ยางเหียง  ชาดต้องการ

ประโยชน์ของยางเหียง ชาด

  • ใช้ในการก่อสร้างทั่วๆ ไปได้ดี
  • ทางภาคเหนือใช้ใบแก่ ห่อยาสูบและห่อของสดแทนใบกล้วย
ดอกยางเหียง
ดอกยางเหียง ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อเดี่ยว

สรรพคุณทางยาของยางเหียง  ชาด

  • เปลือกต้น แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ไข้ตาลขโมย
  • ราก แก้ท้องเสีย

คุณค่าทางโภชนาการของยางเหียง / ชาด

การแปรรูปของยางเหียง / ชาด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12103&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment