รกฟ้า ไม้เนื้อแข็ง ขัดซักเงาได้ดี ใช้ทำพื้นคาร เฟอร์นิเจอร์ ด้ามเครื่องมือ

รกฟ้า

ชื่ออื่นๆ : รกฟ้า (ภาคกลาง) กอง (ภาคเหนือ สงขลา) คลี้ (ส่วน-สุรินทร์) จะลึก (เขมร-บุรีรัมย์) เชือก (สุโขทัย) เซียก เซือก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สะพิแคล (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ฮกฟ้า (ภาคเหนือ).

ต้นกำเนิด : อินเดีย เนปาล และอินโดจีน

ชื่อสามัญ : Indian laurel

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia alata Heyne ex Roth.

ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE

ลักษณะของรกฟ้า

เป็นไม้ขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 20-30 เมตร เปลือกนอกสีเทาถึงเทาปนดำแตกเป็นร่องลึก และเป็นสะเก็ดทั่วไป ใบ เป็นใบเดี่ยว ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบรูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลทั้ง 2 ด้านใบแก่ขนหลุดร่วงหมด ด้านหลังใบจะมีต่อมคล้ายหูดหนึ่งหรือสองต่อม ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อขนาดเล็ก ดอกย่อยสีขาวหรือขาวอมเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศผ่าสูนย์กลางประมาณ 4-5 มม. กลีบรองกลีบดอก โคนกลีบเชื่อมติดกันเป้นรูปถ้วย มีขนทั้งสองด้าน ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้ 10 อัน

รกฟ้า
รกฟ้า ไม้ต้นผลัดใบขนาดกลางถึงใหญ่ ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลทั้งสองด้าน

การขยายพันธุ์ของรกฟ้า

-/-

ธาตุอาหารหลักที่รกฟ้าต้องการ

ประโยชน์ของรกฟ้า

ไม้เนื้อแข็ง ขัดซักเงาได้ดี ใช้ทำพื้นคาร เฟอร์นิเจอร์ ด้ามเครื่องมือ โดยเฉพาะที่ใช้ในน้ำเปลือให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง

สรรพคุณทางยาของรกฟ้า

ราก ขับเสมหะ เปลือก น้ำต้มรับประทานแก้ท้องร่วง อาเจียน เป็นยาขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ใช้ภายนอกเป็นยาห้ามเลือด ชะล้างบาดแผล

คุณค่าทางโภชนาการของรกฟ้า

การแปรรูปของรกฟ้า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9577&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment