รางแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ พืชที่ใช้เป็นยา

รางแดง

ชื่ออื่นๆ : ก้องแกลบ, รางแดง, เถาวัลย์เหล็ก (ภาคกลาง) กะเลียบแดง (ชลบุรี) เขาแกลบ, ฮองหนัง (เลย) ชอเพาะ, แหล่โม (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เถามวกเหล็ก (สระบุรี) ทรงแดง (ภาคใต้) ปลอกแกลบ (บุรีรัมย์) แสงอาทิตย์ (ประจวบคีรีขันธ์)

ต้นกำเนิด : พบในป่าดิบแล้ง ต่างประเทศพบที่อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ventilago denticulata Willd.

ชื่อวงศ์ : RHAMNACEAE

ลักษณะของรางแดง

ต้น  เป็นไม้เถายืนต้นกึ่งพุ่ม มักเลื้อยตามต้นไม้และกิ่งไม้ เถาเป็นสีเทา ผิวของลําต้น หรือเถาเป็นรอยแตกระแหงเป็นร่องสีแดงสลับ ทําให้เกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม (ลําต้นเมื่อยังอ่อนจะเป็นรูป ทรงกระบอก เมื่อแก่แล้วจะแตกเป็นสีแดง) ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้น ๆ

ต้นรางแดง
ต้นรางแดง ผิวของลำต้นหรือเถาเป็นรอยแตกระแหงเป็นร่องสีแดงสลับ

ใบ  แผ่นใบเป็นสีเขียว ใบคล้ายกับใบเล็บมือนางหรือกระดังงาไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นจักตื้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และ ยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร ส่วนก้านใบสั้นเมื่อนําใบมาผิงไฟเพื่อทํายาจะมีกลิ่นคล้ายกับแกลบข้าว

ใบรางแดง
ใบรางแดง แผ่นใบสีเขียว ใบเป็นรูปไข่ยาว รูปไข่แกมขอบขนาน

ดอก  ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้กับปลายยอด ดอกย่อยมีจํานวนมาก กลีบดอกเป็นสีเขียวแกมเหลือง หรือสีเขียวอมขาว

ดอกรางแดง
ดอกรางแดง ดอกเป็นสีเขียวแกมเหลือง หรือสีเขียวอมขาว

ผล  เป็นผลแห้งไม่แตก ผลมีรูปร่างกลม ด้านปลายผลแผ่เป็นครีบคล้ายปีกแข็ง ภายในมี เมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด

ผลรางแดง
ผลรางแดง ผลมีรูปร่างกลม ด้านปลายผลแผ่เป็นครีบคล้ายปีกแข็ง

การขยายพันธุ์ของรางแดง

ทาบเถา, ชํากิ่ง ตอนกิ่ง และใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่รางแดงต้องการ

ประโยชน์ของรางแดง

ช่วยลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล ละลายไขมัน ช่วยลดน้ำหนัก เผาผลาญไขมัน และช่วยขับเหงื่อใบนํามาคั่วแล้วใช้ชงกับน้ำดื่มเหมือนชา

ยอดอ่อน ใบ และเปลือกต้น ใช้เป็นส่วนประกอบในการทําน้ำยาสระผมสูตรแก้รังแค ซึ่งจะประกอบไปด้วยสมุนไพรอื่น ๆ อีก เช่น ส้มป่อย หรือมะนาวหรือมะกรูด ใบหมี่เหม็น และน้ำด่าง (น้ำขี้เถ้า) นํามาต้มรวมกันแล้วนําน้ำที่ได้มาสระผมจะช่วยแก้รังแคได้

สรรพคุณของรางแดง

  • ใบ ลนไฟต้มดื่มแทนใบชา หากกินมากทำให้เลือดจาง ต้มดื่มแก้นิ่ว เป็นยาระบาย แก้เลือดจาง แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง
  • ใบ กิ่ง ต้มกินแก้นิ่ว
  • ใบ ผสมสมุนไพรอื่นต้มดื่มแก้ไข้
  • ราก ขับเสมหะ

คุณค่าทางโภชนาการของรางแดง

การแปรรูปรางแดง

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.qsbg.org, www.forprod.forest.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment