ละไม ผลไม้พื้นเมืองทางภาคใต้ มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน มีกลิ่นหอม

ละไม

ชื่ออื่นๆ : ระไม, รามา (มลายูท้องถิ่น-ยะลา) รำเม, รามาตีกุ๊

ต้นกำเนิด : ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baccaurea motleyana

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะของละไม

ลำต้น เป็นผลไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นใหญ่กว่ามะไฟ ต้นมีทรงพุ่ม ลำต้นมีลักษณะกลม เนื้อไม้แข็ง เปลือกแข็งเรียบ มีสีเทา

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกใบสลับตรงข้าม มีลักษณะทรงรูปหอก โคนมนปลายเรียวรีแหลม ใบด้านบนมีสีเขียว พื้นผิวเป็นมัน ใบด้านล่างมีสีอ่อนกว่า

ดอก ออกเป็นช่อ จะมีดอกออกเป็นกระจุก ดอกมีสีชมพูอมเหลือง เล็กฝอยๆ กลีบเลี้ยงมีสีเขียวปนเหลือง มีกลิ่นหอม มีก้านช่อดอกยาว ดอกออกตามลำต้น

ผล ออกเป็นพวงช่อยาว ผลใหญ่กว่ามะไฟ มีลักษณะทรงกลมรี มีขั้วจุกชัดเจน ผิวเปลือกหนา ผลอ่อนมีขนคล้ายกำมะหยี่มีสีเขียว เมื่อผลสุกจะผิวเกลี้ยงไม่มีขน มีสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลจะมีเนื้อเป็นกลีบเล็ก เนื้อฟูนุ่มฉ่ำน้ำ มีสีขาว มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน มีกลิ่นหอม มีเมล็ดสีน้ำตาลแบนรูปไข่ อยู่ข้างในเนื้อกลีบ ออกผลเดือนกันยายน – ตุลาคม

เมล็ด มีลักษณะรูปแบนรูปไข่ อยู่ข้างในเนื้อ มี 3-5 กลีบต่อผล เมล็ดมีผิวเรียบลื่นเป็นมัน มีสีน้ำตาล

ละไม
ละไม ผลไม้ยืนต้น ใบด้านบนมีสีเขียว พื้นผิวเป็นมัน
ผลละไม
ผลละไม ผลทรงกลมรี ผิวเปลือกหนา ผลสุกจะผิวเกลี้ยงไม่มีขน มีสีน้ำตาลอ่อน

การขยายพันธุ์ของละไม

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ละไมต้องการ

ประโยชน์ของละไม

เป็นผลไม้พื้นเมืองทางภาคใต้ รับประทานเป็นผลไม้สด ใส่ในแกงต่างๆ

สรรพคุณทางยาของละไม

ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยดับพิษร้อน ป้องกันโรคหวัด ช่วยขับเสมหะ แก้คออักเสบ แก้ไข้ แก้ไอ แก้ไข้มาลาเรีย ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องร่วง แก้อาการท้องอืด แก้อาการท้องเฟ้อ ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยขับพยาธิ

คุณค่าทางโภชนาการของละไม

มีวิตามินเอ มีวิตามินซี มีธาตุแคลเซียม มีฟอสฟอรัส มีวิตามินบี2 มีวิตามินบี3 มีวิตามินบี1 มีวิตามินบี12 มีโปรตีน มีธาตุเหล็ก มีแมกนีเซียม มีคาร์โบไฮเดรต มีเส้นใย มีโพแทสเซียม มีพลังงาน มีไขมัน มีกรดโฟลิก มีโซเดียม มีทองแดง

เนื้อผลละไม
เนื้อผลละไม เนื้อฟูนุ่มฉ่ำน้ำ มีสีขาว

การแปรรูปของละไม

แปรรูปเป็นแยมและไวน์

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11210&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment