ลำดวน หอมนวล ดอกแห้งบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ

ลำดวน

ชื่ออื่นๆ : หอมนวล (ภาคเหนือ) ลำดวน (ภาคอีสาน)

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : White cheesewood

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melodorum fruticosum Lour

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะของลำดวน

ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5 – 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปกรวย หนาทึบ ลำต้นเปลาตรง มีเปลือกสีน้ำตาล แตกขรุขระเป็นสะเก็ด

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 5-11.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนใบสอบหรือมน

ดอก ดอกมีสีนวลกลิ่นหอม ออกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบดอกหนาและแข็ง กลีบดอก ชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออก ชั้นใน 3 กลีบ หุบเข้าหากัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร

ผล ผลเป็นผลกลุ่ม ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว ผลแก่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม

ลำดวน
ลำดวน ใบเดี่ยวรูปหอก ปลายแหลม

การขยายพันธุ์ของลำดวน

การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ลำดวนต้องการ

ประโยชน์ของลำดวน

  • เป็นสมุนไพรแก่นต้มดื่มตอนที่อยู่ไฟ
  • ผลเป็นยาขับเลือด
  • ผลสุกรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานได้
  • เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง ทำฟืนเผาถ่าน
  • ดอกนำมาบูชาพระ(จากการสัมภาษณ์และจัดประชุมเสวนาผู้รู้ในท้องถิ่น)
  • เนื้อไม้ให้สีน้ำเงิน
  • เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดศรีสะเกษ โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
  • ดอกหอมนวลยังเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ผลลำดวน
ผลลำดวน ผลกลม สีเขียว

สรรพคุณทางยาของลำดวน

  • ดอกแห้ง เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลม จัดอยู่ในจำพวกเกสรทั้งเก้า ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ให้ร่ม ดอกสวยงาม มีกลิ่นหอม
  • เกสร มีสรรพคุณบำรุงกำลัง และบำรุงหัวใจ นำมาประกอบกับสมุนไพรจีน
  • ดอก แก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต

คุณค่าทางโภชนาการของลำดวน

การแปรรูปของลำดวน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9291&SystemType=BEDO
www.th.wikipedia.org
www.royalparkrajapruek.org
www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment