ลำโพง ลำโพงกาสลัก มะเขือบ้าอินเดีย ทุกส่วนของลำต้น ใบ ดอก ผล มีคุณสมบัติเป็นพิษทั้งสิ้น

ลำโพง

ชื่ออื่นๆ : ภาคกลาง (ลำโพง, ลำโพงขาว, ลำโพงกาสลัก) ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มะเขือบ้า) ส่วย-สุรินทร์ (ละอังกะ) เขมร-สุรินทร์ (เลี๊ยก) จีน-กรุงเทพฯ (มั่งโต๊ะโล๊ะ)

ต้นกำเนิด : อินเดีย

ชื่อสามัญ : Thorn Apple

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Datura metel Linn.

ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE

ลักษณะของลำโพง

ต้น เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเมื่อโตเต็มที่มีขนาดความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร แตกกิ่งก้านต้นเปราะแต่เปลือกต้นจะเหนียว

ใบ ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปไข่ เรียงสลับ ใบกว้าง 7-12 ซ.ม. ยาว 12-20 ซ.ม. ขอบใบหยัก ก้านใบและแผ่นใบสีเขียวอ่อน ฐานของแผ่นใบจะไม่เท่ากัน

ดอก ดอกเป็นชนิดดอกเดี่ยว ดอกจะออกตรงบริเวณโคนก้านใบกับแขนงของกิ่ง เมื่อดอกโตเต็มที่จะบานออกมีรูปร่างคล้ายแตร หรือเครื่องลำโพงขยายเสียง ดอกมีขนาดยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร สีนวลชั้นเดียว

ผล ผลเป็นรูปกลม มีหนาม ขนาดของผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 ซ.ม. เมื่อแก่จัดแตกออก ภายในมีเมล็ดสีนํ้าตาลแบนๆ เป็นจำนวนมาก

ต้นลำโพง
ต้นลำโพง พืชล้มลุก เปลือกต้นเหนียว

การขยายพันธุ์ของลำโพง

ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ลำโพง

ประโยชน์ของลำโพง

มีการใช้ต้นลำโพงเป็นยา โดยใช้ใบสด ตำพอกฝี แก้ปวดบวมอักเสบ ดอกแห้ง ผสมยาฉุนสูบแก้อาการหอบหืด เมล็ด หุงทำน้ำมันใส่แผล แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่า ใบและยอดต้นลำโพง มีแอลคาลอยด์ไฮออสไซยามีน (hyoscyamine) และไฮออสซีน (hyoscine) ซึ่งมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ แก้อาการปวดท้องเกร็ง และขยายหลอดลม แก้หอบหืด และใช้ควบคุมอาการอาเจียนจากการเมารถได้

ดอกลำโพง
ดอกลำโพง ดอกสีนวลชั้นเดียว รูปร่างคล้ายแตร

สรรพคุณทางยาของลำโพง

  • ใบ รสเมาเบื่อ ตำพอกฝีทำให้ยุบ แก้ปวดบวม อักเสบ
  • ดอก หั่นตากแดดให้แห้ง ใช้มวนสูบแก้ริดสีดวงจมูกและหอบหืด
  • ผล แก้ไข้พิษ แก้ไข้ที่ทำให้กระสับกระส่าย
  • เมล็ด คั่วพอหมดน้ำมัน ปรุงทำกินเป็นยา บำรุงประสาท แก้ไข้พิษ
  • น้ำมันจากเมล็ด ฆ่าเชื้อโรค แก้กลากเกลื้อน หิด เหา เชื้อโรคที่มีตัว
  • ราก รสเมาหวานน้อยๆ แก้ฝีกาฬทั้งปวง ดับพิษ ร้อน แก้ปวดบวมอักเสบ
  • ถ่านจากราก รสเย็น แก้ไข้พิษ เซื่องซึม แก้ไข้กาฬ

นอกจากนี้ บางตำรายังระบุว่า รากลำโพงใช้แก้หมาบ้ากัด แก้วิกลจริต และลำโพงทั้งต้นตากแห้งหั่นสูบแก้โรคหืด

ส่วนที่เป็นพิษ : ทุกส่วน

อาการเป็นพิษ
จากข้อมูลของสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่าสารออกฤทธิ์ที่พบมากใน เมล็ด และใบลำโพงคือ โทรเพน อัลคาลอยด์ ได้แก่ สโคโพลามีน (scopolamine) และไฮออสไซอะมีน (hy-oscyamine) ถ้ากินเมล็ดและใบของลำโพงเข้าไป จะปรากฏอาการภายในเวลา 5-10 นาที  อาการที่พบคือ กระหายน้ำรุนแรง ปากและคอแห้ง ตาพร่า ม่านตาขยาย สู้แสงไม่ได้ น้ำลายแห้งทำให้กลืนน้ำลายยากและพูดไม่ชัด ผิวหนังร้อนแดงและแห้ง ตัวร้อน ปวดศีรษะ รู้สึกสับสน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน มึนงง มีอาการประสาทหลอน (ผู้เขียนเคยได้ยินการหายใจช้าและขัด ผิวหนังเป็นสีคล้ำเพราะขาดออกซิเจน
เด็กบางคนอาจมีอาการชัก ชีพจรเต้นเร็วและอ่อน

วิธีการรักษา

  1. รีบส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการล้างท้อง แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ก็ให้ยาระบาย และยาทำให้อาเจียน
  2. ในรายที่มีการตื่นเต้นมากควรให้ยาสงบระงับ morphine แต่ในการใช้ควร ใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะ morphine ออกฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการหาย ใจและอัลคาลอยด์ในกลุ่ม atropine ก็ออกฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการหายใจด้วย ในขั้นสุดท้ายแทนที่จะไปแก้พิษก็กลับจะไปเพิ่มพิษให้สูงขึ้น
  3. ให้ยาพวก cholinergic และอาจให้ barbituratte หากมีอาการชัก
  4. ควรจะอยู่ในที่มืดให้นอนพักในห้องพักและอาจจะต้องหยอดตาด้วย Pilopine5. เช็ดตัวเพื่อลดไข้
ผลลำโพง
ผลลำโพง ผลเป็นรูปกลม มีหนาม

คุณค่าทางโภชนาการของลำโพง

การแปรรูปของลำโพง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10335&SystemType=BEDO
https://www.doctor.or.th
https://th.wikipedia.org
http://www.uniserv.buu.ac.th
https://medplant.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment