ลิ้นจี่ ผลไม้ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมหวาน

ลิ้นจี่

ชื่ออื่นๆ : ลิ้นจี่ป่า, สีรามัน, สีรามันขาว

ต้นกำเนิด : ประเทศจีนตอนใต้

ชื่อสามัญ : Litch

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Litchi chinensis Sonn

ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE

ลักษณะของลิ้นจี่

ต้น ไม้ต้น สูงได้ถึง 35 เมตร เรือนยอดกลม เปลือกค่อนข้างเรียบ สีเทา มีรูระบายอากาศ

ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 1-4 คู่ เรียงตรงข้าม-เยื้อง-สลับ ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปไข่กลับ ขนาดประมาณ 2-4x 8-11 เซนติเมตร ปลายใบมน-แหลม โคนใบแหลมหรือสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน

ดอก ช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมากขนาดเล็กมาก กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกประมาณเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

ผล ผลสดรูปทรงกลม-รูปไข่ ผิวขรุขระ ผลสุกมีสีแดงสด เนื้อขาวฉ่ำน้ำ ออกผล ผลแก่ประมาณเดือนเมษายน-มิถุนายน

เมล็ด เมล็ดเดี่ยว กลม-รูปไข่ สีน้ำตาลเข้มถึงเกือบดำ ผิวมัน

ต้นลิ้นจี่
ต้นลิ้นจี่ ไม้ต้นสูง เปลือกค่อนข้างเรียบ สีเทา

การขยายพันธุ์ของลิ้นจี่

การเพาะเมล็ด, การตัดชำ, การตอนกิ่ง,  การทาบกิ่งและการต่อกิ่ง

พันธุ์ที่นิยมปลูก ส าหรับทางภาคเหนือ ได้แก่ พันธุ์ฮงฮวย พันธุ์โอวเฮียะ พันธุ์กิมเจ็งและพันธุ์จักรพรรดิ์ ส่วนทางภาคกลาง ได้แก่ พันธุ์ค่อม

ธาตุอาหารหลักที่ลิ้นจี่ต้องการ

ประโยชน์ของลิ้นจี่

ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมหวานชวนกิน คนไทยกินผลสด และนิยมนำลิ้นจี่มาทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มแก้กระหายน้ำ

ผลลิ้นจี่
ผลลิ้นจี่ ผลทรงกลม ผิวขรุขระ ผลสุกมีสีแดงสด

สรรพคุณทางยาของลิ้นจี่

  • เนื้อในผล กินเป็นยาบำรุง แก้อาการไอเรื้อรัง แก้กระหายน้ำ แก้อาการคัดจมูก รักษาอาการท้องเดิน ลดกรดในกระ-เพาะอาหาร และบรรเทาอาการไม่ปกติของระบบทางเดินอาหาร
  • เมล็ดมีฤทธิ์แก้ปวดบวม โดยใช้บดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้พอกบริเวณมีอาการ
  • รากลิ้นจี่หรือเปลือกต้นใช้แก้อาการติดเชื้อไวรัส อีสุกอีใส และเพิ่มความสามารถระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลิ้นจี่มีปริมาณเส้นใยอาหารสูง มีปริมาณพลังงาน ต่ำ และเชื่อกันว่ามีคุณสมบัติช่วยเผาผลาญสารอาหารในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับผู้ที่ยีนบกพร่อง คือ มีอาการ เวียนหัว ตาลาย มีเสียงในหู ปวดเมื่อยเอว ร้อนอุ้งเท้า ปากคอแห้ง ลิ้นแดง มีฝ้าน้อย ไม่ควรควรหลีกเลี่ยงการทานลิ้นจี่ ถ้าหากทานลิ้นจี่มากจะทำให้เกิด “โรคลิ้นจี่” ซึ่งมีอาการหัวใจเต้นเร็ว แขนขาไม่มีแรง มึนหัว หน้ามืดตาลาย เป็นต้น ถ้ามีอาการดังกล่าว ให้เอาเปลือกลิ้นจี่ ต้มกิน อาการก็จะหายไป

เนื้อลิ้นจี่
เนื้อลิ้นจี่ เนื้อขาว ฉ่ำน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของลิ้นจี่

เนื้อลิ้นจี่ ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน เหล็ก วิตามินบี1  วิตามินบี2  และมีวิตามินซีสูง ป้องกันโรคหวัด และโรคเลือดออกตามไรฟัน มีแคลเซียมและ ฟอสฟอรัสช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

การแปรรูปของลิ้นจี่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10669&SystemType=BEDO
https:// plant.forest.go.th
หมอชาวบ้าน
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment