ลิ้นปี่ ภาษาอังกฤษเรียก Emilia เป็นพืชที่มีรสจืดเย็น ยอดอ่อน ใบอ่อนนำมารับประทานได้

ลิ้นปี่ ภาษาอังกฤษ Emilia

ชื่ออื่นๆ : ผักกาดนกเขา, ผักบั้ง (ลำปาง) ผักลิ้นปี่ (อีสาน) ผักแดง  (เลย) เฮียะเออัง (จีน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หูปลาช่อน Cupid’s shaving  , brush,Emilia,Sow thistle.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Emilia  sonchifolia Linn.DC

ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE

ลักษณะของลิ้นปี่

หูปลาช่อนเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุแค่ปีเดียวมีขนาดเล็ก ใบมีหลายรูป ใบล่างรูปกลม ใบกลางๆรูปหัวใจฐานตรงก้านใบยาว มีปีกรูปหัวลูกศร ใบบนรูปหอกโค้งเว้า ขอบหยักใบเรียบ มีขนอ่อนๆปกคลุมทั่วใบ ก้านใบห่อหุ้มลำต้น หลังใบมีสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีม่วงแดง ส่วนก้านใบและยอดสีเขียวนวล ดอกมีขนาดเล็กเป็นกระจุกพู่กลม ออกเป็นช่อห่างๆ ก้านช่อยกสูง ออกที่ยอด เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าชื้นทั่วไป ผักลิ้นปี่มี เมล็ดขนาดเล็ก ลักษณะแบนรี สีน้ำตาล อมดำ ตรงปลายมีขนสีขาว และปลิวตามลมได้ง่าย

ผักลิ้นปี่
ผักลิ้นปี่ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีม่วงอมชมพู

การขยายพันธุ์ของลิ้นปี่

ใช้เมล็ด/มีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ลิ้นปี่ต้องการ

ประโยชน์ของลิ้นปี่

ผักลิ้นปี่ เป็นพืชที่มีรสจืดเย็น ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อนกินเป็นผักเหนาะ จิ้มน้ำพริก แกงเลียง แกงคั่วพริกกับปลาย่าง

สรรพคุณทางยาของลิ้นปี่

ราก คั้นหยอดแก้เจ็บตา แก้เจ็บหู ดอก สมานแผล ห้ามเลือด
ทั้งต้นรับประทานขับเสมหะ สมาน แก้หืดไอ ห้ามเลือด แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง แก้บิด แก้อุจจาระเป็นเลือด แก้บวมน้ำ
ตำพอกแก้ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้บาดแผลต่างๆ แก้บาดแผลเรื้อรัง
ต้มดื่มและอาบแก้ตานซาง แก้เม็ดผดผื่นคัน
ราก ตำคั้นผสม น้ำตาลเมาดื่มแก้ปวดหลัง ปวดเอว แก้ท้องเสีย

คุณค่าทางโภชนาการของลิ้นปี่

การแปรรูปของลิ้นปี่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11601&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment