ประโยชน์และสรรพคุณทางยาของลีลาวดี

ลีลาวดี

ชื่ออื่นๆ : ลั่นทม, จำปาจีน, ลั่นทมแดง, ลั่นทมขาว, จำปาแดง, จำปาขาว (ทั่วไป) จำปาลาว (ภาคเหนือ) จำปาขอม (ภาคใต้) ไม้จีน (ยะลา) จำไป (เขมร) จงป่า (กะเหรี่ยง) มอยอ, มลอ (มลายู)

ต้นกำเนิด : ในทวีปอเมริกากลาง และอเมริกาใต้

ชื่อสามัญ : Frangipani, Plumeria, Templetree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plumeria  spp.

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะของลีลาวดี

ลั่นทม เป็นไม้ที่นำมาจากเขมร ทางภาคใต้ เรียกชื่อว่า “ต้นขอม” “ดอกอม” ส่วนใหญ่ที่ปลูกกันเป็น “ลั่นทมขาว” เล่ากันว่า ไม้นี้นำเข้ามาปลูกในไทย เมื่อคราวไปตีนครธม ได้ชัยชนะ นำต้นไม้นี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า “ลั่นธม” “ลั่น” แปลว่ ตี เช่น ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง “ธม” หมายถึง “นครธม” ภายหลัง “ลั่นธม” เพี้ยนเป็น “ลั่นทม”

ต้นลีลาวดี
ลำต้นสูง สีเทา ผิวลำต้นตะปุ่มตะป่ำ

การขยายพันธุ์ของลีลาวดี

การใช้เมล็ด , การตอนกิ่ง และการปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่ลีลาวดีต้องการ

ประโยชน์ของลีลาวดี

คนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ, จึงได้มีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล ว่า ลีลาวดี ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด[ต้องการอ้างอิง]
มีความเข้าใจผิดกันว่า ลีลาวดี นั้นเป็นชื่อพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นชื่อพระราชทานจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ไม้นี้เดิมเรียก ลั่นทม เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่วๆไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู ชื่อเดิมของพันธุ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้ มาจากคำว่า ระทม ซึ่งหมายถึงความเศร้าโศก จึงไม่เป็นที่นิยมปลูกในบริเวณบ้านหรือที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม ว่า ลั่นทมที่เรียกกันแต่โบราณ หมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทม แท้จริงแล้วเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก [ต้องการอ้างอิง]
มีตำนานเล่าขานถึงที่มาของลั่นทมในลักษณะต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามพันธุ์ไม้นี้ตามหลักสากลมีชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani) และเรียกกันทั่วไปว่า พลูมมีเรีย (plumeria)

ดอกลีลาวดี
ดอกลีลาวดี กลีบดอกสีขาวเหลือง

ลีลาวดีเป็นดอกไม้ที่มีสีสันสวยงามและยังมีกลิ่นหอมชื่นใจ อีกทั้งทรงพุ่มยังสวยงามไม้สูงมากจนเกินไปจึงมีการนำไปปลูกจัดสวนเพื่อตกแต่งภูมิทัศน์ ตามอาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการ สาธารณะต่างๆ และยังมีการนำดอกลีลาวดีมาใช้ในงานพิธีสำคัญต่างๆ มากมายอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีการนำลีลาวดีมาใช้ทำเป็นน้ำหอม ใช้เป็นส่วนผสมของธูปหอมและยังนำมาใช้กลิ่นของลีลาวดีมาใช้ทำสุคนธบำบัดในสปาต่างๆ และในปัจจุบันมีการนำลีลาวดี (P.rubra) มาหรือใช้เป็นส่วนประกอบในครีมทาผิวเพื่อใช้ในการป้องกัน โรคที่เกิดจากเชื้อรา เชื้อไวรัส และรักษามะเร็งผิวหนัง และใช้เป็นส่วนผสมในยารักษาริดสีดวง เป็นส่วนประกอบในบุหรี่เพื่อลดความเป็นพิษของบุหรี่อีกด้วย

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. ยางสีขาวขุ่นจากต้นลีลาวดีมีความเป็นพิษ โดยสารที่เป็นพิษคือกรด Plumeric acid ซึ่งถ้าหากสัมผัสถูกยางดังกล่าว จะทำให้เกิดผื่นคัน และการอักเสบบวมแดงบริเวณตามผิวหนัง
  2. ในการใช้ส่วนต่างๆ ของลีลาวดีมาเป็นยาสมุนไพร สำหรับบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ตามสรรพคุณที่ระบุไว้นั้น ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในปริมาณที่พอดีไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ สำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นประจำ ก่อนจะใช้ลีลาวดีเป็นสมุนไพรสำหรับบำบัดรักษาอาการของโรคต่างๆ นั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ

สรรพคุณทางยาของลีลาวดี

ตามตำรายาไทยระบุไว้ว่า สรรพคุณจะคล้ายๆกับต้นขี้เหล็ก

  • ใบใช้รักษาหอบหืด ขับปัสสาวะ รักษาโรคโกโนเรีย แก้ปวด บวม ฟกช้ำ
  • ราก ใช้เป็นยารักษาโรคหนองใน ขับระดู ยาถ่าย แก้โรไขข้ออักเสบ ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้แท้ง
  • เปลือกต้น ใช้เป็นยาถ่าย แก้ไข้ ขับระดู แก้หนองใน แก้ท้องเดิน ขับปัสสาวะ
  • เนื้อไม้ เป็นยาแก้ไอ ขับพยาธิ
  • เมล็ด ขับน้ำเหลือง แก้งูสวัด รักษาแผลซิฟิลิส ทาแผล
  • ยางจากต้น ผสมเป็นยาถ่าย รักษาอาการอักเสบที่ข้อต่อ ใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคัน แก้ปวดฟัน แก้หูดที่ผิวหนัง ใช้ทารักษาแผล

คุณค่าทางโภชนาการของลีลาวดี

การแปรรูปของลีลาวดี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9776&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment