ลูกปริง หรือ มะปริง ผลแก่สีเหลืองมีรสเปรี้ยวหรือหวาน เมล็ดแข็งมีเสี้ยนมาก

ลูกปริง หรือ มะปริง

ชื่ออื่นๆ : ลูกปริง, มะปริง, ปริง, ตง, ส้มปริง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Plum Mango

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bouea oppositifolia Meissn

ชื่อวงศ์ : ANACEARDIACEAE

ลักษณะของลูกปริง หรือ มะปริง

ต้นมะปริง พบมากภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะคล้ายมะปราง ต่างกันที่ผลเล็กและป้อมกว่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 8-20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมกว้างๆ หรือบางครั้งเป็นรูปกรวย เปลือกเรียบสีเทาปนดำ มีน้ำยางสีเหลืองซึม

ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ และแต่ละคู่สลับทิศทางกัน ใบอ่อนสีม่วงห้อยย้อยลง รูปขอบขนานหรือรูปหอก กว้าง 2-6 ซม. ยาว 10-20 ซม. โคนใบมนหรือสอบเข้าเล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งทู่ๆ เนื้อใบหนาเกลี้ยงเป็นมัน เส้นแขนงใบโค้งขนานกันมี 16-18 คู่ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้าง ใบแก่มักมีคราบขาวๆ ก้านใบยาว 1-2 ซม.เมล็ด มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ส่วนผิวของกะลาเมล็ดมีลักษณะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดทั้งสีขาวและสีชมพูอมม่วง รสขมฝาดและขม ลักษณะเมล็ดคล้ายเมล็ดมะม่วง

ดอก ดอกสีเหลืองอ่อนหรือปนเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบปละปลายกิ่ง มีทั้งดอกแยกเพศและสมบูรณ์เพศ ดอกเพศผู้มีจำนวนมากและขนาดเล็กกว่าดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 4-5 กลีบ โคนกลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เกสรตัวผู้มี 4-5 อัน ก้านอับเรณูสั้นมาก รังไข่ในดอกเพศผู้ไม่มี ส่วนในดอกสมบูรณ์เพศรังไข่เบี้ยว หลอดท่อรังไข่สั้นมาก ปลายแยกเป็น 3 แฉก

ผล ลักษณะกลมรี ผิวผลบางมีเนื้อเยื่อหุ้ม ผลแก่สีเหลืองมีรสเปรี้ยวหรือหวาน เมล็ดแข็งมีเสี้ยนมาก เมล็ดในสีม่วง ให้ผลช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน

มะปริง
มะปริง ผลกลม ผลสุกสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของลูกปริง หรือ มะปริง

ใช้เมล็ด/หนึ่งเมล็ดเพาะกล้าได้ 1ต้น

ธาตุอาหารหลักที่ลูกปริง หรือ มะปริงต้องการ

ประโยชน์ของลูกปริง หรือ มะปริง

ยอดอ่อน  รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก
ผลดิบ ใส่น้ำพริก ปรุงรสเปรี้ยวแทนมะนาว

ผลลูกปริง
ผลลูกปริง ผลดิบสีเขียว เนื้อในสีเหลืองอ่อน เมล็ดมีม่วง

สรรพคุณทางยาของลูกปริง หรือ มะปริง

ผลใช้กัดเสมหะในคอ แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต รากแก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ ไข้ตัวร้อน

คุณค่าทางโภชนาการของลูกปริง หรือ มะปริง

การแปรรูปของลูกปริง หรือ มะปริง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11114&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/

Add a Comment