ลูกใต้ใบ มะขามป้อมดิน หญ้าใต้ใบ หญ้าใต้ใบขาว ทุกส่วนมีรสขม

ลูกใต้ใบ มะขามป้อมดิน

ชื่ออื่นๆ : ต้นใต้ใบ, หญ้าลูกใต้ใบ, หมากไข่หลัง (เลย) หญ้าใต้ใบ (อ่างทอง, นครสวรรค์, ชุมพร) ไฟเดือนห้า (ชลบุรี) หญ้าใต้ใบขาว (สุราษฏร์ธานี) หน่วยใต้ใบ (คนเมือง) มะขามป้อมดิน (ภาคเหนือ) จูเกี๋ยเช่า (จีน)

ต้นกำเนิด : ในอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย

ชื่อสามัญ : Tamalaki, Hazardana

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus amarus Schum & Thonn.

ชื่อวงศ์ : PHYLLANTHACEAE

ลักษณะของลูกใต้ใบ

ต้น พืชล้มลุก สูง 10 – 60 เซนติเมตร ทุกส่วนมีรสขม

ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อย 23 – 25 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมไข่กลับ ปลายใบมนกว้างโคนใบมนแคบ ขนาดประมาณ 0.40 X 1.00 เซนติเมตร ก้านใบสั้นมากและมีหูใบสีขาวนวลรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติด 2 อัน

ดอก ดอกแยกเพศ เพศเมียมักอยู่ส่วนโคน เพศผู้มักอยู่ส่วนปลายก้านใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซนติเมตร

ผล ผลทรงกลมผิวเรียบสีเขียวอ่อนนวล ขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร เกาะติดอยู่ที่ใต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเป็น 6 พู แต่ละพูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลรูปเสี้ยว 1/6 ของทรงกลม ขนาดประมาณ 0.10 เซนติเมตร

ต้นลูกใต้ใบ
ต้นลูกใต้ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว
ผลลูกใต้ใบ
ผลลูกใต้ใบ ผลทรงกลมผิวเรียบสีเขียวอ่อนนวล

การขยายพันธุ์ของลูกใต้ใบ

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ลูกใต้ใบต้องการ

ประโยชน์ของลูกใต้ใบ

ทุกส่วนมีสรรพคุณสมุนไพร

สรรพคุณทางยาของลูกใต้ใบ

  • ทั้งต้น ช่วยลดไข้ทุกชนิด (ไข้หวัด ไข้ทับระดู ไข้จับสั่น) ขับระดูขาว แก้น้ำดีพิการ แก้ดีซ่าน แก้ขัดเบา แก้ไอ แก้กามโรค แก้ปวดฝี ขับปัสสาวะ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องเสีย
  • ต้น มีสรรพคุณช่วยลดไข้ แก้บวม แก้ปัสสาวะขัด แก้นิ่ว แก้ปวดฝี แก้ฟกช้ำบวม
  • ลูก (ผล) แก้ร้อนใน แก้ไข้
  • ราก ช่วยแก้ไข้หวัด แก้ท้องเสีย แก้บวม แก้ปัสสาวะขัด แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้นสด

สรรพคุณ :
เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน ขับปัสสาวะ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
นำต้นสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว

สารเคมี : Potassium, phyllanthin, hypophyllanthin

คุณค่าทางโภชนาการของลูกใต้ใบ

การแปรรูปของลูกใต้ใบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11569&SystemType=BEDO
http:// clgc.agri.kps.ku.ac.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment