วงศ์กก CYPERACEAE พืชวงศ์นี้จัดเป็นวัชพืช

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์กก  ไม้ล้มลุก มักมีเหง้าใต้ดิน มักมีน้ำมัน หอมระเหยกลิ่นเฉพาะตัว ใบเดี่ยวเรียงสลับ ซ้อนเกยชิดกันเป็นสามด้านที่ผิวดิน ไม่มีลิ้นใบ ก้านชูช่อดอกมักเป็นเหลี่ยมสามมุมใบประดับ ช่อดอกรูปคล้ายใบ ดอกสมบูรณ์เพศเล็กมาก กลีบรวมลดรูปเป็นเยื่อบางๆ หรือเป็นเส้น ขนแข็ง เกสรเพศผู้ 3 อัน รังไข่ 1 อัน อยู่เหนือฐานดอก มี 1 ช่อง ไข่อ่อน1 หน่วย ผลแห้งไม่แตก

ลักษณะเด่นของวงศ์

ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นสัน เมื่อตัดขวางคล้ายรูปสามเหลี่ยม ใบรูปแถบ คล้ายใบหญ้า เรียงเป็น 3 ระนาบ แผ่นใบที่อยู่ตอนล่างลดรูปเป็นกาบใบ กลีบรวมลดรูปเป็นขนแข็งหรือเกล็ด หรือไม่มีกลีบรวม

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • ดอกสมบูรณ์เพศ สมมาตรตามรัศมี เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียง 2 วง ผลแห้งแตกมี 3 พู
  • ลำต้นกลม มีข้อปล้องชัดเจน ด้านในปล้องกลวง ดอยย่อยมีใบประดับสองใบ คือ กาบบนและกาบล่าง ผลมีเปลือกหุ้มเมล็ด

การกระจายพันธุ์

ทั่วโลกมี 104 สกุล ประมาณ 5,000 ชนิด ประเทศไทยมี 29 สกุล 248 ชนิด เช่น

  • สกุล Carex เช่น หญ้าคมบางขาว Carex condensta Nees
  • สกุล Cyperus เช่น กกกระจาย Cyperus elatus L.
  • สกุล Fimbristylis เช่น กกด่าน Fimbristylis anisoclada Ohwi
  • สกุล Mapania เช่น เตยหนู Mapania palustris (Hassk. Ex Steud.) Fern.-Vill. & Naves var. palustris
กก
กก ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีผิวเกลี้ยง มีสันชัดเจน

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.waa.inter.nstda.or.th, www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment