วงศ์กำลังเสือโคร่ง BETULACEAE  ไม้ต้นหรือไม้พุ่ม ใบขอบจักฟันเลื่อย

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์กำลังเสือโคร่ง ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่ม รากมักมีไมคอร์ไรซา ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ขอบจักฟันเลื่อยซ้อนหลุดร่วงง่าย มักเป็นรูปไข่พับจีบ ตามเส้นใบมีหูใบ ดอกออกเป็นช่อตั้งตรงหรือห้อยลงตามปลายยอดหรือด้านข้างกิ่ง ดอกสมมาตรตามรัศมีดอกเพศร่วมกันกลีบรวม มี 1-6 กลีบ หรือไม่มีแยกจากกัน หรือเชื่อมติดกันมีขนาดเล็ก คล้ายกับเกร็ด เกสรเพศผู้ มี 1-4 อัน ก้านเกสรเพศผู้แยกจากกันหรือเชื่อมติดกันที่โคน อับเรณูติดด้านหลังมี 2 ช่อง เกสรเพศเมียมี 1 อัน 2 คาร์เพล รังไข่ติดใต้วงดนตรีมักมี 2 ช่อง ที่ฐานที่ปลายมี 1 ช่องแต่ละช่องมี 2 ออวุล (ออวุลหนึ่งอันฟ่อไป) ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน ติดแน่นยอดเกสรเพศเมียเป็นครีบเล็กน้อยในดอกเพศผู้ บางทีพบเกสรเพศเมียที่เป็นหมัน สั้นหนาหรือไม่มี ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว หรือผลมีปีก มีใบประดับรองรับหรือห่อหุ้ม

ลักษณะเด่นของวงศ์

วงศ์ของพืชชนิดนี้เป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่ม ออกแยกเพศร่วมต้น มีหูใบ ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกลดรูป มีกลีบรวมขนาดเล็กคล้ายเป็นเกล็ดหรือไม่มีดอกเป็นช่อหางกระรอกห้อยลง รังไข่ติดใต้วงกลีบมัก มี 2 ช่อง ผลเปลืองแข็งเมล็ดเดียวผลมีปีก มีใบประดับรองรับหรือห่อหุ้ม

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Fagaceae ขอบใบเรียบหรือจักฟันเลื่อย มี 3 คาร์เพล ผลมีกาบรูปถ้วยหรือกาบหุ้มผล
  • Myricaceae ขอบใบจากฟันเลื่อย มี 1 ออวุล ติดที่ฐานรังไข่ ขนไม่มีปีก

การกระจายพันธุ์

พบในเขตอบอุ่น ประเทศไทยมี 2 สกุล

  • สกุล  Betula  ได้แก่ กำลังเสือโคร่ง Betula alnoides Buch.-Ham. ex G. Don
  • สกุล Carpinus ได้แก่ ก่อสร้อย Carpinus viminea Wall. ex Lindl.
กำลังเสือโคร่ง
กำลังเสือโคร่ง ใบรูปไข่ ถึงรูปไข่แกมรูปหอก ขอบใบหยัก จักฟันเลื่อย

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment