วงศ์ชะคราม CHENOPODIACEAE ลักษณะเด่นของวงศ์เป็นวัชพืชล้มลุก

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์ชะคราม CHENOPODIACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียวหรือหลายปีหรือไม้พุ่มอวบน้ำ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับหรือตรงข้าม ดอก ออกเป็นช่อ ดอกขนาดเล็ก แยกเพศหรือสมบูรณ์เพศ พบน้อยที่ เป็นเพศเดียว สมมาตรตามรัศมีมีวงกลีบรวม 5 กลีบ หรือไม่มีเลย เกสรเพศผู้ ติดตรงข้ามกับกลีบรวม จำนวนเท่ากับกลีบรวมหรือน้อยกว่าก้าน เกสรเพศผู้ แยกจากกัน รังไข่ติดเหนือวงกลีบช่องเเดียว ผลแห้งแก่ไม่แตก เมล็ดรูปไต

ลักษณะเด่นของวงศ์

พืชวงศ์ชะคราม CHENOPODIACEAE เป็นวัชพืชล้มลุกขึ้นในที่แล้วหรือดินเค็ม ดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อ เกสรเพศผู้มี 5  อันชัดเจน  รังไข่มี 1 ช่อง

การกระจายพันธุ์

สกุลชะครามพบในเขตร้อน ส่วนมากพบในที่แล้ง ในประเทศไทยมี 2 สกุล ที่เป็นพืชพื้นเมือง

  • สกุล Suaeda มี 1 ชนิด คือ ชะคราม Suaeda maritima (L.) Dumort. ขึ้นอยู่ในดินเค็ม ด้านหลังป่าชายเลน มักขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่เห็นเป็นสีแดงทั้งกลุ่ม
ต้นชะคราม
ต้นชะคราม ลำต้นอ่อนมีสีเขียว ลำต้นแก่มีสีน้ำตาลอมแดง
ชะคราม
ชะคราม ใบอ่อนสีเขียวอ่อน เรียวยาว ปลายใบแหลม

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment