วงศ์ตำแย URTICACEAE แผ่นใบมักมีขนที่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง

ลักษณะประจำวงศ์

ลักษณะวงศ์เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ หรือออกตรงข้ามเป็นคู่ แผ่นใบมักมีขนที่ เป็นอันตรายต่อผิวหนัง เช่น คัน ปวดแสบปวดร้อน และบวม เป็นต้น ช่อดอกแบบกระจุก คล้ายหางกระรอก แยกแขนง หรือดอกออกรวมกันเป็นก้อนกลม ออกตามง่ามใบและปลาย กิ่ง ดอกสมบูรณ์เพศหรือแยกเพศ วงกลีบรวม 4-5 กลีบ บางครั้งโคนกลีบเชื่อมติดกัน ในดอกสมบูรณ์เพศมักมีเกสรเพศผู้จำนวนเท่ากับกลีบรวม รังไข่ 1 อัน อยู่เหนือฐานดอก มี 1 ช่อง มีไข่อ่อน 1 หน่วย ส่วนดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้มักมีเกสรเพศผู้ตั้งแต่ 1 อันขึ้นไปจนถึง จำ นวนเท่ากับกลีบรวม ดอกเพศเมียมีเกสรเพศผู้ที่ฝ่อหรือเป็นหมัน รังไข่ 1 อัน อยู่เหนือฐานดอก มี 1 ช่อง มีไข่อ่อน 1 หน่วยผลสดหรือแห้ง มักมีวงกลีบรวมประดับที่ขั้วผลมี 1 เมล็ด

ลักษณะเด่นของวงศ์

วงศ์ของพืชชนิดนี้ส่วนมากเป็นไม้ล้มลุก มีขนระคายเคืองต่อผิวหนัง มียางขาวหรือยางใส ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ กลีบรวมลดรูปหรือไม่มี รังไข่มี 1 ช่อง 1 ออวุล ผลแห้งเมล็ดล่อนหรือผลนุ่มมีเมล็ดเดียวแข็ง

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Moraceae มียางขาว ยอดเกสรเพศเมีย มี 2 อัน
  • Ulmaceae โคนใบเบี้ยว ยอดเกสรเพศเมีย มี 2 อัน

การกระจ่ายพันธุ์

พบทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ในประเทศไทยมี 15 สกุล

  • สกุล Boehmeria  เช่น เขืองแข้งม้า Boehmeria chiangmaiensis Yahara จ๊าป่าน Boehmeria macrophylla D. Don
  • สกุล Debregeasia เช่น ไข่ปลา Debregeasia velutina Gaudich เต้ามด Debregeasia wallichiana (Wedd.) Wedd.
  • สกุล Dendrocnide  เช่น กะลังตังช้าง Dendrocnide sinuata (Roxb.) Nees ตำแยช้าง Dendrocnide stimulans (L.f.) Chew
ตำแย
ตำแย พืชล้มลุกขนาดเล็ก ทุกส่วนของต้นมีขนพิษ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.waa.inter.nstda.or.th, www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment