วงศ์หญ้าข้าวก่ำ BURMANNIACEAE เป็นพืชกินซากหรือกึ่งพืชกินซาก

ลักษณะประจำวงศ์

ชื่อวงศ์หญ้าข้าวก่ำ ไม้ล้มลุกอายุปีเดียวหรือหลายปีขนาดเล็ก เป็นพืชกินซาก (Saprophyte) และกึ่งพืชกินซาก (Semisaprophyte) ไม่มีคลอโรฟิลล์ รากคล้ายเส้นด้าย มีเหง้าทรงกระบอกหรือมีหัวใต้ดิน ใบคล้ายเกล็ดขนาดเล็ก เรียงสลับหรือเรียงเป็นกระจุกแบบกุหลาบซ้อน ไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อมีก้านดอกโดด ช่อดอกแบบช่อกระจุกหรือช่องวงแถวเดียว ที่ปลายยอดมีดอกเดียวหรือหลายดอก ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเชื่อมติดกัน ตุ่มมากตามรัศมี มีก้านดอกย่อย วงกลีบรวมเชื่อมติดกันเป็นหลอด บางครั้งมีปีกหรือเป็นสันตามยาว กลีบรวม 6-8 กลีบ เรียง 2 วง เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น อับเรณู 4 ช่อง อับเรณูหันเข้าหาแกนดอก แยกตามขวางหรือตามยาว รังไข่ใต้วงกลีบมี 3 ช่อง เชื่อมติดกัน ออวุลจำนวนมาก ติดรอบแกนร่วม ก้านเกสรเพศเมียรูปทรงกระบอก ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก หรือเป็นกระจุก ขนแห้งแตก เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก 

ลักษณะเด่นของวงศ์

ไม้ล้มลุกขนาดเล็กเป็นพืชกินซากหรือกึ่งพืชกินซาก ไม่มีคลอโรฟิลล์ รากขายเส้นด้าย ใบคล้ายเกล็ดขนาดเล็ก ช่อดอกแบบช่อกระจุกออกที่ปลายยอด กลีบรวม 6-8 กลีบ เรียง 2 วง เกสรเพศผู้ 6 อัน รังไข่ใต้วงกลีบมี 3 ช่อง ยอดเกสรเพศเมียแยก 3 แฉก 

การกระจายพันธุ์

เขตร้อนถึงเขตอบอุ่นทั่วโลกมี 13 สกุลประมาณ 130 ชนิดประเทศไทยมี 2 สกุล 9 ชนิด

  • สกุล Burmannia เช่น สรัสจันทร Burmannia coelestis D.Don. หญ้าข้าวก่ำ Burmannia districha L.
  • สกุล Thismia เช่น พิศวงระยางค์ Thismia javanica J.J.SM. พิศวง Thismia mirabilis K.Larsen
สรัสจันทร
สรัสจันทร กลีบดอกสีม่วงเข้ม ออกที่ปลายยอด

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment