วงศ์หญ้างวงช้างและสกุลของหญ้างวงช้าง BORAGINACEAE

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์หญ้างวงช้าง BORAGINACEAE ลักษณะวงศ์เป็น ไม้ล้มลุก ไม้พุ่มหรือไม้ต้น พบน้อยที่เป็นไม้เลื้อย ใบเดี่ยวติดเวียนสลับ บางครั้งอาจพบติดกึ่งตรงข้าม ดอก ออกเป็นช่อม้วนแบบก้นหอย มีกลีบเลี้ยงและ กลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงติดแน่น กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายจักเป็น 5 พู เกสรเพศผู้มี 5 อัน รังไข่ติดเหนือวงกลีบมี 2  ช่องหรือ 4 ช่อง โดยมีผนังกั้นไม่ชัดเจน แต่ละช่อมีไข่อ่อน 1 หน่วย ผลแยกย่อยเป็น 4 มีเมล็ดแข็ง

ลักษณะเด่นของวงศ์

พืชวงศ์หญ้างวงช้าง BORAGINACEAE มีใบสาก เนื่องจากมีขนแข็ง ช่อดอกม้วน

หญ้างวงช้าง
หญ้างวงช้าง ลำต้นมีขนสีขาวปกคลุม

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Gesneriaceae – ใบติดตรงข้ามแต่ละคู่ตั้งฉากกัน เมล็ดมีจำนวนมาก
  • Labiatae – ใบมักติดตรงข้ามสลับตั้งฉาก รังไข่มี 4 ช่อง

การกระจายพันธุ์

สกุลของหญ้างวงช้าง พบในเขตร้อนทั่วไป ในประเทศไทยมีประมาณ  15 สกุล เช่น

  • สกุล Cordia ไม้ต้น ไม้พุ่ม ในป่าที่ราบต่ำและป่าดิบชื้นชายฝั่ง ที่ปลูกเป็นไม้ประดับ ได้แก่ คอร์เดีย Cordia sebestina L. พบในป่าชายหาด ได้แก่ หมันทะเล Cordia subcordata Lam
  • สกุล Ehretia ไม้พุ่ม หรือไม้ต้น พบในป่าที่ราบต่ำ และป่าดิบชื้น ได้แก่ ก้อม Ehretia laevis Roxb.
  • สกุล Heliotropium มี 1 ชนิด คือ หญ้างวงช้าง Heliotropium indicum L. เป็นวัชพืชทั่วไปในเขตร้อน
  • สกุล Tournefortia เป็นไม้พุ่มตาม ชายหาด ได้แก่ เหลียง Tournefortia ovata Wall. ex G. Don
ดอกคอร์เดีย
ดอกคอร์เดีย ดอกเป็นสีแสดแดงหรือสีส้ม ออกเป็นช่อ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment