วงศ์หวายลิงและสกุลหวายลิง FLAGELLARIACEAE

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์หวายลิง วงศ์ของพืช เป็นไม้เถา มีเนื้อไม้ อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน เจริญด้านข้างมีรากอากาศ ใบเรียงสลับหรือเรียงสลับระนาบเดียว ปลายใบเจริญไปเป็นมือพัน มีติ่งใบระหว่างกาบใบกับใบ ดอกออกเป็นช่อมีก้านดอกโดด ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ดอกสมบูรณ์เพศ ติดบนวงใบประดับวงกลีบรวมมี 6 กลีบ เรียง 2 วงไม่ชัด เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น อับเรณูรูปแถบมี 4 พู แตกด้านข้างตามยาว แนวรังไข่เหนือวงกลีบมี 3 ช่อง แต่ละช่องมี 1 ออวุล พลาเซนตารอบแกนร่วม ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก มีปุ่มเล็กๆ ด้านบน ผลมีเนื้อ เมล็ดเดียวแข็ง 

ลักษณะเด่นของวงศ์

ชนิดของหวายเป็นไม้เถา มีเนื้อไม้ ปลายใบเป็นมือพัน ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง วงกลีบรวม 6 กลีบ เกสรเพศผู้ 6 อัน รังไข่เนื้อวงกลีบ ยอดเกสรเพศเมีย 3 แขก ผลมีเนื้อ เมล็ดเดียวแข็ง

การกระจายพันธุ์

เขตร้อนทั่วโลกมีสกุลเดียว จำนวน 4 ชนิด ประเทศไทยมี 1 ชนิด คือ หวายลิง Flagellaria indica L. นำมาสารทำตะกร้าและเป็นพืชสมุนไพร 

หวายลิง
หวายลิง ลำต้นแข็ง เหนียว ใบเรียวยาวรูปหอก

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment