วงศ์เหงือกปลาหมอ ACANTHACEAE (วงศ์อแคนทาซีอี)

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์เหงือกปลาหมอ ACANTHACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม ไม้ต้นขนาดเล็ก หรือไม้เลื้อย ไม่มีหูใบ ใบ เดี่ยว ติดตรงข้าม ขอบเรียบ เส้นใบออกจากสองข้างของเส้นกลางใบแบบขนนก ดอก ออกตามง่ามใบ หรือปลายยอด เป็นช่อ หรือดอกเดี่ยว มักมีใบประดับคล้ายใบหุ้มท่อกลีบดอก ดอกสมมาตรด้านข้าง หรือสมมาตรตามรัศมีดอกสมบูณ์เพศ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 4 แฉก กลบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายมี 5 แฉก มักแยกเป็น 2 ปาก เกสรเพศผู้มี 4  สั้นสอง ยาวสอง หรือมีเพียง 2 อัน ติดบนท่อกลีบดอก รังไข่มี 2 ช่อง มีไข่อ่อน 2-10 หน่วยใน 1 ช่อง ผล เป็นแบบผลแห้งแตก เมล็ดมี 2  ถึงหลายเมล็ดติดบนก้านคล้ายตะขอ

ต้นเหงือกปลาหมอ
ต้นเหงือกปลาหมอ มีหนามอยู่ตามข้อของลำต้น

ลักษณะเด่นของวงศ์

ใบเดี่ยว ขอบเรียบติดตรงข้ามดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายมี 5 แฉก มักแยกเป็น 2 ปาก เกสรเพศผู้มี 4 อัน สั้นสอง ยาวสอง ติดบนท่อกลีบดอก ผลแห้งแตก เมล็ดติดบนก้านคล้ายตะขอ

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Labiatae – ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีต่อมกลิ่น กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นท่อ ผลเป็นผลแข็งเล็ก อยู่ในท่อกลีบเลี้ยง
  • Gesneriaceae – ลำต้นเป็นกอ ใบติดตรงข้าม ใบที่ติดคู่กันมักมีขนาดไม่เท่ากัน อับเรณูเป็นคู่ รังไข่ติดเหนือวงกลีบ หรือติดใต้วงกลีบ รังไข่ยาว
  • Scrophulariaceae – ใบติดตรงข้าม หรือติดสลับ ผลแห้งมีเมล็ดจำนวนมากผลมักยาวกว่ากลีบเลี้ยง
ดอกเหงือกปลาหมอ
ดอกเหงือกปลาหมอ ดอกสีขาวเป็นช่อตั้งตรง

การกระจายพันธุ์

พบทั่วโลกในประเทศไทยมี 40  สกุล เช่น

  • สกลุ Acanthus ไม้พุ่มขนาดเล็ก พบตามน้ำกร่อย ได้แก่ เหงือกปลาหมอ Acanthus ebracteatus Vahl
  • สกลุ Phlogacanthus ไม้พุ่มดอกสีส้มออกเป็นช่อ ปลายยอดดอกโค้งพบตามป่าปิด ได้แก่ ห้อมช้าง Phlogacanthus curviflorus Nees
  • สกุล Thunbergia ไมเลื้อย พบตามป่าดิบ เช่น สร้อยอินทนิล Thunbergia grandiflora (Roxb. ex Rottler) Roxb.
ต้นห้อมช้าง
ต้นห้อมช้าง เป็นไม้พุ่มสูง ลำต้นกลวง

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment