วิธีการกำจัดศัตรูพืชในแปลงผัก

ปัจจุบันหลายๆ คนนิยมที่จะปลูกผักกินเอง เพื่อที่จะได้ผักที่ปลอดสารพิษ ปลอยภัยจากสารเคมีต่างๆ และในการปลูกผักแต่ละครั้งก็จะพบเจอกับปัญหาเกี่ยวกับแมลงหรือศัตรูพืชที่มาเจาะ ทำลายผักที่ปลูกเป็นประจำ วันนี้เกษตรตำบลมีวิธีการป้องกัน กำจัดแมลงและศัตรูพืชมาฝากค่ะ จะมีวิธีใดบ้างมาดูกันเลยค่ะ

การใช้กับดักกาวเหนียว

กับดักกาวเหนียวนี้มีคุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีพิษต่อสิ่งแวดล้อมจะใช้ในการควบคุม ปริมาณตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยไฟ แมลงวันเจาะผล แมลงวันของหนอนชอน ใบ ผีเสื้อกลางวันชนิดต่างๆ ทั้งของหนอนคืบและหนอนใย เป็นต้น โดยทั่วไปมักจะนิยมใช้กาวเหนียวมาทาบนวัสดุที่มีสีเหลือง เช่น แผ่นพลาสติก หรือกระป๋องนํ้ามันเครื่อง เนื่องจากแมลงมักชอบสีเหลืองโดยกับดักนี้จะใช้ล่อ แมลงให้บินมาติดกาวเหนียวที่ทำไว้สําหรับการติดตั้งนั้น ควรติดตั้งกับดักในแปลงผักให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร หรือสูงกว่ายอดต้นผักเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว โดยจะใช้กับดักประมาณ 60-80 กับดัก/พื้นที่ 1 ไร่ในช่วงที่มีการระบาดมาก (ฤดูร้อน, ฤดูฝน) ส่วนในฤดูหนาวมีการระบาด น้อย อาจใช้เพียง 15-20 กับดัก/ไร่

วิธีการทํากาวเหนียว วัสดุที่ใช้ประกอบด้วย

  1. น้ำมันละหุ่ง 550 ซีซี
  2. น้ำมันยางสน 380 กรัม
  3. ไขคาร์นัววา (Canova wax) 60 กรัม

ขั้นแรกเคี่ยวนํ้ามันระหุ่ง จนเดือดแล้วจึงเติมนํ้ามันยางสนและไขคาร์นัววา ลงไป คนช้าๆ ให้เข้ากันดีแล้วจึงยกออกจากเตา ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำไปใช้เป็นกำดักกาวเหนียวต่อไป

การใช้กับดักแสงไฟ

เป็นการใช้แสงไฟจากหลอดฟลูออร์เรสเซนต์ (หลอดนีออน) หรือหลอดไฟแบล็คไลท์ ล่อแมลง ในเวลากลางคืน เช่น ผีเสื้อ หนอน กระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก ให้มาเล่นไฟและตกลงในภาชนะที่บรรจุ นํ้ามันเครื่องหรือน้ำที่รองรับอยู่ด้านล่าง การติดตั้งกับดักและแสงไฟจะติดตั้งประมาณ 2 จุด/พื้นที่ 1 ไร่ โดยติดตั้งให้สูงจากพื้นดินประมาณ 150 เซนติเมตร และให้ภาชนะที่รองรับอยู่ห่างจากหลอดไฟ 30 เซนติเมตรและควรปิดส่วนอื่นๆ ที่จะทําให้แสงสว่างกระจายเป็นบริเวณกว้างเพื่อล่อจับแมลงเฉพาะในบริเวณแปลง มิใช้ล่อแมลงจากที่อื่นให้เข้ามาในแปลง

การใช้พลาสติกหรือฟางคลุมแปลงปลูก

เป็นการควบคุมปริมาณวัชพืชและเก็บรักษาความชื้น ในดินไว้ได้นาน ทําให้ประหยัดนํ้าที่ใช้รด แปลงผัก การใช้พลาสติกหรือฟางข้าวคลุมแปลงปลูกนี้ ควรใช้กับพืชผักที่มีระยะปลูกแน่นอน ในแปลง ที่พบการระบาดของโรคที่มีเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุ และมีเพลี้ยอ่อนหรือแมลงเป็นพาหะ แนะนําให้ใช้ พลาสติกที่มีสีเทา-ดำ โดยใหด้านที่มีสีเทาอยู่ด้านบน เนื่องจากสีเทาจะทำให้เกิดจากสะท้อนแสงจึงช่วยไล่แมลงพาหะได้

ใช้พลาสติกคลุมดิน
ใช้พลาสติกคลุมดิน ควบคุมปริมาณวัชพืชและเก็บรักษาความชื้นในดิน

การปลูกผักในโรงเรือนมุ้งตาข่ายในล่อน

พื้นที่ที่จะใช้ปลูกผักในโรงเรือน ควรเป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกผักได้อย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 3 ปี เพื่อจะได้คุ้มค่าต่อการสร้างโรงเรือนและการใช้ตาข่ายไนล่อน โครงสร้างของโรงเรือนอาจทําด้วย เหล็กหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับเกษตรกรว่าต้องการจะใช้พื้นที่นี้ในการปลูกผักนานเท่าใด ส่วนตาข่ายที่ใช้นั้นจะใช้มุ้งตาข่ายไนล่อนที่มีขนาด 16 ช่องต่อความยาว 1 นิ้ว โดยมุ้งสีขาวมีความเหมาะสมกับการปลูกผักเนื่องจากแสงผ่านได้เกือบปกติ ส่วนมุ้งสีฟ้าไม่ค่อยเหมาะสม เนื่องจากแสงผ่านได้เพียงร้อยละ 70 เท่านั้น

การปลูกผักในโรงเรือนมุ้งตาข่ายนี้ จะไม่สามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชผักได้ทุกชนิด มีเพียง หนอนผีเสื้อและด้วงหมัดผัก เท่านั้น ที่สามารถป้องกันได้ ส่วนเพลี้ยอ่อน เพลีี้ยไฟ หนอนแมลงวันชอบใบแมลงหวี่ขาวและไร่ ซึ่งเป็นแมลงขนาดเล็กจะไม่สามารถป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ซึ่งถ้าหากใช้มุ่งไนล่อนที่มีความถี่เพิ่มขึ้นเป็น 24 ละ 32 ช่องต่อนิว้ แล้วจะป้องกันได้ แต่อาจมีปัญหาเรื่องอุณหภูมิและความชื้นภายในมุ้ง

ข้อควรระวังสำหรับการปลูกผักในโรงเรือนมุ้งตาข่าย

  • อย่าให้มีหนอนผีเสื้อหรือหนอนต่างๆ หลุดเข้าไปในโรงเรือนได้ เพราะหนอนต่างๆ เหล่านี้ จะสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
  • ในการย้ายกล้า จะต้องตรวจดูกล้าผัก อย่าให้มีไข่ตัวหนอนหรือดักแด้ติดเข้าไปในโรงเรือน
  • ควรดูแลอย่าใหมุ้ง ตาข่ายชํารุดฉีดขาด เพราะอาจทําให้ด้วงหมัดผักเล็ดลอดเข้าไปได้ อาจจะ มีการรองด้วยผ้าหรือแผ่นยางบริเวณที่มีการเสียดสีระหว่างตาข่ายกับ โครงสร้างเพื่อป้องกันการฉีดขาด
  • มุ้งตาข่ายจะต้องปิดมิดชิดตลอดเวลา และควรทําประตูเป็นแบบสองชั้น 
  • การปลูกผักในโรงเรือนมุ้งตาข่ายไม่สามารถป้องกันแมลงขนาดเล็กได้ ดังนั้นจึงอาจจะต้อง ใช้วิธีการกําจัดศัตรูพืชอื่นๆ ร่วมด้วย 
  • ผักที่ปลูกได้ในมุ้งตาข่ายไนล่อน ประเภทกินใบ ได้แก่ คะน้า ผักกาดขาว กวางตุ้ง ฮ่องเต้ ตั้งโอ๋ ขึ้นฉ่าย เป็นต้น ประเภทกินดอก ได้แก่ กะหลํ่าดอก บรอกโคลี เป็นต้น ประเภทกินฝักและผล ได้แก่ ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ ถั่วลันเตา เป็นต้น
ปลูกผักกางมุ้ง
การปลูกผักโดยการใช้มุ้งตาข่าย

การควบคุมโดยชีววิธี

เป็นการใชสิ่งมีชีวิตควบคุมศัตรูพืช ซึ่งได้แก่ แมลง ตัวห้ำ ตัวเบียน ที่ทําลายแมลงศัตรูพืชชนิด อื่น หรืออาจใช้สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น เชื้อบักเตรี เชื้อไวรัส เชื้อรา ไส้เดือนฝอย เป็นต้น ในการควบคุมซึ่งมี รายละเอียด ดังนี้

เชื้อบักเตรี ที่นิยมใช้ในการควบคุมแมลง คือ เชื้อบีที (BT) โดยแมลงที่ได้รับเชื้อบักเตรีชนิดนี้ เข้าไปแล้ว น้ำย่อยในลำไส้ของแมลงจะละลายผลึกของเชื้อบักเตรี ทําให้เกิดสารพิษทําลายระบบย่อย อาหารและอวัยวะของแมลง ทําให้ขากรรไกรแข็ง กินอาหารไม่ได้ เคลื่อนไหวช้าลง และตายไปในที่สุด
เชื้อบักเตรีที่มีขายเป็นการค้าจะมี 2 กลุ่ม คือ

  1.  Kurstaki ได้แก่ แบคโทรฟินเอชพี ดับเบิ้ลยูพี, เซ็นทารี่ยูดีจี มีประสิทธิภาพในการกําจัด หนอนในผัก หนอนกระทู้หอม และหนอนคืบกะหล่ำ 
  2. Aizawai ได้แก่ ฟลอร์แบค เอชพี, ฟลอร์แบค เอฟซี, ธูรีไซด์ เอชพี มีประสิทธิภาพในการ กําจัดหนอนใยผัก และหนอนคืบกะหลํ่า เท่านั้น ดังนั้น การที่จะใช้เชื้อบักเตรีให้ได้ผล ควรเลือกชนิดของเเชื้อให้ตรงกับแมลงศัตรู และควรฉีด พ่นเมื่อหนอนยังเป็นตัวอ่อนอยู่ หลีกเลี่ยงแสงในขณะฉีดพ่น และไม่ควรให้นํ้าหลังจากฉีดพ่นเชื้อบักเตรี แล้ว

เชื้อไวรัส เชื้อไวรัสที่ใช้ในการควบคุม คือ เอ็นพีวี (NPV) โดยใช้ในการกําจัดหนอนหลอดหอมหรือหนอน หนังเหนียว ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้จะเข้าไปทําลายระบบต่างๆ ของร่างกาย ทําให้หนอนลดการกินอาหาร เคลื่อนไหวช้า ลําตัวมีสีซีดลง มีจุดสีขุ่นหรือส้ม แล้วจะใช้ขาเทียมเกาะที่ต้นพืชห้อยหัวลงมาตายในที่สุด

เชื้อรา ที่ใช้ในการควบคุม คือ ไตรโครเดอร์มาจะควบคุมเชื้อสาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่า เน่าคอดิน ของมะเขือเทศและผักกาดหัว โดยจะใช้เชื้อราผสมกับรําข้าวและปุ๋ยหมัก ในอัตรา 1:10:40 แล้วใช้รองก้นหลุมหรือโรยรอบโคนต้น

ไส้เดือนฝอย จะช่วยควบคุมด้วงหมัดผัก โดยชอนไชเข้าสู่ระบบเลือดหรือกระเพาะอาหาร เมื่อเข้าไปแล้วจะถูกย่อยทําลาย จากนั้นจะปลดปล่อยเชื้อบักเตรีที่เป็นอันตรายต่อแมลงออกมา ทําให้แมลงตายในที่สุด ใน การใช้ไส้เดือนฝอยนั้น เกษตรกรควรเก็บรักษาไว้ในที่เย็น และใช้ไส้เดือนฝอยในการควบคุมหลังจาก การให้นํ้าแก่ต้นพืชช่วงเวลาเย็นๆ เนื่องจากไส้เดือนฝอยจะไม่ทนทานต่อสภาพที่แห้งแล้ง หรือถูกแสง แดด

การใช้สารสกัดจากพืช

พืชที่นิยมนํามาใช้สกัดเป็นสารควบคุมโรคและแมลง คือ สะเดา เนื่องจากในสะเดามีสาร อะซาดิแรคติน (Azadirachtin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการป้องกันและกําจัดแมลงได้โดย

  • สามารถใช้ฆ่าแมลงได้บางชนิด
  • ใช้เป็นสารไล่แมลง
  • ทําให้แมลงไมกินอาหาร
  • ทําให้การเจริญเติบโตของแมลงผิดปกติ
  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง 
  • ยับยั้งการวางไข่และการลอกคราบของแมลง
  • เป็นพิษต่อไข่ของแมลง ทําให้ไข่ไม่ฟัก 
  • ยับยั้งการสร้างเอนไซม์ในระบบย่อยอาหารของแมลง

วิธีการใช้ คือ นําเอาผลสะเดาหรือสะเดาที่บดแล้ว 1 กิโลกรัม แช่ในนํ้า 20 ลิตร ทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน แต่ถ้าเกษตรกรมีเครื่องกวนส่วนผสมดังกล่าว ก็จะลดเวลาเหลือเพียง 3-4 ชั่วโมง จากนั้นกรอง เอาแต่น้ำมาผสมด้วยสารจับใบประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนําไปรดพืชผักทันที ส่วนกากของสะเดาที่เหลือให้นําไปโรยโคนต้นเพื่อปรับปรุงสภาพดิน และกําจัดแมลงในดินได้อีดด้วย

ข้อควรระวัง พืชบางชนิดเมื่อได้รับสารนี้แล้วอาจเกิดอาการใบไหม้เหี่ยวย่นหรือต้นแคระ แกร็น ดังนั้นเมื่อพบอาการต่างๆ เหล่านี้ ก็ควรจะงดใช้สารสกัดจากสะเดาทันที

ชนิดของแมลงที่สามารถกำจัดได้ด้วยสะเดา

  1. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลดี ได้แก่ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว หนอนกระทู้ ชนิดต่างๆ หนอน กัดกินใบ หนอนเจาะยอด หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนหัวกระโหลก
  2. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลปานกลาง ได้แก่ เพลี้ยจักจั่น หนอนเจาะ สมอฝ้าย หนอนต้นกล้าถั่ว แมลงหวี่ขาว แมลงวันทอง เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยอ่อน
  3. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลน้อย ได้แก่ หนอนเจาะฝักถั่ว เพลี้ยไฟ ไรแดง มวนและด้วงชนิดต่างๆ

พืชผักที่ใช้สารสกัดจากสะเดาได้ผล ได้แก่ ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักกาดหอม กะหลํ่าปลี กะหลํ่าดอก แตงกวา แตงโม แตงเทศ มะเขือเทศ มะเขือยาว หน่อไม้ฝั่ง ข้าวโพดอ่อน พริกขี้หนู ตําลึง มะนาว มะกรูด

การทำสารสกัดจากสะเดา
การทำสารสกัดจากสะเดา

การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในการปฏิบัติจริงของเกษตรกรนั้น เกษตรกรต้องหมั่น ตรวจ แปลงปลูกพืชของตนอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อเป็นการพยากรณ์สถานการณ์ของศัตรูพืช ในแปลงของตน เมื่อทราบสถานการณ์แล้วจึงพิจารณาเลือกใช้วิธีการป้องกันและกำจัดที่เหมาะสม แต่ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมหรือไม่มีวิธีการควบคุมใดที่ใช้ได้ผลแล้ว เกษตรกรอาจใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชนั้นๆ ได้ โดยพิจารณาจาก

  1. เป็นสารเคมีที่เหมาะสมกับศัตรูพืชนิดนั้น
  2. สารเคมีนั้นสลายตัวได้เร็ว
  3. ใช้ในอัตราที่เหมาะสมตามคําแนะนํา 
  4. เว้นระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามคําแนะนํา ทั้งนี้เพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือมีสารพิษตกค้างในพืชผักนั้น และมีความปลอดภัยต่อ ผู้บริโภคอีกด้วย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com
http:// plastic.oie.go.th
https://www.youtube.com

One Comment

Add a Comment