วิธีการปลูกขมิ้นชัน สมุนไพรพื้นบ้าน

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน เป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมาแต่โบราณโดยนํามาใช้แต่งสี แต่งกลิ่น และรสของอาหาร เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา การใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารขมิ้น ผงเป็นแหล่งสีธรรมชาติให้ความปลอดภัยมากกว่าสีสังเคราะห์ตลอดจนเป็นสมุนไพรรักษาโรคต่าง ๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม

ขมิ้นชันเป็นพืชปลูกง่ายสามารถปลูกขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย เติบโตได้ดีในที่ดอนไม่ชอบนํ้าท่วมขัง ปัญหาของโรคแมลงรบกวนน้อย อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8-9 เดือน เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกขมิ้นชันเป็นพืชสวนครัวหลังบ้านในปริมาณไม่มากนัก

ขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีเหง้าจำนวนมาก

ฤดูกาลปลูกขมิ้นชัน

การปลูกขมิ้นชันในประเทศไทย เริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนพฤษภาคมของทุก ๆ ปีและจะเก็บเกี่ยวหัวขมิ้น ในช่วงฤดูหนาวหรือประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งช่วงนี้หัวขมิ้นชันจะแห้งสนิท

ดินและการเตรียมดิน

ขมิ้นชันสามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่ที่เหมาะสมควรเป็นดินที่ระบายนํ้าดี นํ้าไม่ท่วมขังถ้าเป็นดินเหนียวควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ย คอกอัตรา 1 ตัน/ไร่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของดิน การเตรียมดินควรไถพรวนก่อนต้นฤดูฝน และหลังจากพรวนดินให้มีขนาดเล็กลงแล้ว ก็ใช้ไถยกร่องปลูกระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร

การเตรียมหัวขมิ้นชันสำหรับปลูก

การปลูกขมิ้นชันอาจใช้ท่อนพันธุ์ได้ 2 ลักษณะคือใช้หัวแม่ และใช้แง่ง ถ้าปลูกโดยใช้หัวแม่ที่มีรูปร่างคล้ายรูปไข่ขนาดน้ำหนักประมาณ 15-50 กรัม/หัว หัวแม่ สามารถให้ผลผลิตประมาณ 3,300กิโลกรัม/ไร่ ที่ระยะปลูก 75×30 เซนติเมตร ถ้าใช้หัวแม่ขนาดเล็กลง จะลดลงไปตามสัดส่วน ถ้าปลูกด้วยแง่งขนาด 15-30 กรัม/ชิ้น หรือ 7-10 ปล้อง/ชิ้น จะให้ผลผลิตน้ำหนักสดประมาณ 2,800 กก./ไร่ ก่อนนําลงปลูกในแปลงควรแช่ด้วยยากันราและยาฆ่าเพลี้ย เพื่อป้องกันโรคหัวเน่าและกําจัดเพลี้ย ซึ่งอาจติดมากับท่อนพันธุ์ละมักจะระบาดมากขึ้น ในช่วงปีที่ 2-3 ของการปลูกหากมิได้รับการเอาใจใส่ป้องกันให้ดีก่อนปลูก โดยแช่นานประมาณ 30 นาที ควรระมัดระวังการใช้สารเคมีโดยสวมถุงมือยางที่มีสภาพเรียบร้อยไม่ขาด และควรสวมหน้ากากด้วย ก่อนปลูกขมิ้นชัน ควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กก./ไร่ และวางท่อนพันธุ์ลงในแปลง กลบดินหนาประมาณ 5-10เซนติเมตร หลังจากนั้นขมิ้นชันจะใช้เวลาในการงอกประมาณ 30-70 วันหลังปลูก

การปลูกขมิ้นชัน
การปลูกขมิ้นชัน โดยใช้แง่งขมิ้น

การปลูกขมิ้นชัน

ขมิ้น ในกรณีที่ใช้แรงงานคนขุดหัวขมิ้นในดินที่ไม่แข็งเกินไป มักจะขุดได้เฉลี่ย ประมาณ 116 กก./วัน/คน เมื่อทําการเก็บเกี่ยวแล้วต้องนํามาตัดแต่งราก ทําความสะอาดดินออกในกรณีที่ต้องการขมิ้นสดอาจจะขายส่วนที่เป็นแง่ง ส่วนหัวแม่ควรเก็บไว้เป็นพันธุ์ลูกในฤดูกาลต่อไป ถ้าเตรียมขมิ้นแห้งเพื่อนำไปใช้ทํายารักษาโรคนั้น ต้องเป็นขมิ้นชันที่แก่เต็มที่ และต้องคำนึงถึงความสะอาดเป็นสิ่งสําคัญ รวมทั้งต้องมีปริมาณสารสําคัญ (เคอร์คูมิน ) ไม่น้อยกว่า 8.64 เปอร์เซ็นต์ วิธีการต้องนําหัวขมิ้นชันล้างด้วยนําให้สะอาด ตัดแต่งรากออกให้หมด แล้วฝานเป็นชิ้นบางๆ นําไปตากแดดในตู้อบแสงอาทิตย์ ที่สามารถป้องกันฝุ่น ละอองได้ และเมื่อแห้งสนิทแล้วบรรจุถุงปิดให้สนิท ขมิ้นสด 5 กิโลกรัมจะได้ขมิ้นแห้งประมาณ 1 กิโลกรัม นอกจากการเตรียมสําหรับทํายารักษาโรคแล้ว ยังสามารถเตรียมขมิ้นชันเพื่อใช้ในการแต่งสี และแต่งกลิ่นผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด โดยการต้มแง่งขมิ้น ในน้ำเดือดเป็นเวลา 30 นาที จะมีปริมาณเคอร์คูมิน 5.48 เปอร์เซ็นต์ แล้วหั่นก้อนอบแห้งในการต้มขมิ้นชันกับน้ำเดือดจะทําให้ประหยัดเวลาในการทําแห้งมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับวิธีการฝานสดแล้วตากแห้งกับแสงแดดและขมิ้นที่ได้ต้องนำไปบดเป็นผงต่อไป

การใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช

ขมิ้นชัน เมื่อเริ่มงอกยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ตองรีบทําการกําจัดวัชพืช เนื่องจากขมิ้นชันหลังจากงอกจะเจริญเติบโตแข่งกับวัชพืชไม่ได้ และใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 50 กก./ไร่ เมื่อกําจัดวัชพืชครั้งที่ 2 ควรพรวนดินกลบโคนแถวขมิ้นชันด้วย หลังจากนั้น กําจัดวัชพืชอีก 2-3 ครั้ง ก็พอ การให้น้ำแม้ว่าขมิ้นชันจะเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมก็ตามในช่วงต้นฤดูฝน อาจทิ้งช่วงไปขณะที่ขมิ้นชันยังมีขนาดเล็กอยู่ อาจมีอาการเหี่ยวเฉาบ้าง จึงควรให้นาชลประทานให้เพียงพอสําหรับความชุ่มชื้น หรืออาจใช้วัตถุคลุมดินเพื่อลดการระเหยของน้ำ และเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนไม่จําเป็นต้องให้นาเลย แต่ต้องระมัดระวังนํ้าท่วมขังในแปลงเป็นเวลานาน ๆ ทำให้ขมิ้นเน่าตายได้ ควรเตรียมแปลงให้มีทางระบายนํ้าและต้องรีบจัดการระบายนําออกทันทีที่พบว่ามีนํ้าท่วมขัง

แปลงปลูกชมิ้นชัน
แปลงปลูกชมิ้นชัน ขมิ้นชันสามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด

การเก็บเกี่ยว

หลังจากปลูกขมิ้นชันเมื่อช่วงต้นฤดูฝนจนย่างเข้าสู่ฤดูหนาวประมาณปลายเดือนธันวาคม ลําต้นเหนือดินเริ่มแสดงอาการเหี่ยวแห้งจนกระทั่งแห้งสนิทจึงเริ่มทําการเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวหัวขมิ้นโดยใช้แรงงานคน

ในการเก็บเกี่ยวหัวขมิ้น ควรใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่น รถแทรคเตอร์ติดผานไถอันเดียว และคนงานเดินตามเก็บหัวขมิ้นชันจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าแรงงาน เนื่องจากการเก็บเกี่ยวเป็นช่วงฤดูแล้งในสภาพดินเหนียวดินจะแข็ง ทําให้เก็บเกี่ยวยากอาจให้นาพอดินชื้นทิ้งไว้ 1 สัปดาห์แล้วจึงเก็บเกี่ยว

หัวขมิ้นชัน
หัวขมิ้นชัน เป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน

โรคของขมิ้นชัน

โรคของขมิ้นชันเกิดจากการเน่าของหัวขมิ้นจากน้ำท่วมขังหรือการให้นามากเกินไป หรือเกิดจากการปลูกซ้ำที่เดิมหลาย ๆ ครั้ง ทําให้เกิดการสะสมโรค โรคที่พบได้แก่ โรคเหง้าและรากเน่าซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคต้นเหี่ยว และโรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา โรคเหล่านี้เมื่อเกิดแล้วรักษายาก จึงควรป้องกันก่อนปลูก การป้องกันโรคที่ดีควรทําโดยการหมุนเวียนแปลงปลูกทุก ๆ ปี

ราคาขาย

ราคาขายตลาดสี่มุมเมือง ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565

  • ขมิ้นขาว ราคากิโลกรัมละ 60 บาท
  • ขมิ้นเหลือง ราคากิโลกรัมละ 30 บาท

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.simummuangmarket.com
https://www.flickr.com

Add a Comment