วิธีการปลูกถั่วแดง พืชเศรษฐกิจที่มีการส่งออกสูง

ถั่วแดง

ถั่วแดงหรือถั่วนิ้วนางแดง เป็นพืชตระกูลถั่วที่ค่อนข้างรู้จักกันมาก ในปัจจุบัน เพราะเป็นพืชที่ส่งออก ผลผลิตที่ส่งออกประมาณ 20,000 – 30,000 ต้นต่อปี มีมูล่า 150 – 190 ล้านบาท ตลาดส่งออกถั่วนิ้วนางแดงของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ซึ่งส่วนใหญ่จะนําไปใช้ทําไส่ขนมการใช้ภายในประเทศมีน้อยจะส่งออกเกือบทั้งหมด ปริมาณการผลิต ของแต่ละปีขึ้นอยู่กับราคาที่เกษตรกรได้รับถ้าราคาดีก็ผลิตมากเพราะเป็นผลพลอยได้จากการปลูกข้าวโพด แหล่งปลูกที่สําคัญคือจังหวัดเลย (ปลูกมากที่อำเภอวังสะพุงและอําเภอเชียงคาน) และที่จังหวัดขอนแก่น, พิษณุโลกและที่อื่นๆ บ้างเล็กน้อย เช่น ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และเชียงราย เป็นต้น

ถั่วแดงที่ปลูกในขณะนี้มีหลายชนิด แต่ที่ปลูกเป็นการค้าและปลูกมากเป็นถั่วแดงเมล็ดสีแดง ดอกสีเหลือง, ฝักเล็กเท่าๆ กับถั่วเขียว แต่ยาวกว่าเล็กน้อย เมื่อแก่ผักจะมีสีนํ้าตาลอ่อนและสีดํา ฝักจะห้อยลงจากช่อเหมือนนิ้วมือฝักที่มีสีดำเมล็ดจะโตกว่าฝักสีน้ำตาลอ่อนเล็กน้อย ต้นเลื้อย ลําต้นและใบมีขนโดยทั่วไป เรียกว่าถั่งแดงเมืองเลยหรือถั่วนิ้วนางแดง แต่ที่จังหวัดเลย เรียกว่า ถั่วท้องนา หรือบ้านนา เป็นพันธุ์ที่นำมาจากประเทศศรีลังกา เพื่อใช้เป็นพืชบํารุงดิน ชื่อเดิมเรียกว่า ถั่วแดงซีลอน ถั่วพวกนี้ถ้าเมล็ดมีสีแดงส่วนมากจะเรียกชื่อว่า ถั่วแดง ถั่วนางแดงหรือนิ้วนางแดง เหมือนกันหมด ถ้าเมล็ดมีสีขาวอมเขียวเล็กน้อยจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องที่ เช่น ที่พิษณุโลก เรียกว่า ถั่วนา ที่อุดร เรียกว่า ถั่วเต็มกําหรือเล็บมือนาง (ส่วนถั่วแดงพระราชทานนั้น ไม่รวมอยูในพวกนี้)

เมล็ดถั่วแดง
เมล็ดถั่วแดง เมล็ดรูปไต สีแดง

การปลูก

ถั่วแดง เป็นพืชที่ไวต่อแสง จะเริ่มออกดอกตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป เวลาปลูกควรจะอยู่ในเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม แต่ถั่วในปัจจุบันนี้เป็นพืชแซมกับพืชอื่นส่วนมากจะปลูกแซมกับข้าวโพด

การปลูกถั่วแดง มี 3 วิธี คือ

  1. ปลูกรวมกับข้าวโพด โดยใช้เมล็ดถั่วแดงผสมกับเมล็ดข้าวโพด แล้วปลูกในหลุมเดียวกัน ซึ่งจะมีเมล็ดถั่วแดงในหลุมละ 1 – 4 เมล็ด วิธนี้เป็นวิธกี ารปลูกของเกษตรทั่วๆไป เพราะสะดวกในการปฏิบัติ
  2. ปลูกแซมข้าวโพด โดยการหยอดถั่วแดงหลังจากดายหญ้า ข้าวโพดครั้งแรกแล้วระหว่างแถวข้าวโพดหลุมละ 2 – 3 เมล็ด โดยใช้ระยะหลุม 20 – 50 ซม.
  3. ปลูกถั่วแดงพืชเดียว ควรปลูกในเดือนสิงหาคม โดยปลูกระยะ 50 x 20 ซม. หยอดหลุมละ 3 – 4 เมล็ด เมื่องอกแล้ว 2 สัปดาห์ ถอนให้เหลือหลุมละ 2 ต้น
ต้นถั่วแดง
ต้นถั่วแดง ลำต้นเป็นเถาเลื้อย ฝักทรงกลม ยาวรี โค้งงอเล็กน้อย

การดูแลรักษา

การดูแลรักษาก็เช่นเดียวกันกับการดูแลรักษาแปลงข้าวโดยปกติทั่วไปสําหรับถั่วแดงนั้น เป็นผลพลอยได้ถ้าปลูกถั่วแดงล้วนอาจจะต้องกําจัดวัชพืชบ้าง 1 – 2 ครั้ง แล้วแต่ความมากน้อยของวัชพืช ซึ่งก็จะเป็นการเพียงพอเมื่อต้นถั่วแดงเริ่มเลื้อย แล้วก็จะคลุมด้วยวัชพืชไปเองและยังรักษาความชุ่มชื้น ในดินได้อีกด้วย การใช้ปุ๋ยยังไม่จําเป็น เพราะถั่วแดงเป็นพืชตระกูลถั่วที่สามารถใช้ไนโตรเจนในอากาศได้ โดยทั่วไปแล้วแหล่งที่ผลิตข้าวโพดจะมีความอุดมสมบูรณ์ที่เพียงพอกับความต้องการของถั่ว

ในระยะเริ่ม ออกดอกจะมีหนอนผีเสื้อกัดกินใบ หนอนม้วนใบ หนอนจะเจาะฝักเข้าทําลายบ้างเมื่อพบว่ามีหนอนพวกนี้ระบาด ควรพ่นสารป้องกันและกําจัด เช้น อะโซดรินและฟอสดริน เป็นต้น โดยใช้สาร 2 ช้อนแกง (30 ซี.ซี.) ต่อนํ้า 1 ปี๊บ (20 ลิตร)

การเก็บเกี่ยว

เนื่องจากถั่วแดงเป็นพืชที่ไวต่อแสงระยะเวลาการเก็บเกี่ยวจึงจํากัด คือ จะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม เป็นต้นไป โดยทั่วไปแล้วจะไม่ใช่วิธีทยอยเก็บฝักที่แก่ เพราะจะเป็นการสิ้น เปลือง แรงงานมากแต่จะเก็บโดยรอให้ฝักแก่เกือบหมดแล้วใช้เคียวเกี่ยวนำทั้งต้นและฝักมาตากบนลานให้แห้งแล้วนวดโดยใช้เครื่องนวด รถย่ำ หรือ ไม้ฟาด

เมื่อนวดเสร็จแล้วก็นํามาฝัดบรรจุเมล็ดใส่กระสอบเตรียมส่งขาย หรือเก็บไว้ทําพันธุ์ในปีต่อ ไป เมล็ดส่วนที่เก็บไว้ทําพันธุ์ต้องตากให้แห้งสนิท และควรคลุกสารเคมีป้องกันแมลงทําลาย

โดยทั่วๆ ไปแล้วจะให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 150-200 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าปฏิบัติดูแลรักษาดีและเก็บเกี่ยวในเวลาที่เหมาะสม คือ เก็บเกี่ยวในตอนเช้าและฝักไม่แหังจัดจะใหัผลผลิตสูงถึง 300 กิโลกรัมต่อไร่

คุณค่าทางอาหาร

ในถั่วแดง 100 กรัม มีองคประกอบทางอาหาร ดังนี้

  • โปรตีน 21.97 %
  • ไขมัน 0.58 %
  • คาร์โบไฮเดรต 58.10 %
  • เยื่อใย 5.40 %
ถั่วแดงต้ม
ถั่วแดงต้ม ถั่วมีรสชาติหวานมัน มีกลิ่นเฉพาะตัว

ควรมีการส่งเสริมให้ปลูกถั่ว ให้มีปริมาณมากขึ้น และควรสนับสนุนให้มีการนำถั่วแดงมาบริโภค ในประเทศให้มากขึ้น เพราะเป็นพืชอาหารที่มีโปรตีนสูงและราคาถูก สามารถนําถั่วแดงมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ทําข้าวต้มมัด ต้มกับนํ้าตาล หรือ เชื่อมใส่น้ำแข็ง, ไอศกรีม ทําขนมปังเนื้อถั่วแดง, คุ๊กกี้หรือนําไปทําไส้ขนมหวานต่างๆ ได้รวมทั้ง ประกอบอาหารมังสวิรัติ ต่างๆ

การปลูกถั่วแดงร่วมกับข้าวโพด นอกจากได้ผลผลิตถั่วแดงและข้าวโพดแล้วยังสามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินได้ด้วย และต้นข้าวโพดก็ทําหน้าที่เป็นค้างให้แก่ต้นถั่ว การปลูกร่วมกัน จึงเหมาะสมสําหรับแนะนําส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกันให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment