ว่านน้ำชื่อวิทยาศาสตร์ Acorus calamus L. ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน

ว่านน้ำ

ชื่ออื่นๆ : คงเจี้ยงจี้, ผมผา, ส้มชื่น, ฮางคาวน้ำ, ฮางคาวบ้าน (ภาคเหนือ) ตะไคร้น้ำ (เพชรบุรี) ทิสีปุตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ว่านน้ำ, ว่านน้ำเล็ก, ฮางคาวผา (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด :  พบได้ในทุกภาค แต่พบมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบนที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร แถบจังหวัดเลย โดยมักพบบริเวณริมลำห้วย ริมลำธาร หรือริมหนองน้ำ ส่วนต่างประเทศพบในเขตอบอุ่นของทวีปเอเชียถึงความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 เมตร

ชื่อสามัญ : Mytle Grass, Sweet Flag

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acorus calamus L.

ชื่อวงศ์ : ACORACEAE

ลักษณะของว่านน้ำ

ต้น  ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินขนานไปกับผิวดินใต้น้ำ ลักษณะเป็นแท่งค่อนข้างแบน  มีสีขาวออกน้ำตาล มีรากฝอยแตกออกบริเวณข้อ

ต้นว่านน้ำ
ต้นว่านน้ำ ลำต้นใต้ดินขนานไปกับผิวดินใต้น้ำ

ใบ  ใบแข็งตั้งตรง รูปร่างแบนเรียวยาวคล้ายใบดาบฝรั่ง ปลายใบแหลม แตกใบเรียงสลับซ้ายขวาเป็นแผง ใบค่อนข้างฉ่ำน้ำ

ใบว่านน้ำ
ใบว่านน้ำ ใบเรียวแหลม ปลายใบแหลม

ดอก  ดอกมีสีเขียวมีขนาดเล็กออกเป็นช่อ มีจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นแท่งรูปทรงกระบอก มีก้านช่อดอกลักษณะคล้ายใบ ทั้งใบ เหง้า และรากมีกลิ่นหอมฉุน ชอบขึ้นตามที่น้ำขัง หรือที่ชื้นแฉะ

ดอกว่านน้ำ
ดอกว่านน้ำ ดอกมีสีเขียวมีขนาดเล็กออกเป็นช่อ อัดกันแน่น

ผล  ผลมีขนาดเล็ก ผลเมื่อสุกจะเป็นสีแดง ภายในมีเมล็ดจำนวนน้อย ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรี

การขยายพันธุ์ของว่านน้ำ

การแตกหน่อ

ปลูกโดยการตัดต้นพันธุ์หรือเหง้าให้มีข้ออย่างน้อย 1 ข้อ ปักชำในกระบะทรายก่อน พอเริ่มงอกจึงย้ายไปปลูก หรือนำท่อนพันธุ์ไปปักประมาณ 1 สัปดาห์ จะเป็นใบอ่อนแตกออกมา

ปลูกได้ดีในที่ชื้นแฉะ มีน้ำท่วม ริมบ่อน้ำ

ธาตุอาหารหลักที่ว่านน้ำต้องการ

เป็นพืชที่ชอบแสงแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน เมื่อเข้าปลายฤดูฝนเหง้าจะเริ่มมีใบแห้ง เริ่มจากเหง้าข้อที่ 1 ไปเรื่อยๆ ถ้าขาดน้ำในช่วงนี้เป็นเวลานาน เหง้าอาจจะแห้งตายได้แต่ถ้ามีน้ำอยู่ เหง้าก็ยังคงสดอยู่และแตกรากและใบใหม่ต่อไป

ประโยชน์ของว่านน้ำ

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ
  • เหง้าว่านน้ำสามารถนำมาใช้ไล่ยุงและแมลง

สรรพคุณของว่านน้ำ

  • เหง้า แก้ปวดท้อง ขับลม แก้โรคผิวหนัง เป็นยาหอม
  • น้ำมันหอมระเหยจากต้น – แก้ชัก เป็นยาขมหอม ขับแก๊สในท้อง ทำให้เจริญอาหาร ช่วยการย่อย
  • ราก รับประทานมาก ทำให้อาเจียน แต่มีกลิ่นหอม รับประทานน้อย เป็นยาแก้ปวดท้อง ธาตุเสีย บำรุงธาตุ แก้จุก ขับลมในลำไส้ ปรุงลงในยาขมต่างๆ ทำให้ระงับอาการปวดท้องได้ดี

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้

  • บำรุงธาตุ – ใช้เหง้าสด 9-12 กรัม หรือแห้ง 3-6 กรัม ชงด้วยน้ำร้อน 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ก่อนอาหารเย็น ติดต่อกันจนกว่าธาตุจะปกติ
  • แก้ปวดท้องและจุกแน่น -ใช้รากว่านน้ำ หนัก 60 กรัม โขลกให้ละเอียด ชงลงในน้ำเดือด 420 ซีซี. รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง
  • เป็นยาดูดพิษ แก้อาการอักเสบของหลอดลมและปอด – ใช้รากฝนกับสุรา เจือน้ำเล็กน้อย ทาหน้าอกเด็ก
  • เป็นยาแก้ไอ – ใช้ชิ้นเล็กๆ ของรากว่านน้ำแห้ง อมเป็นยาแก้ไอ มีกลิ่นหอมระเหยทางลมหายใจ
  • เป็นยาถอนพิษของสลอด และแก้โรคลงท้องปวดท้องของเด็ก – ใช้รากว่านน้ำเผาจนเป็นถ่าน ทำผงรับประทานมื้อละ 0.5 ถึง 1.5 กรัม ใช้ใบว่านน้ำสดตำละเอียดผสมน้ำสุมศีรษะแก้ปวดศีรษะได้ ตำพอกแก้ปวดกล้ามและข้อ ตำรวมกับชุมเห็ดเทศ แก้โรคผิวหนัง
  • เป็นยาขมหอม เจริญอาหาร ขับแก๊ส ช่วยย่อยอาหาร – ในน้ำมันหอมระเหยมีวัตถุขมชื่อ acorin และมีแป้งและแทนนินอยู่ด้วย ทำเป็นยาชง (1 ใน 10) รับประทาน 15-30 ซีซี. หรือทิงเจอร์ (1 ใน 5) รับประทาน 2-4 ซีซี. ขนาดใช้ 1-4 กรัม

สารเคมี :  มีน้ำมันหอมระเหย (Calamus oil) 2-4% ในน้ำมันประกอบด้วย Sesquiterpene เช่น asarone, Betasalone (มี 70-80 %) และตัวอื่นๆ ยังมี glucoside รสขมชื่อ acorin

คุณค่าทางโภชนาการของว่านน้ำ

การแปรรูปว่านน้ำ

แต่งกลิ่นเครื่องสำอางประเภทสบู่ น้ำหอม ครีม ผงซักฟอก และโลชั่นต่างๆ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.th.wikipedia.org, www.rspg.or.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment