ว่านผักบุ้ง ไม้เถาเลื้อย ลำต้นและใบมีขนปกคลุม

ว่านผักบุ้ง

ชื่ออื่นๆ : ดอกผักบุ้ง, ดอกผักบุ้งฝรั่ง, ว่านผักบุ้ง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea nil (L.) Roth

ชื่อวงศ์ : Convolvulaceae

ลักษณะของว่านผักบุ้ง

ต้น ไม้เถาเลื้อย เถายาว 2-5 ม. มีขนตามแกน

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ หรือมี 3 แฉกตื้นๆ ยาว 4-14 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ แผ่นใบมีขนหยาบ ก้านใบยาว 2-15 ซม.

ดอก ช่อดอกออกตามซอกใบ ก้านช่อยาว 1-7 ซม. ใบประดับรูปแถบหรือรูปเส้นด้าย ยาว 0.5-0.8 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 0.2-0.7 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงติดทน รูปใบหอก ปลายแหลมยาว ขนาดเท่าๆ กัน ยาว 1-2.5 ซม. มีขนยาวด้านนอก กลีบดอกรูปลำโพง ยาว 5-7.5 ซม. สีม่วงอ่อนหรือเข้ม แล้วเปลี่ยนป็นสีชมพู หลอดกลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้ 5 อัน ยาวไม่เท่ากัน อยู่ภายในหลอดกลีบดอก อับเรณูไม่บิดงอ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียรูปเส้นด้าย อยู่ภายในหลอดกลีบดอก ยอดเกสรมี 3 พู

ผล ผลแบบแคปซูล เกลี้ยง กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8-1 ซม. เมล็ดรูปไข่สามเหลี่ยม ขนาดประมาณ 0.5 ซม. สีดำ มีขนละเอียดสีเทา

ต้นว่านผักบุ้ง
ต้นว่านผักบุ้ง เป็นไม้เถาเลื้อย
ใบว่านผักบุ้ง
ใบว่านผักบุ้ง ใบรูปไข่มี 3 แฉก ปลายแหลม
ดอกว่านผักบุ้ง
ดอกว่านผักบุ้ง ดอกรูปลำโพง สีม่วงเข้ม

การขยายพันธุ์ของว่านผักบุ้ง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ว่านผักบุ้งต้องการ

ประโยชน์ของว่านผักบุ้ง

ปลูกประดับบ้าน

สรรพคุณทางยาของว่านผักบุ้ง

  • ทั้งต้น เป็นยาถ่ายอย่างแรง ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้โรคบิด ทำให้ประจำเดือนมากปกติ ทำให้แท้ง
  • ใบ น้ำต้มทาผืนคันและบาดแผล
  • เมล็ด บรรเทาอาการที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากน้ำดี และอาการเงื่องหงอย

คุณค่าทางโภชนาการของว่านผักบุ้ง

การแปรรูปของว่านผักบุ้ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11890&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment