ว่านหอม ลำต้นอยู่ใต้ดิน ดอกสีขาวแต้มสีม่วง

ว่านหอม

ชื่ออื่นๆ : ว่านหอม (ภาคอีสาน) เปราะหอมแดง, หอมเปราะ (ภาคกลาง) ว่านตีนดิน, ว่านแผ่นดินเย็น, ว่านหอม (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Sand Ginger, Aromatic Ginger, Resurrection Lily

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia galanga L.

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะของว่านหอม

ต้น พืชล้มลุก อายุปีเดียว มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า เนื้อภายในสีเหลืองอ่อน มีสีเหลืองเข้มตามขอบนอก มีกลิ่มหอมเฉพาะตัว

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว แทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน 2-3 ใบ แผ่ราบไปตามพื้นดิน หรือวางตัวอยู่ในแนวราบเหนือพื้นดินเล็กน้อย ใบมีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ บางครั้งอาจพบขอบใบมีสีแดงคล้ำ เนื้อใบค่อนข้างหนา ตัวใบมีขนาดกว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ก้านใบเป็นกาบยาว 1-3 ซม. ใบอ่อนม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วแผ่ราบบนหน้าดิน ต้นหนึ่งๆ มักมี 1 – 2 ใบ ใบมีรูปร่างทรงกลมโตยาว ประมาณ 5 – 10 ซม. หน้าใบเขียว เปราะหอมแดงจะมีท้องใบสีแดง เปราะหอมขาวจะมีท้องใบสีขาว มีกลิ่นหอม หัวกลมเหมือนหัวกระชาย ใบงอกงามในหน้าฝน และจะแห้งไปในหน้าแล้ง

ดอก ดอกออกรวมกันเป็นช่อ ยาว 2-4 ซม.มี 4-12 ดอก ออกตรงกลางระหว่างใบ ดอกมีสีขาว หรือสีขาวอมชมพูแต้มสีม่วง แต่ละดอกมี กลีบประดับ 2 กลีบรองรับอยู่ ซึ่งใบและต้นจะเริ่มแห้งเมื่อมีดอก

ผล ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ พบมากทางเหนือ

ต้นว่านหอม
ต้นว่านหอม มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน ใบมีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ป้อม

การขยายพันธุ์ของว่านหอม

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

ธาตุอาหารหลักที่ว่านหอมต้องการ

ประโยชน์ของว่านหอม

เป็นว่านเมตตามหานิยม หากมีปลูกไว้ที่บ้านหรือร้านค้าจะดี ยิ่งว่านเจริญงอกงามดีจะยิ่งส่งผลให้เจ้าของมีโชคลาภและเจริญรุ่งเรือง หัวว่านใช้หุงน้ำมัน หรือตำผสมอาบน้ำว่าน หรือแช่น้ำมันจันทน์ จะเป็นมหาเสน่ห์ยิ่งนัก หรือใช้หัวว่านพกพาติดตัว เพราะเป็นยอดทางเสน่ห์เมตตามหานิยม จึงเป็นที่นิยมใช้ทั้งเรื่องการค้าขาย และการทำให้เป็นที่นิยมแก่ผู้คน

ดอกว่านหอม
ดอกว่านหอม ดอกมีสีขาว หรือสีขาวอมชมพูแต้มสีม่วง

สรรพคุณทางยาของว่านหอม

เปราะหอมขาวและแดง เป็นไม้ลงหัว จำพวกมหากาฬ ใบหนาแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ม้วนๆ คล้ายๆ หูม้า หน้าใบเขียว เปราะหอมขาว ท้องใบมีสีขาว เปราะหอมแดง ท้องใบมีสีแดง ใบยาวราว 3-4 นิ้วฟุต ใบมีกลิ่นหอม ลงหัวกลมๆ เป็นไม้เจริญในฤดูฝนพอย่างเข้าฤดูหนาว ต้นและใบก็โทรมไป เปราะหอมทั้งสองรสเผ็ดขม แก้เสมหะ เจริญไฟธาตุ แก้ลมทิ้ง

คุณค่าทางโภชนาการของว่านหอม

การแปรรูปของว่านหอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11669&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment