ว่านไก่แดง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใบตำพอกบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย

ว่านไก่แดง

ชื่ออื่นๆ : ไก่เขา, ไก่แดง, กาฝากก่อตาหมู, เอื้องหงอนไก่

ต้นกำเนิด : พบขึ้นในภาคเหนือที่สูงประมาณ 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aeschynanthus superbus C.B.Clarke

ชื่อวงศ์ : GESNERIACEAE

ลักษณะของว่านไก่แดง

ต้น ไม้พุ่มอิงอาศัยตามต้นไม้ใหญ่ พบขึ้นต้นเดี่ยวหรืออาจจะพบเป็นกอ ลำต้นสูงประมาณ 20-30 ซม. ลำต้นเปราะและหักง่าย

ใบ ใบรูปรีถึงรูปใบหอก หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 8–22 ซม. ก้านใบยาว 0.5–1.8 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1–4 ซม. มี 5–15

อก ใบประดับสีแดง ติดทน รูปรี ยาว 4–6 ซม. ก้านดอกยาว 0.8–1.3 ซม. กลีบเลี้ยงแยกจรดโคน รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 1.4–4 ซม. ดอกสีแดง หลอดกลีบดอกยาว 5.5–8.5 ซม. มีริ้วสีเข้ม ด้านในมีขนต่อม กลีบบนยาว 1.1–2 ซม. แฉกลึก 5–8 มม. กลีบล่างคู่ข้างยาว 1–2 ซม. กลีบกลางบานออก ยาว 1–1.6 ซม. พับงอกลับ เกสรเพศผู้คู่หน้ายาว 3.7–4 ซม. รังไข่มีขนต่อม ก้านเกสรเพศเมียยาว 0.6–1.8 ซม. ผลยาว 32–50 ซม. ขนยาว 4–8 มม.

ผล ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก เมื่อแก่แตกบิดเป็นเกลียว เมล็ดรูปรี มีขนพู่ที่ปลาย

ดอกว่านไก่แดง
ดอกว่านไก่แดง ดอกสีแดง เป็นหลอด

การขยายพันธุ์ของว่านไก่แดง

การเพาะเมล็ด, การปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ว่านไก่แดงต้องการ

ประโยชน์ขอว่านไก่แดง

ปลูกเป็นไม้ประดับ เชื่อว่าเป็นว่านทางเสน่ห์เมตตามหานิยม

สรรพคุณทางยาของว่านไก่แดง

ด้านสมุนไพร ใช้ใบตำพอกบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย

คุณค่าทางโภชนาการของว่านไก่แดง

การแปรรูปของว่านไก่แดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10462&SystemType=BEDO
https:// www.dnp.go.th

Add a Comment