สบู่ดำ ก้านใบจะมียางสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมไหลออกมา มีกลิ่นเหม็นเขียว

สบู่ดำ

ชื่ออื่นๆ : สบู่ดำ

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Physic nut, Black soap,

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jatropha curcas L.

ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae

ลักษณะของสบู่ดำ

ต้น เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง ความสูง 2-7 เมตร อายุยืนไม่น้อยกว่า 20 ปี ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่ง แต่ไม่มีขน ลำต้นเกลี้ยงเกลาใช้มือหักได้ง่ายเพราะเนื้อไม้ไม่มีแก่น

ใบ ใบหยักคล้ายใบละหุ่งแต่หยักตื้นกว่า มี 4 หยัก ส่วนยอดหรือส่วนก้านใบจะมียางสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมไหลออกมา มีกลิ่นเหม็นเขียว

ดอก ดอกเป็นช่อกระจุกที่ข้อส่วนปลายของยอดขนาดดอกเล็กสีเหลืองมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีดอกตัวผู้จำนวนมากและดอกตัวเมียจำนวนน้อยอยู่บนต้นเดียวกัน

ผล ผลหนึ่งส่วนมากมี 3 พู โดยแต่ละพูทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ดไว้

เมล็ด เมล็ดสีดำขนาดเล็กกว่าเมล็ดละหุ่งพันธุ์ลายขาวดำเล็กน้อย สีตรงปลายเมล็ดมีจุดสีขาวเล็กๆ ติดอยู่ เมื่อเก็บไว้นานจุดนี้จะหดตัวเหี่ยวแห้งลงขนาดของเมล็ดเฉลี่ย ความยาว 1.7-1.9 ซม. หนา 0.8-0.9 ซม. น้ำหนัก 100 เมล็ดประมาณ 69.8 กรัม เมื่อแกะเปลือกนอกสีดำออกจะเห็นเนื้อในสีขาว

สบู่ดำ
สบู่ดำ ใบค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีรอยหยัก 3-5 หยัก

การขยายพันธุ์ของสบู่ดำ

ใช้เมล็ด

การขยายพันธุ์สบู่ดำ

  1. เพาะเมล็ด เมล็ดสบู่ดำไม่มีระยะพักตัว สามารถเพาะในถุงเพาะหรือกระบะทรายก็ได้อายุประมาณ 2 เดือนจึงนำไปปลูก สำหรับต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด จะให้ผลผลิตได้ประมาณ 8 – 10 เดือนหลังปลูก
  2. การปักชำ ต้องคัดท่อนพันธุ์ที่มีสีเขียวปนน้ำตาลเล็กน้อย หรือกิ่งที่ไม่อ่อนและแก่เกินไป ความยาว 50 เซนติเมตร โดยปักลงในถุงเพาะหรือกระบะทรายก็ได้ ใช้เวลาปักชำประมาณ 2 เดือน จึงนำไปปลูก โดยจะให้ผลผลิตหลังปลูก ประมาณ 6 – 8 เดือน
  3. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้ทำการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้แล้ว ซึ่งได้ผลเหมือนกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชนิดอื่นทั่วไป

ธาตุอาหารหลักที่สบู่ดำต้องการ

ประโยชน์ของสบู่ดำ

  1. ยางจากก้านใบ ใช้ป้ายรักษาโรคปากนกกระจอก ห้ามเลือด แก้ปวดฟัน แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว โดยผสมกับน้ำนมมารดาป้ายลิ้น
  2. ลำต้น ตัดเป็นท่อนต้มน้ำให้เด็กกินแก้ซางตาลขโมย ตัดเป็นท่อนแช่น้ำอาบแก้โรคพุพอง ใช้เป็นแนวรั้วป้องกันสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ ม้า แพะ เข้าทำลายผลผลิต
  3. เมล็ด หีบเป็นน้ำมัน ใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล ใช้บำรุงรากผม ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้กากที่เหลือจากการหีบน้ำมัน ซึ่งมีธาตุอาหารหลัก มากกว่าปุ๋ยหมักและมูลสัตว์หลายชนิด ยกเว้นมูลไก่ที่มีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยม มากกว่า และยังมีสารพิษ Curcin มีฤทธิ์เหมือนสลอด เมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้ท้องเดิน

สรรพคุณทางยาของสบู่ดำ

น้ำมันที่ได้จากการสกัดสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่เกษตรกรใช้อยู่ได้เลยโดยไม่ต้องใช้น้ำมันชนิดอื่นผสมอีก ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษเฉพาะ ทำให้เกษตรกรมีความสะดวกที่จะใช้งาน

สบู่ดำเป็นพืชมีพิษ

การออกฤทธิ์ : ระคายเคืองต่อผิวหนัง

ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางใส

สารพิษ : ไม่ทราบสารพิษ

อาการ : คัน ปวดแสบปวดร้อน อักเสบบวม พองเป็นตุ่มน้ำใส ถ้าโดนตาทำให้ตาอักเสบ อาจทำให้ตาบอดชั่วคราวหรือถาวร

วิธีการรักษา :

  1. ล้างด้วยน้ำสบู่
  2. ทาด้วยครีมสเตียรอยด์
  3. รับประทานยาแก้แพ้ เช่น คลอเฟนนิรามีน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
  4. ถ้ายางเข้าตาล้างตาด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง หยอดตาด้วยยาหยอดตาที่มี สเตียรอยด์ แล้วนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว

คุณค่าทางโภชนาการของสบู่ดำ

การแปรรูปของสบู่ดำ

การสกัดน้ำมันสบู่ดำ

  1. การสกัดในห้องปฏิบัติการโดยใช้วิธีบดให้ละเอียด แล้วสกัดด้วยตัวทำละลาย ปิโตรเลี่ยมอีเทอร์ จะได้น้ำมัน 34.96 % จากเมล็ดรวมเปลือก และ 54.68 % จากเนื้อเมล็ด
  2. การสกัดด้วยระบบไฮดรอริค จะได้น้ำมันประมาณ 25-30 % มีน้ำมันตกค้างในกาก 10-15 %
  3. การสกัดด้วยระบบอัดเกลียว จะได้น้ำมันประมาณ 25-30 % มีน้ำมันตกค้างในกาก 10-15 %

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10307&SystemType=BEDO
https://medplant.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment