สมัดใหญ่ ไม้พุ่มเปลือกสีน้ำตาล ผิวเรียบ ผลผิวใสฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยวร้อน

สมัดใหญ่

ชื่ออื่นๆ : ขี้ผึ้ง แสนโศก (นครราชสีมา) ชะมัด (อุบลราธานี) เพี้ยฟาน หญ้าสาบฮิ้น หมี่ (เหนือ) มะหรุย (ใต้) ยม (ชุมพร) รุ้ย (กาญจนบุรี) สีสม หมอน้อย (กลาง ) สมัดใหญ่ หัสคุณโคก (เพชรบูรณ์) สามเสือ (ชลบุรี) สามโสก (จันทบุรี) สำรุย (ยะลา) หวดหม่อน (กลาง เหนือ) หัสคุณ อ้อยช้าง (สระบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : สมัดใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clausena excavata Burm. f.

ชื่อวงศ์ : Rutaceae

ลักษณะของสมัดใหญ่

ไม้พุ่ม แตกกิ่งก้านสาขามาก สูง 1.5-4 เมตร ต้นส่วนมากสูงไม่เกิน 1 เมตร

เปลือก สีน้ำตาล ผิวเรียบ กิ่งก้านมีขนสั้นๆ ที่บริเวณปลายกิ่ง

ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงแบบสลับ ใบย่อย 3-6 คู่ รูปรีหรือรูปหอก เห็นเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบไม่หนา สีเขียวอ่อน กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ มีซี่จักเล็กน้อย ใบมีขนนุ่มสีน้ำตาล ท้องใบมีขนบางๆ

ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งเป็นกระจุกแน่น เป็นช่อแบบแยกแขนง มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวปนเขียว เกสรเพศผู้มี 10 อัน

ผล กลมหรือรี หรือรูปกระสวย ขนาดเล็ก ผิวใสฉ่ำน้ำ ผลมีรสเปรี้ยวร้อน ผลอ่อนสีเขียวปนเหลือง ผลแก่สีส้มอมชมพู ออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน พบตามป่าดงดิบ ป่าละเมาะ

สมัดใหญ่
สมัดใหญ่ ไม้พุ่มเปลือกสีน้ำตาล ผิวเรียบ กิ่งก้านมีขนสั้น
ผลสมัดใหญ่
ผลสมัดใหญ่ กลมหรือรี หรือรูปกระสวย ขนาดเล็ก ผิวใสฉ่ำน้ำ

การขยายพันธุ์ของสมัดใหญ่

ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่สมัดใหญ่ต้องการ

ประโยชน์ของสมัดใหญ่

สรรพคุณทางยาของสมัดใหญ่

ราก ฝนกับน้ำดื่ม แก้โรคงูสวัด ทั้งต้น ต้มน้ำกลั้วปาก แก้ปวดฟัน

คุณค่าทางโภชนาการของสมัดใหญ่

การแปรรูปของสมัดใหญ่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9957&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/

Add a Comment