สร้อยอินทนิล ชื่อวิทยาศาสตร์ เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่

ต้นสร้อยอินทนิล

ชื่ออื่นๆ : คาย (ปัตตานี) ช่องหูปากกา (ภาคใต้) น้ำผึ้ง (ชลบุรี) ปากกา (ยะลา) ย่ำแย้ (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์)

ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดียตอนเหนือ และกระจายพันธุ์อยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Bengal clock vine, Key Vine, Sky Flower, Heavenly Blue, Blue Trumpet

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thunbergia grandiflora (Roxb. ex Rottler) Roxb.

ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะของสร้อยอินทนิล

ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยพันต้นไม้อื่นไปได้ไกลประมาณ 40-50 ฟุต เถาอ่อนมีสีเขียวเข้ม ส่วนเถาแก่จะเป็นสีน้ำตาล

ต้นสร้อยอินทนิล
ต้นสร้อยอินทนิล เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยพันต้นไม้อื่น

ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้น ลักษณะรูปทรงใบจะเป็นรูปไข่แกมรูปหัวใจ หรือใบคล้ายใบพลูเพียงแต่ปลายใบจะแหลมกว่าใบพลู โคนใบเว้าหยักเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนแข็ง ๆ หากจับดูจะรู้สึกระคายมือใบมีความกว้างประมาณ 8 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร

ใบสร้อยอินทนิล
ใบสร้อยอินทนิล ใบจะเป็นรูปไข่แกมรูปหัวใจ หรือใบคล้ายใบพลู

ดอก สร้อยอินทนิลมีดอกสีฟ้าอ่อนถึงสีฟ้าเข้ม ออกดอกเป็นช่อตามข้อต้นหรือตามซอกใบ ดอกช่อหนึ่ง ๆ ยาวประมาณ 3 ฟุต ลักษณะของดอกเป็นทรงกรวย ห้อยลง มี 5 กลีบ ขนาดของกลีบดอกไม่เท่ากัน โคนดอกเป็นหลอดปลายบานออก ภายในดอกมีเกสร 4 อัน ซึ่งมีความยาวไม่เท่ากัน คือจะสั้น 2 อัน และยาวอีก 2 อัน

ดอกสร้อยอินทนิล
ดอกสร้อยอินทนิล ดอกสีฟ้าอ่อนถึงสีฟ้าเข้ม

ผล เป็นรูปทรงกลม ปลายสอบแหลมเป็นจะงอยคล้ายปากนก ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนผลแก่จะเป็นสีน้ำตาลเกือบดำ เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีกจากปากจะงอย และโดยทั่วไปต้นสร้อยอินทนิลจะไม่ติดผลและเมล็ด

การขยายพันธุ์ของสร้อยอินทนิล

การปักชำ, ทับเถาและหน่อ

ปลูกได้ในดินทั่วไป ความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน

ธาตุอาหารหลักที่สร้อยอินทนิลต้องการ

ประโยชน์ของสร้อยอินทนิล

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามซุ้ม

สรรพคุณทางยาของสร้อยอินทนิล

  • รากและเถา แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
  •  เปลือกและราก นำมาตำพอกแก้อาการช้ำบวมและแผลอักเสบ
  • ใบ ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ รักษาแผลสด แผลถลอก และช่วยห้ามเลือด
  • ใบ นำมาคั้นเอาแต่น้ำมาทา พอก หรือเคี้ยวกินเป็นยาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน

คุณค่าทางโภชนาการของสร้อยอินทนิล

การแปรรูปของสร้อยอินทนิล

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rspg.or.th, www.th.wikipedia.org, www.botany.wu.ac.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment