สวาด ไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นและกิ่งก้านของเถาสวาดมีหนามแหลมอยู่

สวาด

ชื่ออื่นๆ : หวาด บ่าขี้แฮด (เชียงใหม่), หวาด ตามั้ด มะกาเลิง (ภาคใต้), สวาด (ภาคกลาง), มะกาเล็ง (เงี้ยว-เชียงใหม่), ดามั้ด (มลายู-สตูล)

ต้นกำเนิด : พบได้ตามป่าละเมาะชายทะเลทั่วไปทั้งภาคตะวันออก และภาคใต้

ชื่อสามัญ : Nuckernut, Grey nickers

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia bonduc

ชื่อวงศ์ : FABACEAE – LEGUMINOSAE

ลักษณะของสวาด

เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นและกิ่งก้านของเถาสวาดมีหนามแหลมอยู่ทั่วไป เลื้อยพันต้นไม้อื่นโดยใช้หนามช่วยประคอง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ขนาดใหญ่ ยาว 30-50 ซม. มีดอกสีเหลือง เป็นช่อยาว 15-25 ซม. ออกดอกตรงกิ่งเหนือซอกใบขึ้นไปเล็กน้อย มีช่อเดี่ยวหรืออาจแตกแขนงบ้าง ก้านช่อยาวและมีหนาม ผลเป็นฝักรูปรี หรือขอบขนานแกมรูปรี มีขนยาวแหลมแข็งคล้ายหนามตามเปลือก แต่ละฝักมี 2 เมล็ด เมล็ดกลมเปลือกแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. สีเทาแกมเขียว ซึ่งเป็นสีที่เรียกกันว่าสีสวาด

ต้นสวาด
ต้นสวาด ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม
ดอกสวาด
ดอกสวาด ดอกสีเหลือง เป็นช่อยาว

การขยายพันธุ์ของสวาด

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่สวาดต้องการ

ประโยชน์ของสวาด

สรรพคุณทางยาของสวาด

ใบ เป็นยาขับลม แก้จุกเสียด
ผล  ใช้แก้กระษัย ยอดบดกรองเอาแต่น้ำ แก้ไข้ ถ่ายพยาธิ
ราก  ดองกับเหล้าขาวใช้แก้พยาธิ
เมล็ด ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ปวดท้อง

ผลสวาด
ผลสวาด ผลรูปรี มีขนยาวแหลมแข็งคล้ายหนามตามเปลือก

คุณค่าทางโภชนาการของสวาด

การแปรรูปของสวาด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11077&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment