สะบ้า ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เมล็ดแก้โรคผิวหนัง

สะบ้า

ชื่ออื่นๆ : สะบ้ามอญ สะบ้าใหญ่ สะบ้าหลวง มะบ้าหลวง มะนิม หมากงิม บ้า ย่านบ้า สะบ้าหนัง สะบ้าแฝก กาบ้า

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : สะบ้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Entada rheedii Spreng.

ชื่อวงศ์ : MIMOSACEAE

ลักษณะของสะบ้า

ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก สองชั้น ใบย่อยรูปไข่กลับ กว้าง 1.3-3.5 ซม. ยาว 2.5-7 ซม. ปลายใบ แหลมถึงทู่เล็กน้อยและมักมีติ่งแหลม ดอก สีขาวแล้วเปลี่ยน เป็นสีเหลือง ออกเป็นช่อแกนยาว 13-25 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก จำนวนมาก กลีบรองดอกรูปถ้วยปากกว้าง กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีแคบ ถึงรูปหอก รังไข่เกลี้ยง ผล เป็นฝัก รูปขอบขนานตรง หรือโค้ง กว้าง 7-15 ซม. ยาวได้ถึง 2 เมตร เปลือกผลแข็งเป็นเนื้อไม้ แต่ละข้อมี 1 เมล็ด เมื่อแก่ข้อจะหักเป็นท่อนๆ เมล็ดสีน้ำตาล รูปกึ่งกลม แบน แข็ง ผิวมันเรียบ กว้าง 3.5-4 ซม.

ใบสะบ้า
ใบสะบ้า เป็นใบประกอบแบบขนนก สองชั้น ปลายใบแหลม
ผลสะบ้า
ผลสะบ้า เป็นฝัก รูปขอบขนานตรง หรือโค้งเปลือกผลแข็งเป็นเนื้อไม้

การขยายพันธุ์ของสะบ้า

ใช้เมล็ด/-

ธาตุอาหารหลักที่สะบ้าต้องการ

ประโยชน์ของสะบ้า

สรรพคุณทางยาของสะบ้า

เมล็ด : แก้โรคผิวหนัง แก้มะเร็ง คุดทะราด ฆ่าเชื้อโรคผิวหนัง เผาเป็นถ่าน รับประทานแก้พิษไข้ แก้ไข้เซื่องซึม แก้พิษร้อน

คุณค่าทางโภชนาการของสะบ้า

การแปรรูปของสะบ้า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11760&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment