สะเดา สมุนไพรพื้นบ้าน ใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

สะเดา

สะเดา เป็นพืชพื้นเมืองที่คนไทยรู้จักกันดี ดังนั้น เมื่อเอ่ยถึงสะเดา คนไทยส่วนมากจะหมายถึง สะเดาไทย (Azadirachta siamensis หรือ A. indica var. siamensis) แต่ชาวต่างประเทศจะเข้าใจเป็น สะเดาอินเดีย หรือควินิน (A. indica) สะเดาทั้งสองชนิดมีลักษษณะใกล้เคียงกันมาก หลายคนอาจแยกความแตกต่างไม่ได้ โดยเฉพาะบางต้นซึ่ง มีลักษณะคล้ายๆ เป็นลูกผสม อย่างไรก็ตาม สะเดาทั้ง สองชนิดก็มีลักษณะแตกต่างกันหลายประการ นอกจากนั้น ยังมีพืชอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งพบมากทางภาคใต้ที่เรียกว่าสะเดาเหมือน คือสะเดาช้างหรือต้นเทียม (A. excelsa)

สะเดาเป็นพืชโตเร็วชนิดหนึ่งที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่เป็นพืชเอนกประสงค์ซึ่งให้ ประโยชน์แก่มนุษย์หลายประการ ยากที่จะพบได้ในพืชชนิดอื่นๆ คนอินเดียเรียกต้นไม้นี้ว่า ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์หรือต้นไม้มหัศจรรย์ในประเทศไทยสามารถพบสะเดาทั้งสามชนิดเจริญเติบโตได้ดี ชนิดที่พบได้ทั่วไปได้แก่ สะเดาไทย สําหรับสะเดาอินเดียจะพบมากบริเวณชายทะเลและทางภาคเหนือ ส่วนสะเดาช้างเจริญเติบโตได้ดีทางภาคใต้ ชนิดที่พบได้ทั่วไปได้แก่สะเดาไทย สําหรับสะเดาอินเดียจะพบมากบริเวณชายทะเลและทางภาคเหนือ ส่วนสะเดาช้างเจริญเติบโตได้ดีทางภาคใต้ และในปัจจุบนั มีเอกชนบางรายปลูกเป็นป่าบริเวณภาคเหนือ และภาคอีสานที่มีความชุ่มชื้นสูง เพื่อใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้

สะเดาไทยที่พบในบ้านเรายังสามารถแบ่งได้กว้าง ๆ เป็น 2 ชนิด คือ สะเดายอดเขียว ซึ่งมี ความขมน้อยกว่าหรือบางต้นอาจจะน้อยจนได้ชื่อว่าสะเดาหวาน หรือสะเดามัน ส่วนสะเดายอดแดงจะมีความขมมากกว่า

สะเดา
สะเดา ดอกช่อสีขาว ขอบใบหยัก

ประโยชน์จากสะเดา

ชาวอินเดียรู้จักใช้ประโยชน์จากสะเดามาเป็นเวลานานหลายร้อยปี สะเดาเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ ชาวอินเดียนับถือเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ บางคนเรียกว่าเป็นพืชมหัศจรรย์ ทั้งนี้เพราะชาวอินเดียใช้ประโยชน์ในปลายรูปแบบคือ เป็นยารักษาโรค บํารุงสุขภาพ ทําสบู่ เครื่องสำอาง อาหารสัตว์ สารป้องกันกําจัดศัตรูพืช เป็นต้น

โดยสรุปมนุษย์สามารถใช้สะเดาทําผลิตภัณฑ์ได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไม้
    เนื้อไม่ของสะเดาจัดได้ว่ามีคุณสมบัติใกล้เคียงกับไม้สัก มีการนําเนื้อไม้สะเดาไปใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ใช้ในการปลูกบ้าน ทําเป็น เสาเข็ม ประตูวงกบ หรือใช้ทําเฟอร์นิเจอร์ ใช้ต่อเรือของเล่น อุปกรณ์ การเกษตร กล่องบุหรี่ และภาชนะใส่ของ เป็นต้น
  2. ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้เนื้อไม้
    ใบ เป็นที่ทราบกันดีว่าใบสะเดามีรสขมประกอบดวยสารหลายชนิดเช่น นิมบิน (nimbin) นิมบินีน(nimbinene) นิมแบนดิโอล (nimbandiol) นิมโบไลด์ (nimbolide) 6-เดส-อะซิตลิ นิมบินีน (6-desacetyl nimbinene) และเควซิติน (quercetin) ซึ่งใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคของชาวอินเดีย ตั้งแตยุคโบราณชาวอินเดียใช้น้ำต้มจากใบสะเดาอินเดียสําหรับอาบน้ำคนไข้ หลังจากที่เป็นโรคหัดและอีสุกอีใส ใช้เป็นสารฟอกเลือด (blood purifier) รักษาโรคหัวใจ วัณโรค ท้องร่วง โรคหิด เบาหวาน มาลาเรีย โรคผิวหนัง โรคเก๊าท์ และดีซ่าน นอกจากนั้นยังใช้ใบเป็นอาหารสัตว์ โดยผสมกับหญ้าเป็นอาหารของวัวและแพะ และยังนําใบสะเดาไปใส่ตามเสื้อผ้าหรือใส่ในเมล็ดพืช เพื่อป้องกันกําจัดแมลง สารสกัดจากใบสะเดาสามารถยับยั้ง การสร้างสารอะฟลาท๊อกซิน (aflatoxin)ในเมล็ดพืชได้แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อรา Aspergillus flavus และ A. parasiticus

กิ่ง เนื่องจากชาวอินเดียตามชนบทมีฐานะยากจนหลายคนใช้กิ่งอ่อนแทนแปรงและยาสีฟัน ซึ่งจะช่วยรักษาฟันให้แข็งแรงและป้องกันโรคเหลือกได้ด้วย

ผลและเมล็ด เนื้อสะเดามีรสหวาน เป็นอาหารของนก และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค นํ้ามันสะเดาที่สกัดได้จากเมล็ดในจะนําไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ ยาสีฟัน เป็นยารักษาเส้นผม เป็นยาคุมกําเนิด (โดยการฉีดน้ำมันสะเดาเข้าไปในอวัยวะเพศหญิงฆ่าเชื้ออสุจิ ) เป็นยารักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อนโรคปวดตามข้อ แผลปวดตามข้อ แผลเป็นหนองแก้พิษแมลงกัดต่อย และใช้เป็นสารฆ่าแมลงบางชนิด

ภายหลังจากการสกัดนํ้ามันจากเมล็ดสะเดาแล้ว กากที่เหลือสามารถนําไปสกัดด้วยแอลกฮอล์หรือนํ้า เพื่อสกัดสารอะซาไดแรคติน (azadirachtin)หรือ เขียนย่อว่า aza ใช้ทําเป็นสารฆ่าแมลง กากที่เหลือจากการสกัดครั้งนี้ เรียกว่า นีม เค้ก (neem cake) ยังสามารถใช้เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่นผสมกับกากน้ำตาลใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ยหรือผสมกับปุ๋ยยูเรียทําเป็นปุ๋ย ละลายช้า เป็นสารฆ่าแมลงสารฆ่าโรคพืช และไส้เดือนฝอยบางชนิด

วิธีการเก็บและรักษาหรือเมล็ดสะเดา

การเก็บและรักษาผลหรือเมล็ดสะเดาที่ถูกต้อง จะช่วยให้สารออกฤทธิ์ในสะเดามีปริมาณสูง มีผลให้สารสกัดสะเดาที่สามารถใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ผลดี การเก็บและรักษาผลกรือเมล็ดสะเดาที่ไม่ดีจะเกิดเชื้อราเข้าทําลายสารออกฤทธิ์ โดยเฉพาะสาร azadirachtin (aza)

วิธีการที่ถูกต้องเริ่มตั้งแต่การเก็บ ควรเก็บผลสะเดาที่ร่วงหล่นอยู่ใต้ต้นหรือ เก็บผลสุกสีเหลืองจากกิ่งก็ได้ อย่าปล่อยทิ้งผลสะเดาที่ร่วงบนดินนานเกินไป จากนั้นนำมาตากแดดประมาณ 2-3อาทิตย์ จนเปลือกสะเดาแห้งเป็นสีน้ำตาล จึงนํามาผึ่ง ในร่มประมาณ 2-4 อาทิตย์ เพื่อให้เมล็ดใน (Kernel) แห้งสนิท ขั้นตอนต่อไปคือเก็บบรรจุในถุงตาข่ายพลาสติกหรือกระสอบป่าน (kernel) แห้งสนิทขั้นตอนต่อไปคือเก็บบรรจุในถุงตาข่ายพลาสติก หรือกระสอบป่าน (ยกเว้นกระสอบปุ๋ย ) ซึ่งสามารถวางซ้อนกันได้ โดยมีแผ่นไม่วางข้างล่างเพื่อป้องกันความชื้นจากดิน

การเก็บรักษาในลักษณะเป็นผลแห้งนี้จะนำไปใช้ได้เฉพาะการผลิตใช้เอง ไม่เหมาะที่จะนําไป ผลิตเป็นอุตสาหกรรม เพราะปริมาณ aza จะมีปริมาณตํ่าเกินไป ที่จะให้ผลดีในการป้องกันและกําจัดแมลง

ในกรณีที่ต้องการนําสะเดาไปผลิตเป็นการค้า จะต้องเก็บรักษาในลักษณะที่เป็นเมล็ด ซึ่งสรุปเป็นขั้นตอนดังนี้

  1. แยกเนื้อออกจากผลสุก โดยการนําไปถูกับทรายเปียกหรือใชัเครื่องแยกเมล็ดจากผลสุก จะได้เมล็ดสะเดาที่มีเปลือกขาว
  2. นําเมล็ดสะเดาไปตากแดดประมาณ 2-3 วัน จึงนํามาผึ่งในร่มประมาณ 2-4 อาทิตย์ หรือ นําไปเข้าเครื่องอบแห้งอุณหภูมิระหว่าง 70-80 องศาเซลเซียส ประมาณ 6 ช.ม. เพื่อให้ได้เมล็ดสะเดาที่มีความชื้นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นนําไปบรรจุในถุงตาข่ายพลาสติกหรือกระสอบป่าน และเก็บรักษาในห้องเย็นที่มีอุณหภูมิระหว่าง 15-25 องศาเซลเซียส
ผลสะเดา
ผลสะเดา ผลสีเขียว กลมรี อวบน้ำ

สารเคมีในสะเดา

สารเคมีในส่วนต่างๆ ของสะเดา เช่น ใบ ผล เมล็ด และเปลือก จะมีสารบางตัวเหมือนกัน และแตกต่างกันไป ซึ่งจะมีผลต่อการป้องกันและกำจัดแมลง จากผลการวิจัยพบว่าสารที่ออกฤทธิ์สูงสุดในการป้องกันและกําจัดแมลงคือ สารอะซาไดแรคติน (aza) ซึ่งจะพบเป็นปริมาณมากที่ส่วนของเมล็ดใน (seed kernel) สาร aza เองก็มีหลายอนุพันธุ์ (isomer) อนุพันธุ์ที่มีปริมาณมากที่สุด ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ คือ อะซาไดแรคติน เอ (azadirachitn A) ดังนั้น สารสกัดสะเดาจะมีผลในการป้องกันและกําจัด แมลงได้ดีหรือไม่จะขึ้นอยู่กับสาร aza เป็นสําคัญนอกนั้นยังมีสารอื่นอีกหลายชนิดที่ใช้ผลรองลงมา ได้แก่ เมเลียนทรีโอล (meliantriol) สาลานนิน (salannin) นิมบิน (nimbin) นิมโบไลด์ (nimbolide) และ เกดูนนิ (gedunin) เป็นต้นโดยทั่วไปเมื่อสารเคมี (สารออกฤทธิ์) ในนํ้ายาฆ่าแมลงสลายตัวไปแล้ว ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงก็จะลดลงตามไปด้วยจนถึงขั้นใช้ป้องกันกำจัดแมลงไม่ได้ผล ในการเตรียมนํ้ายาสะเดาโดยวิธีทําใช้เองหรือทําเป็นการค้าจะมีสาร aza อยู่ในนํ้ายาซึ่งสารนี้จะค่อยๆ สลายตัวเป็นสารอื่นแต่ถึงแม้ว่า ปริมาณของสาร aza จะลดลงไปก็ตาม แต่จากการทดลองพบว่าภายใน 1 ปี ประสิทธิภาพของสารสกัดสะเดายังมีฤทธิ์ในการป้องกันกําจัดแมลงใกล้เคียงกับจุดเริ่มต้น แต่ข้อสำคัญ คือ ในการผลิตน้ำยาสะเดานั้น ตอนเริ่มต้นจะต้องให้มีสาร aza อยู่มากพอสมควร กล่าวคือ ไม่ควรต่ำกว่า 0.2เปอร์เซ็นต์

สารสกัดสะเดา

เป็นที่ทราบแล้วว่า สารออกฤทธิ์สูงสุดในการป้องกันและกําจัดแมลงคือสาร aza ซึ่งจะสะสมอยู่ที่เมล็ดใน ดังนั้นการเตรียมสารสกัดให้มีประสิทธิภาพสูงจึงจํ าเป็นต้องใช้ส่วนของเมล็ดใน อย่างไรก็ตาม ส่วนอื่นของผลและเปลือกเมล็ดก็ยังมีสารอื่นที่ออกฤทธิ์เฉพาะกับแมลงบางชนิดและยังเป็นสารที่ช่วยเสริมประสิทธิ์ภาพของสารสกัด aza ให้มีฤทธิ์สูงขึน้ ในต่างประเทศจะเน้นในการสกัดจากเมล็ดในเท่านั้น แต่ในบ้านเราใช้ทั้งเมล็ดหรือผลแห้งในการผลิตน้ำยาสะเดา ซึ่งสามารถใช้ป้องกันและกําจัดแมลงได้ดีเช่นกัน หรืออาจได้ผลดีกว่า

วิธีการสกัดสารจากสะเดา

การสกัดสาร aza จากเมล็ดหรือผลสะเดาทําให้หลายวิธีด้วยกันสิ่งที่สําคัญคือ ส่วนของสะเดาที่ใช้ต้องบดให้ละเอียด สําหรับตัวสกัดที่เหมาะสมในการผลิตเป้นการค้าคือ แอลกอฮอล์ อาจเป็นเอทธิลอัลกอฮอล์หรือเมทธิลอัลกอฮอล์ก็ได้แต่เมทธิลแอลกอฮอล์ราคาถูกกว่ามาก ถ้าใช้ เมทธิลแอลกอฮอล์ ต้องระวังอย่าให้เข้าปากหรือเข้าตาในกระบวนการสกัดสาร ถ้าต้องการผลิตใช้เอง ตัวสกัดที่เหมาะสม คือ นํ้า ซึ่งเกษตรกรเป็นจํานวนไม่น้อย ใช้น้ำในการสารจากจากผลสะเดาที่ได้จากผลแห้ง

สารสกัดเป็นการค้า

นำผงสะเดาจำนวน 50-100 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับขนาดของถังสกัด ) ใส่ถังสกัดเติม เมทิลแอลกอฮอล์ลงไปให้ท่วมเดินเครื่องกวนประมาณ 4 ชั่วโมง จึงเปิดก๊อกเอานํ้ายาออก หลังจากนั้นแล้วปิดก๊อกและเติมแอลกอฮอล์ลงไปใหม่ ให้ท่วมผลสะเดา เดินเครื่องกวนประมาณ 1-2 ชั่วโมง ปล่อยทิ้งค้างคืน รุ่งเช้าเดินเครื่องอีกประมาณ 1 ชั่วโมง เปิดก๊อกเอานํ้ายานํ้ายาสะเดาที่ได้ทั้งสองครั้งใส่ในถังกลมสูญญากาศ เพื่อทำน้ำยาสะเดาให้เข้มข้น และระเหยแอลกอฮอล์กลับมาใช้ใหม่ นํ้ายาสะเดาเข้มข้นที่ได้ต้องแยกชั้นนํ้ามันออกเสียก่อน จากนั้นนํานํ้ายาสะเดาไปตรวจหาเปอร์เซ็นต์ aza ด้วยเครื่อง HPLC ปรับความเข้มข้นของสาร aza และความเป็นกรด ด่างของนํ้ายาให้ได้ตามที่ต้องการ เติมนํ้ายาจับใบสารยับยั้ง การสลายตัว (stabilizer) และบรรจุขวดต่อไปวิธีการอีกแบบหนึ่ง ใช้ระบบของซอกส์เลท (soxhlet) โดยการทําให้เอทิลแอลกอฮอล์ร้อนระเหยเป็นไอ จากนั้นให้ไอร้อนกระทบกับความเย็นกลั่นเป็นแอลกอฮอล์ซึ่งจะมาละลายตัวยา aza จากผลสะเดา นํ้ายาที่ได้จะตกมาที่เดิม เมื่อถูกความร้อนจะระเหยเป็นไอและหมุนเวียนไปเรื่อยๆ จนกว่าแอลกอฮอล์จะสกัดตัวยาหมด โดยปกติใช้เวลา 4-6 ชั่วโมง แล้วแต่ขนาดของเครื่องมือ

การสกัดใช้เอง

นําผงสะเดาที่ได้จากการบดผลสะเดาแห้ง จํานวน 10 กิโลกรัม ใส่ในภาชนะบรรจุ เติมนํ้าให้ท่วมประมาณ 200 ลิตร (ผงสะเดา 1 กิโลกรัมต่อนํ้า 20 ลิตร) แช่ไว้นานประมาณ 24 ชั่วโมง ในระหว่างการแช่นํ้าอาจใช้ไม้ยาวกวนให้ผลสะเดารวมกับน้ำเป็นครั้งคราว เมื่อครบกําหนดเวลาจึงกรองนํ้ายาผ้านตาข่ายพลาสติกสีเขียว ในกรณีที่ใช้เครื่องพ่นสูบโยกที่ใช้แรงคน

เกษตรกรบางรายที่ต้องการประหยัดผงสะเดา อาจทำการแช่ครั้งแรกประมาณ 3 ชั่วโมง จึงกรองนํ้ายาออก จากนั้น เติมนํ้าลงไปในกากสะเดาใหม่ แต่ใช้น้ำน้อยลง อาจเป็น 100-150 ลิตรทําการแช่ไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง จึงกรองนํ้ายาไปใช้

นอกจากนั้น เกษตรกรอาจใช้แอลกอฮอล์ร่วมสกัดโดยการนําผงสะเดาที่รู้น้ำหนักแล้ว บรรจุใน ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท เติมเมทิลแอลกอฮอล์ให้ท่วมผงสะเดา จะแช่ไว้นานเท่าใดก็ได้ แต่อย่างน้อยควรนานกว่า 1 วัน จากนั้นนําผลสะเดาที่แช่ในแอลกอฮอล์ไปแช่ในน้ำ โดยคิดอัตราส่วน ผงสะเดา 1 กิโลกรัม (ไม่รวมนํ้าหนักของแอลกอฮอล์) ต่อนํ้า 20 ลิตร ทําการแช่ในนํ้าเป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง จึงกรองเหมือนวิธีเดิม

หลักการใช้สารสกัดสะเดา

เนื่องจากสารสกัดสะเดาเป็นสารธรรมชาติซึ่งย่อมมีจุดอ่อนบางประการ เช่น สารออกฤทธิไม่คงทน สลายตัวได้ง่ายเมื่อเก็บทิ้งไว้แล้ว สลายตัวเร็วเมื่อถูกกับแสงอาทิตย์ ทําให้ต้องฉีดสารสกัดสะเดาบ่อยครั้งมากกว่าสารฆ่าแมลงสังเคราะห์ นอกจากนั้นสารสกัดสะเดาไม่ใช้ยาครอบจักรวาลที่จะใช้ป้องกันกําจัดแมลงได้ทุกชนิด สารสกัดให้ผลดีกับแมลงบางชนิดเท่านั้น

ดังนั้น ถ้าท่านได้เรียนรู้และใช้อย่างถูกต้องแล้ว ท่านจะมีความรู้สึกว่าสารสกัดสะเดาสามารถใช้ป้องกันกําจัดแมลงได้ผลจริงๆ และการป้องกันกําจัดแมลงจะง่ายกว่าที่ท่านเคยประสบมา

  1. ระยะเวลาในการใช้
    เนื่องจากสารสกัดสะเดาไม่ออกฤทธิ์ ในการทำให้แมลงตายทันที ควรเริ่มพ่นก่อนที่แมลง จะระบาด คือพ่นเพื่อป้องกันการทําลายของแมลงก่อน และทําการฉีดติดต่อกันเป็นเวลา 3-4 ครั้ง โดยเว้นระยะห่าง 5-7 วัน จากนั้น สามารถเว้นระยะเวลาพ่นห่างไปได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณแมลง ในแปลงไม้ผลที่ใช้สารสกัดเป็นเวลานาน เกิดสมดุลธรรมชาติแล้ว อาจเว้นการพ่นเป็น 1 เดือนหรือมากกว่านั้นได้
  2. ชนิดของแมลงศัตรูพืช
    จากประสบการณ์ในการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดสะเดาในสภาพธรรมชาติ ปรากฏว่าสารสกัดสะเดาให้ผลดีในการป้องกันกําจัดแมลงแต่ละชนิดแตกต่างกันไป เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติจึงแบ่งแมลงเป็น 3 กลุ่ม คือ
    2.1 ใช้สารสกัดสะเดาได้ผลดี แมลงหลายชนิดที่อ่อนแอต่อสารสกัดสะเดา เช่น หนอนกระทู้ ชนิดต่าง ๆ หนอนหนังเหนียว หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนบุ้ง หนอนแก้ว หนอนหัว กะโหลก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ เป็นต้น ดังนั้น ในการป้องกันกำจัดแมลง ดังกล่าวสามารถใช้สารสกัดสะเดาเพียงอย่างเดียว โดยไม่จําเป้นต้องใช้สารฆ่าแมลงสังเคราะห์พ่นสลับในช่วงที่แมลงระบาด ทั้งนี้ยกเว้นในพื้นที่ที่หนอนใยผักสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงสังเคราะห์
    2.2 ให้สารสกัดสะเดาได้ผลปานกลาง สารสกัดสะเดาให้ผลปานกลางในการป้องกันกําจัด แมลงหลายชนิด เช่น หนอนเจาะผลมะเขือ หนอนเจาะยอดคะน้า แมลงวันทอง เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไก่แจ้เพลี้ยไฟ และไรแดง เป็นต้น ในกรณีที่แมลงเหล่านี้ระบาดมาก การใช้สารสกัดสะเดาจะได้ผล จําเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลงสังเคราะห์ในระยะที่แมลงระบาดสัก 1-2 ครัง้ จากนั้น จึงใช้สารสกัดสะเดาต่อไป
    2.3 ใช้สารสกัดสะเดาไม่ได้ผลหรือได้ผลค่อนข้างตํ่า แมลงต่อไปนี้อยู่ในกลุ่มที่ใช้ สารสกัด สะเดาไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อย คือ ด้วงปีกแข็ง กัดกินใบพืช หมัดกระโดด มวนแดง มวนเขียว เป็นต้น ดังนั้นการใช้สารสกัดสะเดาจึงไม่แนะนํากับแมลงดังกล่าว
  3. การสร้างความต้านทานของแมลง
    แม้ว่าจะยังไม่มีรายงานว่าแมลงสร้างความต้านทานสารสกัดสะเดาก็ตาม แต่ถ้า มีการใช้มากๆ และติดต่อกันเป็นเวลานาน คงหลีกเลี่ยงแมลงดื้อยาไม่ได้เพื่อ ให้สารสกัดสะเดาใช้ได้นานๆ จึงจําเป็นต้องมีการใช้สารฆ่าแมลงสังเคราะห์ชนิดที่มีการสลายตัวไวและมีอันตรายน้อย ต่อตัวห้ำตัวเบียน หรืออาจใช้การป้องกันกําจัดวิธีอื่นที่ไม่ใช้สารเคมี เช่น ปลูกพืชต้านทาน ปลูกพืชหมุนเวียน ป้องกันกําจัดแมลงโดยวิธีเกษตรกรรมหรือวิธีกลและอื่นๆ
  4. คุณภาพของสะเดา
    ในกรณีที่เกษตรกรผลิตนํ้ายาสะเดาจากผลแห้งใช้เอง ไม่จําเป็นต้องคํานึงถึงปริมาณสาร aza มากนัก แต่ควรเก็บรักษาผลแห้งให้ดี อย่าให้มีเชื้อราลงทําลาย และควรใช้ปีต่อปี สําหรับนํ้ายาสะเดาเข้มข้นที่มีบริษัทผลิตจําหน่าย โดยการกำหนดปริมาณสาร aza ไม่ต่ำกว่า 0.1% นั้น จะมีความสําคัญมากจากการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่วางขายในท้องตลาดมา วิเคราะห์หาปริมาณสาร aza ปรากฏว่า ส่วนใหญ่จะพบสาร aza ค่อนข้างตํ่ามาก ดังนั้นจึงไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่าเกษตรกรเป็นจํานวนไม่น้อยที่พูดว่าใช้สะเดาแล้วไม่ได้ผล
ใบสะเดา
ใบสะเดา ใบเป็นช่อแบบขนนก

ผลของสารสกัดสะเดาที่มีต่อแมลง

สารสกัดจากสะเดาจะมีผลต่อการป้องกันกําจัดแมลงแตกต่างกันไปสาร aza จะออกฤทธิ์ในการป้องกันกําจัดมากที่สุด ซึ่งมีผลต่อแมลงในทุกระยะของชีวิต แมลง โดยเฉพาะระยะตัวหนอนหรือตัวอ่อนจะอ่อนแอต่อสาร aza ทําให้ตัวหนอนหรือตัวอ่อนตายได้ สาร aza มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับฮอร์โมนลอกคราบของแมลง (molting hormone หรือ ecdysone hormone) มีผลในการยับยั้งการสร้างและการทํางานของ molting houmone ทําให้หนอนไม่สามารถลอกคราบได้ และหนอนจะตายในที่สุด

ผลของสารสกัดสะเดา (aza) ที่มีต่อแมลงสรุปได้ ดังนี้

  1. ยับยั้งการเจริญเติบโตของ ไข่หนอน และดักแด้
  2. ทําให้หนอนหรือตัวอ่อนไม่ลอกคราบ
  3. เป็นสารไล่ตัวหนอนและตัวเต็มวัย
  4. ยับยั้งการกินอาหาร
  5. ยับยั้งการวางไข่ของตัวเต็มวัย
  6. ทําให้การผลิตไข่ลดน้อยลง
  7. ระงับการสร้างสารไคติน
  8. รบกวนผสมพันธุ์ และการสื่อสาร เพื่อการผสมพันธุ์ของแมลง
  9. ทําให้หนอนไม่กลืนอาหาร (ลดการเคลื่อนตัวของกะเพาะอาหาร)

ข้อดี ข้อเสีย ของการใช้สารสกัดจากสะเดา

ข้อดีของการใช้สารสกัดจากสะเดา

  1. อันตรายต่อผู้ใช้และสัตว์เลี้ยงต่ำ เกษตรกรไม่จําเป็นต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจาก การฉีดสารสกัดสะเดาเหมือนกับการใช้สารฆ่าแมลงสังเคราะห์ ละอองของสารสกัดสะเดาจะไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง ในประเทศออสเตรเลีย ให้สารสกัดสะเดาป้องกันกําจัดแมลงวันหัวเขียวที่ทําลายแกะได้ผลดี
  2. แมลงและสัตว์ที่มีประโยชน์ไม่ถูกทําลาย ศัตรูธรรมชาติที่เป็นตัวหํ้าและตัวเบียน ทั้งแมลงแบะสัตว์อื่นได้รับอันตรายน้อยมากจากการใช้สารสกัดสะเดา ในขณะที่ดอกบานก็สามารถใช้สารสกัดสะเดาฉีดได้โดยจะไปป้องกันกําจัดแมลงที่มาทําลายดอกอีก ทั้งมีอันตรายต่อผึ้ง และแมลงผสมเกสรน้อยมาก ละอองของสารสกัดสะเดาที่ปลิวไปแหล่งนํ้าจะไม่ทําอันตรายต่อปลาและสัตว์น้ำ ส่วนละอองที่ลงดินก็ไม่มีอันตรายต่อไส้เดือนในดิน
  3. การสลายตัวของสารสกัดสะเดาค่อนข้างเร็วในสภาพธรรมชาติ ปัญหาการตกค้างของ สารสกัดสะเดาในพืชที่จะนําไปบริโภค จะมีน้อยมากหรือไม่มีเลย
  4. การสร้างความต้านทานของหนอนที่มีต่อสารสกัดสะเดาค่อนข้างต่ำ ในการทดลองหา ความต้านทานของหนอนใยผักภายหลังการใช้สารฆ่าแมลงสังเคราะห์ (กลุ่มไพรีทรอยด์) เปรียบเทียบกับสารสกัดสะเดาเป็นระยะปีกว่า ปรากฏว่า หนอนใยผัก แสดงการดื้อยาต่อสารไพรีทรอยด์แล้วแต่ยังไม่พบว่ามีการดื้อต่อสารสกัดสะเดา
  5. การออกฤทธิ์ในการป้องกันกําจัดแมลงมีหลายลักษณะ สารสกัดสะเดาออกฤทธิ์ในการป้องกันกําจัดแมลงในหลายลักษณะ เช่น ยับยั้งการเจริญเติบโต ยับยั้งการวางไข่ ยับยั้งการกิน เป็นสารไล่ลดปริมาณการผลิตไข่ทําให้ไข่ฟักน้อยลง เป็นต้น
  6. สารสกัดสะเดาออกฤทธิ์ในการป้องกันกําจัดแมลงไม่เฉพาะเวลาที่ใช้เท่านั้น เป็นที่ทราบ กันดีว่า หนอนหรดือตัวอ่อนที่ได้รับสารสกัดสะเดาเข้าสู่ร่างกายแล้วนั้น อาจจะยังไม่ตายเนื่อจากได้รับความเข้มข้นไม่สูงพอแต่เมื่อ หนอนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย การสร้างไข่ในตัวเมียจะลดน้อยลงและยังมีผลทําให้การฟักของไข่ลดนัอยลงดัวย
  7. ยืดระยะเวลาการฉีดสารสกัดสะเดาในการปัองกันกําจัดแมลง จากประสบการณ์ของ เกษตรกรที่ใช้สารสกัดสะเดาในสวนส้มเป็นเวลา 1 ปีแล้ว ปริมาณแมลงศัตรูส้มจะมีน้อยมาก ระยะเวลาที่พ่นสารสกัดสะเดาจะค่อย ๆ ห่างไป บางครั้ง 2 เดือนพ่นเพียงครั้งเดียว ซึ่งตรงกันข้ามกับการใช้สารฆ่าแมลงสังเคราะห์ ใช้ไปนาน ๆ แมลงจะเพิ่มขึ้น จําเป็นต้องพ่นถี่ขึ้น

ข้อเสียของการใช้สารสกัดสะเดา

  1. สารสกัดสะเดาไม่สามารถป้องกันกําจัดแมลงได้ทุกชนิด สารสกัดสะเดาออกฤทธิ์ใน การป้องกันกำจัดแมลงแต่ละชนิดไม่เหมือนกันไม่ใช่ยาครอบจักรวาลเหมือนสารฆ่าแมลงสังเคราะห์และสารสกัดสะเดาออกฤทธิ์น้อยมากกับแมลงในระยะตัวเต็มวัย
  2. สารสกัดสะเดาสลายตัวค่อนข้างเร็ว ในการใช้สารสกัดสะเดาในระยะแรกควรพ่นทุก ๆ 5-7 วัน เพราะสารสกัดสะเดาสลายตัวไว และถ้าระวังไม่ให้สารสกัดสะเดาถูกกับแสงแดดจะสามารถป้องกันกําจัดแมลงได้นานถึง 3 อาทิตย์

ข้อแนะนำในการใช้สะเดาป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชบางชนิด

  1. พืชตระกูลกะหลํ่า (เช่น คะน้า กะหลํ่าปลี ผักกาดขาว เป็นต้น) ศัตรูสําคัญของพืชตระกูลกะหลํ่า ที่สามารถใช้สะเดาป้องกันและกําจัดได้ผลดีได้แก่ หนอนใยผัก(ยกเว้นแหล่งที่แมลงดื้อยา) หนอนกระทู้ผัก หนอนหลอดหอม (หนอนหนังเหนียว) เพลี้ย อ่อน สําหรับชนิดที่ได้ผลดีปานกลาง ได้แก่ หนอนเจาะยอด หนอนเจาะกิ่ง คะน้า และชนิดที่ไม่แนะนําให้ใช้สะเดา ได้แก่ หมัดกระโดย (กะเจ้า) อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ผงสะเดาที่หว่านในดิน มีผลในการป้องกันและกําจัดตัวอ่อนของหมัดกระโดดที่อาศัยอยู่ในดิน
  2. พืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว ส้ม ส้มโอ มะกรูด เป็นต้น) สะเดาสามารถใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชตระกูลส้มส่วนใหญ่ได้ผลดี อาจกล่าวอย่างกว้าง ๆ ได้ว่า แมลงเกือบทุกชนิดที่เป็นศัตรูส้ม ยกเว้นไรสนิม สามารถใช้สะเดาป้องกันและกําจัดได้ผลดีชนิดของแมลงที่ใช้สะเดาได้ผลดีมาก ได้แก่ หนอนแก้ว หนอนชอบใบ หนอนม้วนใบ และเพลี้ยไก่แจ้ส่วนที่ให้ผลดีปานกลาง ได้แก่ เพลี้ยไฟ และไรแดง
  3. มะม่วง ศัตรูสําคัญของมะม่วงที่ใช้สะเดาป้องกันและกําจัดได้ผลดี ได้แก่ เพลี้ยจั๊กจั่น ส่วนเพลี้ยไฟนั้น ใช้สะเดาได้ผลปานกลางซึ่งในระยะแรกอาจมีความจำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลงสังเคราะห์พ่นสลับหรือผสมรวมกับสะเดานอกจากนั้น มีเกษตรกรบางรายได้ใช้สะเดาป้องกันและกำจัดปลวกที่ทําลายกิ่งและต้นได้ผลดีศัตรูชนิดอื่น ซึ่งเป็นหนอนผีเสื้อหลายชนิดทําลายกัดกินใบ แต่ไมค่อยทําความเสียหายมากนักสามารถใช้สะเดาป้องกันและกําจัดได้ผลดี
  4. ถั่วฝักยาว ศัตรูสําคัญของถั่วฝักยาวที่ใช้สะเดาป้องกันและกำจัดได้ผลดีปานกลาง ได้แก่ หนอนชอนใบเพลี้ยอ่อน และหนอนเจาะฝัก การพ่นสะเดาระยะออกดอก จะช่วยทําให้ถั่วฝักยาวติดผลมากขึ้นเนื่องจากผึ้งและแมลงผสมเกสรไม่ถูกทําลาย
  5. มะเขือยาว ศัตรูสําคัญของมะเขือยาว ได้แก่ เพลี้ยจั๊กจั่น และหนอนเจาะผล ซึ่งใช้สะเดาไดเผลไม่ค่อยดีกัน จําเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลงสังเคราะห์ผสมหรือพ่นสลับ ถ้าปริมาณแมลงที่ไม่มากนักก็สามารถใช้สะเดาป้องกันและกําจัดได้ผลดี
  6. หอมแดง กระเจี๊ยบเขียว และหน่อไม้ฝรั่ง ศัตรูสําคัญของพืชทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ หนอนหลอดหอม (หนอนหนังเหนียว) ซึ่งสามารถใช้สะเดา ป้องกันและกำจัดได้ผลดีมาก ในกรณีที่เกิดการระบาดของเพลี้ย อาจจำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลงสังเคราะห์ผสมหรือพ่นสลับ
  7. ข้าว แมลงศัตรูสําคัญของข้าวมีหลายชนิด ชนิดที่สามารถใช้สะเดาป้องกันและกําจัดได้ ได้ผลค่อนข้างดี ได้แก่ หนอนม้วนใบ หนอนกอข้าว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และเพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาล 
  8. กุหลาบ แมลงศัตรูสําคัญของกุหลาบที่สามารถใช้สะเดาป้องกันและกําจัดได้ผลค่อนข้างดี ซึ่งจําเป็นต้องใช้เวลาในการพ่นสักระยะหนึ่ง ได้แก่ เพลี้ยไฟ ไรแดง และหนอนเจาะดอก ในบางครั้ง จําเป็นต้องผสมสารฆ่าแมลงสังเคราะห์หรือพ่นสลับ
  9. เบญจมาศ เยอบีร่า และดาวเรือง แมลงศัตรูสําคัญของดอกไม้ทั้ง 3 ชนิดดังกล่าว สามารถใช้สะเดาได้ผลค่อนข้างดี ซึ่งจําเป็นต้องใช้เวลาในการพ่นสักระยะหนึ่ง ได้แก่ เพลี้ยไฟ และหนอนเจาะดอก
  10. พืชชนิดอื่น ๆ มีพืชอีกหลายชนิดที่สามารถใช้สะเดาป้องกันและกําจัดได้ผลดี ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของแมลงที่เข้าทําลาย และเนื่องจากยังขาดข้อมูลในการใช้กับพืชอีกหลายชนิด จึงยังไม่สามารถแนะนําได้

อย่างไรก็ตาม ถ้าเกษตรกรมีความเข้าใจในการใช้สะเดาป้องกันและกําจัดแมลงได้ดีพอควรแล้ว ก็สามารถปรับใช้กับพืชชนิดต่าง ๆ ได้ทุกชนิด

การทำสารสกัดจากสะเดา
การทำสารสกัดจากสะเดา

โดยสรุปสะเดาสามารถใช้ป้องและกําจัดแมลงได้ผลดี หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยบางชนิด เช่น

  1. ความเชื่อมั่น เกษตรกรต้องมีความเชื่อมั่นว่าสะเดา สามารถใช้ป้องกันและกําจัดได้ผลดีเพราะในบางครั้งอาจไม่ประสพผลสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ จําเป็นต้องหาทางปรับปรุงและแก้ไขด้วยตนเองหรือปรึกษาจากเอกสารหรือผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
  2. คุณภาพของสะเดา ถ้าเป็นนํ้ายาสะเดาเข้มข้นที่วางขายในท้องตลาด ต้องได้รับการขึ้น ทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร และต้องดูราคาประกอบด้วย เกษตรกรควรระลึกเสมอว่านํ้ายาสะเดาที่ได้คุณภาพจะมีราคาที่ไม่ถูกนัก ในกรณีผลิตใช้เองต้องทําตามคําแนะนํา และพยายามอย่าให้มีเชื้อราทําลายเมล็ดในสะเดา
  3. จําเป็นต้องทราบชนิดของแมลง สะเดาไม่ใช้ยาวิเศษที่จะใช้ป้องกันและกําจัดแมลงไดดีทุกชนิด สะเดาจะใช้ได้ดีกับแมลงบางชนิดเท่านั้น การใช้สารฆ่าแมลงสังเคราะห์ และการใช้วิธีการป้องกันและกําจัดโดยวิธีอื่นที่ไม่ใช้สารเคมี จําเป็นต้องนํามาใช้ประกอบกัน
  4. ระยะเวลาในการพ่นสะเดาจะให้ผลดีเมื่อเกษตรกรพ่นสะเดาก่อนที่แมลงจะระบาดถ้าแมลงระบาดแล้วอาจใช้สะเดาไม่ได้ผล จําเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลงสังเคราะห์สัก 1-2 ครั้งก่อน จํานวนครั้ง ในการพ่นสะเดา ควรดําเนินการติดต่อกัน 3-4 ครั้ง  โดยเว้นระยะพ่นแต่ละครั้ง 5-7 วัน
  5. สารฆ่าแมลงสังเคราะห์ยังมีความจําเป็น ดังนั้น ในบางครั้ง ต้องเลือกชนิดของสารฆ่าแมลงให้ถูกต้องและปลอดภัย 
  6. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากเอกสาร จากผู้เชี่ยวชาญ หรือเกษตรกรที่ใช้สะเดาป้องกันและกําจัดแมลง

ถ้าเกษตรกรสามารถปฏิบัติได้ตามคำแนะนำดังกล่าวแล้วเกษตรกรผู้นั้นจะมีความรู้สึกว่าการป้องกันและกําจัดแมลงจะไม่ใช้สิ่งที่ยากต่อไปอีกแล้ว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com
https://www.youtube.com

2 Comments

Add a Comment