สีง้ำ เนื้อไม้ มีสีน้ำตาลดำใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ขนาดเล็ก

สีง้ำ

ชื่ออื่นๆ : จีง้ำ (กรุงเทพฯ), ซีฮำ (มลายู-ภูเก็ต. สตูล) รังแค (ชุมพร), ซีง้ำ (ตรัง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scyphiphora hydrophyllacea Gaertn. f.

ชื่อวงศ์ : Rudiaceae

ลักษณะของสีง้ำ

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 1.5- 4 เมตร เปลือก บาง สีเหลืองถึงเทา

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบอ่อนมียาง แผ่นใบอ่อนนุ่ม คล้ายหนัง รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ขนาด 2-5 x 5-10 ซม. ปลายใบกลมหรือป้านมน ฐานใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1-2 ซม. หูระหว่างก้านใบ กลม กว้าง 0.3 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ เป็นช่อกระจุกแน่น ก้านดอกย่อยสั้นมาก หลอดกลีบเลี้ยงยาว 0.3-0.4 ซม. มีสีขาวก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีชมพู ออกดอกประมาณเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม

ผล อยู่รวมกันเป็นกระจุก ผลเกลี้ยง สีเขียวรูปทรงกระบอก ยาว 0.7-1 ซม. มีร่องลึกตามยาว ผลอ่อนนุ่ม แต่ละผลมี 2-4เมล็ด

ต้นสีง้ำ
ต้นสีง้ำ เปลือกบาง สีเหลืองถึงเทา
ดอกสีง้ำ
ดอกสีง้ำ สีขาวก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีชมพู

การขยายพันธุ์ของสีง้ำ

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/-

ธาตุอาหารหลักที่สีง้ำต้องการ

ประโยชน์ของสีง้ำ

เนื้อไม้ มีสีน้ำตาลดำใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ขนาดเล็ก ดอกใช้ในการสกัดเป็นสารทำความสะอาด ช่วยในการซักล้าง

สรรพคุณทางยาของสีง้ำ

ใบ น้ำสกัดจากใบช่วยในการลด อาการปวดท้อง

คุณค่าทางโภชนาการของสีง้ำ

การแปรรูปของสีง้ำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9463&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment