สีเสียด ขี้เสียด ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

สีเสียด

ชื่ออื่นๆ :  สีเสียดเหนือ, สะเจ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สีเสียด, ขี้เสียด (ภาคเหนือ) สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (ภาคกลาง) สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Catechu Tree, Cutch Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia catechu (L.f.) Willd.

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE

ลักษณะของสีเสียด

ต้น ไม้ต้นยืนต้นสูง สูงถึง 5-15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดบาง เรือนยอดเป็นรูปกรวยต่ำๆ ตามกิ่งก้านมีหนามโค้งเป็นคู่อยู่ทั่วไป

ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น มีก้านแขนง 10-20 คู่ ใบย่อยเล็กมากเรียงกันแน่นอยู่บนแกนกลาง 30-50 คู่

ดอก เล็ก ออกเป็นช่อแบบหางกระรอก สีเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร

ผล เป็นฝักแบน บาง แคบ สีน้ำตาล แตกเมื่อแก่

ต้นสีเสียด
ต้นสีเสียด เปลือกสีเทาคล้ำ แตกเป็นสะเก็ด
ใบสีเสียด
ใบสีเสียด ใบประกอบแบบขนนก

การขยายพันธุ์ของสีเสียด

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่สีเสียดต้องการ

ประโยชน์ของสีเสียด

  • ต้นสีเสียดแก่น ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็น พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
  • ส่วนของสีเสียดที่นำมาใช้เป็นยาคือเปลือกต้น แก่นเนื้อไม้ เมล็ดในฝัก โดยพบสารสำคัญดังนี้ เปลือกต้นพบสาร Catechol, Gallicacid, Tannin แก่นเนื้อไม้พบสารแทนนินจำพวกคาทีซิน (Catechin) ซึ่งเป็นสารรสฝาด มีอยู่ประมาณร้อยละ 35 ส่วนทั้งต้นพบสารชื่อ Epicatechin ขณะที่ใบพบสาร Catechin, Isoacacatechol, TanninsIsoacacatechol acetateจากสารสำคัญดังกล่าวทำให้สีเสียดมีสรรพคุณทางยา แต่ก่อนที่จะนำไปใช้นั้นต้องนำเนื้อไม้สีเสียดมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปต้มกับน้ำเคี่ยวไฟอ่อนๆ นำไปกรองแล้วเคี่ยวต่อจนงวด จะได้ยางสีน้ำตาลดำมีลักษณะเหนียว แล้วเทลงในเบ้าหรือแบบพิมพ์ ทิ้งไว้ให้แห้งจะได้ก้อนสีเสียดสีดำเป็นมันและมีรสฝาดมากซึ่งสามารถเก็บไว้ใช้รักษาอาการต่างๆ เช่น ท้องเสียหรือท้องเดินจากการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง วิธีการเตรียมยาคือ นำก้อนสีเสียดมาบดให้เป็นผง แล้วใช้ผงต้มกับน้ำนำมาดื่ม หรือนำผง สีเสียดไปผสมกับผงอบเชยในปริมาณที่เท่ากัน (อย่างละ 1 กรัม) ต้มกับน้ำ 240 ซีซี ในเวลา 2 ชั่วโมง แล้วนำไปกรองเอาน้ำดื่มครั้งละ 30 ซีซี วันละ 3 เวลา จนกว่าอาการจะดีขึ้น

    นอกจากนี้ ยังใช้รักษาบาดแผลเรื้อรังหรือโรคผิวหนังบางชนิดและโรคน้ำกัดเท้า จากที่สารเทนนิน มีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมานทำให้ช่วยสมานแผลและฆ่าเชื้อได้บางตัว ดังนั้นจึงทำให้แผลหายเร็วขึ้น วิธีการเตรียมยาคือ นำก้อนสีเสียดขนาดเท่าหัวแม่มือฝนกับน้ำสะอาดให้ข้นๆ นำไปทาแผลหรือทาเท้าบริเวณที่เป็นโรคโดยทาบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น หรือนำผงสีเสียดไปผสมกับน้ำสะอาดทำเป็นน้ำยาล้างแผล แก้โรคหิด โดยใช้เมล็ดในฝักฝนกับน้ำสะอาดแล้วนำไปทาบริเวณที่เป็นหิดทาจนกว่าจะหาย และนอกจากจะนำสีเสียดมาปรุงเป็นยาแล้ว ยังนำไปใช้ประโยชน์ทางอื่นได้อีก เช่น ใช้ย้อมผ้าหรือฟอกหนังสัตว์ หรือใช้ผงผสมกับปูนแดงกินกับหมากพลูป้องกันไม่ให้ปูนแดงกัดปาก

ดอกสีเสียด
ดอกสีเสียด ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน

สรรพคุณทางยาของสีเสียด

  • เปลือกต้น – แก้บิด แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้ท้องเดิน
  • เมล็ดในฝัก – ฝนแก้โรคหิด แผลน้ำกัดเท้า

วิธีและปริมาณที่ใช้

  • ก้อนสีเสียดช่วยฝาดสมาน แก้อาการท้องเดิน
    ใช้ผงประมาณ 1/3 -1/2 ช้อนชา (หนัก 0.3-1 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม
  • แก้แผลเรื้อรัง
    ใช้เปลือกต้น ต้มกับน้ำ ใช้ล้างแผล หัวนมแตก ใช้ล้างแผล แก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง น้ำกัดเท้า
  • แก้โรคหิด
    ใช้เมล็ดฝัก ฝนทาแก้โรคหิด แผลน้ำกัดเท้า

สารเคมี

  • ทั้งต้น พบ Epicatechin
  • เปลือกต้น พบ Catechol, Gallic acid, Tannin
  • แก่น พบ Catechin, Dicatechin
  • ใบ พบ Catechin, Isoacacatechol, Tannins isoacacatechol acetate

คุณค่าทางโภชนาการของสีเสียด

การแปรรูปของสีเสียด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11648&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment