หงอนไก่ดง ไม้ใช้สร้างบ้าน ทำเครื่องใช้ภายในบ้าน

หงอนไก่ดง

ชื่ออื่นๆ : ขางขาว, บาหานธาร (ภาคเหนือ) พริกป่า, ลูกกระโปกม้า (ภาคตะวันออกเฉียงใต้) หงอนไก่ดง (ภาคใต้)

ต้นกำเนิด : ทวีปเอเซีย

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Harpullia cupanioides Roxb.

ชื่อวงศ์ : Sapindaceae

ลักษณะของหงอนไก่ดง

ต้น ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. หรืออาจสูงถึง 40 ม. มีพูพอน แยกเพศต่างต้น กิ่งอ่อนมีขนยาว ไม่มีหูใบ

ใบ ใบประกอบปลายคู่ ปลายยอดมีตา ใบย่อยส่วนมากมีข้างละ 3–6 ใบ เรียงสลับ ก้านใบประกอบยาว 15–20 ซม. ใบรูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ยาว 5–36 ซม. ปลายแหลม แหลมยาว หรือมน โคนแหลมถึงกลม เบี้ยว ก้านใบย่อยยาว 5–8 มม.

ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 85 ซม. ใบประดับรูปใบหอก ร่วงเร็ว ก้านดอกยาว 6–8 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม รูปรี ยาว 3–6 มม. ติดทน ดอกสีขาวอมเหลือง มี 5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 1–2.4 ซม. ค่อนข้างหนา จานฐานดอกรูปวงแหวน มีขนยาว เกสรเพศผู้ 5 อัน สั้นกว่ากลีบดอกเล็กน้อย ก้านชูอับเรณูยาว 2.5–3.5 มม. อับเรณูสีส้มอ่อน รังไข่มี 2 ช่อง มีขนสั้นนุ่ม แต่ละช่องมีออวุล 1–2 เม็ด ยอดเกสรเพศเมียบิดเวียน

ผล ผลแห้งแตก จักเป็นพูตื้น ๆ รูปรี ยาว 2–3 ซม.

เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลดำ รูปรี ยาว 1.3–1.5 ซม. เยื่อหุ้มสีส้มแดง หุ้มเมล็ดจนมิด

หงอนไก่ดง
หงอนไก่ดง ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง

การขยายพันธุ์ของหงอนไก่ดง

ใช้เมล็ด  ไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และป่าดิบชื้น โดยเฉพาะริมลำธาร ความสูงถึงประมาณ 1800 เมตร

ธาตุอาหารหลักที่หงอนไก่ดงต้องการ

ประโยชน์ของหงอนไก่ดง

  • ไม้ใช้สร้างบ้าน ทำเครื่องใช้ภายในบ้าน ทำฟืน ถ่านไม้
  • เปลือกไม้มีซาโปนินและใช้เป็นยาพิษเบื่อปลา
ผลหงอนไก่ดง
ผลหงอนไก่ดง ผลแห้งแตก เยื่อหุ้มสีส้มแดง

สรรพคุณทางยาของหงอนไก่ดง

คุณค่าทางโภชนาการของหงอนไก่ดง

การแปรรูปของหงอนไก่ดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11161&SystemType=BEDO
https://www.dnp.go.th

Add a Comment