หงอนไก่ทะเล ปลูกเป็นร่มเงา และกิ่งอ่อนใช้ถูฟันรักษาเหงือก

หงอนไก่ทะเล

ชื่ออื่นๆ : ข่ควาย (ชุมพร, กระบี่); ดุหุน, ดุหุนใบใหญ่ (ภาคใต้); หงอนไก่, หงอนไก่ทะเล (สุราษฎร์ธานี, ภาคใต้)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heritiera littoralis Dryand

ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE

ลักษณะของหงอนไก่ทะเล

ไม้ต้น สูง 5–15 เมตร ทรงพุ่มค่อนข้างกลม เปลือกต้น สีน้ำตาลเทา แตกสะเก็ดตามยาวเป็นร่องตื้นๆ เปลือกต้นชั้นในสีน้ำตาลอมชมพู ระบบรากตื้นจึงพบว่ารากจะเจริญเติบโตบนผิวดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ถึงรูปขอบขนาน กว้าง 5–10 ซม. ยาว 10–22 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบกลมมน สอบแคบ หรือเบี้ยวเล็กน้อย ผิวใบเกลี้ยง หลังใบสีเข้ม ท้องใบมีไขสีขาว ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นแขนงใบ 7–15 คู่ ปลายเส้นแขนงใบเชื่อมประสานกันก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1–2 ซม. ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกรูประฆัง สีเหลือง ผลกลมรี มีครีบเป็นสันด้านบน ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาลแก่ ขนาดกว้างประมาณ 4 ซม. ยาว 5- 6 ซม. เปลือกด้านในเป็นเส้นใย เป็นผลแห้งชนิดไม่แตก เปลือกผลจะแตกอ้าออกเมื่อเมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้าเมล็ดค่อนข้างกลม 1 เมล็ดต่อผล

ผลหงอนไก่ทะเล
ผิวเกลี้ยงเป็นเงา ผลแก่สีน้ำตาล

การขยายพันธุ์ของหงอนไก่ทะเล

ใช้เมล็ด เพาะกล้าด้วยผลแห้ง จะงอกภายใน 2-3 เดือน

ธาตุอาหารหลักที่หงอนไก่ทะเลต้องการ

ประโยชน์ของหงอนไก่ทะเล

  1. เนื้อไม้สีขาว แข็งแรงทนทาน ใช้ทำเสา ทำชิ้นส่วนต่อเรือ และอุปกรณ์ในการก่อสร้างต่างๆ
  2. เมล็ดมีแทนนิน ปรุงเป็นยาแก้ท้องเสียและบิด
  3. เปลือก ใช้ต้มน้ำอมบ้วนปากแก้รำมะนาด ปากอักเสบ
  4. กิ่งอ่อน มีสารเทนนิน ใช้ถูฟันรักษาเหงือก
  5. ใบสวย ปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ร่มเงาได้ดี
  6. ผลแห้ง นำมาประดับตกแต่ง หรือประดิดประดอยเป็นรูปร่างต่างๆได้สวยงาม

สรรพคุณทางยาของหงอนไก่ทะเล

คุณค่าทางโภชนาการของหงอนไก่ทะเล

การแปรรูปของหงอนไก่ทะเล

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9483&SystemType=BEDO

หงอนไก่ทะเล…พรรณไม้หลายคุณค่า


https://www.dnp.go.th/botany/mindexdictdetail.aspx?runno=5839

Add a Comment