หงอนไก่ สร้อยไก่ ดอกด้าย ลำต้นตั้งตรง ดอกมีรูปทรงคล้ายหงอนไก่

หงอนไก่

ชื่ออื่นๆ : หงอนไก่ไทย, หงอนไก่ดง, หงอนไก่ดอกกลม, หงอนไก่ฟ้า (ภาคกลาง) ด้ายสร้อย, สร้อยไก่, หงอนไก่ (เชียงใหม่) หงอนไก่ฝรั่ง (ภาคกลาง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Cockscomb, Chinese Wool Flower

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Celosia argentea L. var. cristata (L.) Kuntze

ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE

ลักษณะของหงอนไก่

ต้น  ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1.0-1.5 ม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามาก ผิวขรุขระ

ใบ  ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปหอกหรือรูปแถบแคบ กว้าง 1-6 ซม. ยาว 8-15 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่นและมีไขปกคลุม เส้นใบนูนเด่นด้านท้องใบ

ดอก  ดอกช่อออกที่ปลายยอด ช่อดอกกว้าง 1.5-2.0 ซม. ช่อดอกมี 2 แบบคือ รูปทรงกระบอกและแบบรูปหงอนไก่ บางครั้งพบทั้งสองแบบในต้นเดียวกัน กลีบรวมมี 4 กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว 0.6-1.0 ซม. เกสรเพศผู้ปลายแหลมมี 5 อัน ฐานรองดอกเชื่อมติดกันเป็นแผ่นย่น เป็นก้อนกลม ใบประดับรองดอกขนาดเล็กเป็นเส้นคล้ายกำมะหยี่ ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมีหลายสี เช่น แดงสด ขาว และเหลือง

ผล  ผลรูปไข่ค่อนข้างกลม สีดำเป็นมัน ขนาดเล็ก ผลแห้งแตกแบบมีฝาเปิด สีน้ำตาลอ่อน เมล็ดสีดำ เป็นมัน

ต้นหงอนไก่
ลำต้นตั้งตรง ใบออกเรียงสลับ ปลายใบเรียวแหลม

การขยายพันธุ์ของหงอนไก่

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หงอนไก่ต้องการ

ประโยชน์ของหงอนไก่

  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับแปลงทั่วไป ปลูกตามขอบแปลง ริมทางเดิน หรือจะปลูกเป็นไม้กระถางก็ได้ เพราะดอกมีความสวยงาม สีสันโดดเด่น เพาะปลูกได้ง่าย มีความแข็งแรงทนทนทาน สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี เมื่อดอกบานแล้วจะมีอายุยืนยาว เช่นเดียวกับดอกบานไม่รู้โรย เพราะอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่เมื่อดอกแล้วโรยแล้วจะต้องเปลี่ยนต้นใหม่
  • ปลูกเป็นไม้ตัดดอกทำดอกไม้แห้งก็ได้ เพราะสามารถเก็บไว้ได้นานและไม่เปลี่ยน
ดอกหงอนไก่
ดอกเป็นช่อเป็นแท่งยาว ดอกสีม่วงแกมชมพู

สรรพคุณทางยาของหงอนไก่

  • รากมีรสขมเฝื่อน สรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ราก)
  • ดอกใช้รวมกับพืชชนิดอื่นเป็นยาบำรุงกำลัง (ดอก)
  • ตำรายาไทยจะใช้รากหงอนไก่เป็นยาแก้โลหิตเป็นพิษ (ราก)
  • เมล็ดมีรสขมเป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาแก้ร้อนในตับ ช่วยขับลมร้อนในตับ (เมล็ด)
  • ช่วยแก้เลือดลมไม่ปกติ (ดอก)
  • ดอก ก้าน และใบหงอนไก่เทศ มีรสชุ่มเป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับและไต มีสรรพคุณทำให้เลือดเย็น (ก้านและใบ,ดอกหงอนไก่เทศ)
  • ช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ (ราก)
  • ใช้เป็นยาแก้ไข้ที่มีอาการในทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น ไข้ท้องอืดเฟ้อ ไข้พิษ ไข้อาหารเป็นพิษ และช่วยแก้ไข้เพื่อลม (มีอาการท้องอืดเฟ้อ) (ราก)
  • ใช้แก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้ดอกสด (ดอกมีรสฝาดเฝื่อน) ประมาณ 30-60 กรัม (ถ้าเป็นดอกแห้งให้ใช้ประมาณ 15-30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกิน (ดอก)
  • ใช้เป็นยารักษาโรคตาแดง ตาปวด เยื่อตาอักเสบ ช่วยทำให้ตาสว่าง ด้วยการใช้ดอกสดประมาณ 30-60 กรัม (แห้งใช้ 15-30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกิน (ดอก)

คุณค่าทางโภชนาการของหงอนไก่

การแปรรูปของหงอนไก่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9354&SystemType=BEDO

Add a Comment