หญ้าตีนตุ๊กแก ต้นอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์ได้

หญ้าตีนตุ๊กแก

ชื่ออื่นๆ : หญ้าตุบโต๋ (เชียงใหม่) ตีนตุ๊กแก (กรุงเทพฯ), เทียนเศรษฐี (แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : เขตร้อนของทวีปอเมริกา และในประเทศไทยพบทุกภาค บริเวณที่ชื้นทั่วไปหรือชื้นแฉะริมน้ำ

ชื่อสามัญ :  Coat buttons, Mexican daisy, Tridax daisy, Wild Daisy

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coldenia procumbens Linn.

ชื่อวงศ์ : BORAGINACEAE

ลักษณะของหญ้าตีนตุ๊กแก

ต้น ไม้ล้มลุก ทอดนอนตามพื้น ลำต้นมีขน

ใบ ใบเดี่ยว เรียงรอบข้อหรือเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับยาว 0.5-2 เซนติเมตร กว้าง 0.2-1 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบเฉียง ขอบใบหยักมน หรือหยักซี่ฟัน ผิวใบทั้งสองด้านมีขน แต่ผิวใบด้านล่างมีหนาแน่นกว่า

ดอก ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ก้านดอกสั้นหรือไม่มีก้านดอก กลีบเลี้ยง เชื่อมกันที่ฐาน เล็กน้อยปลายแยกเป็น 4 แฉก แต่ละแฉกรูปใบหอกขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย ยาว 1-3 มิลลิเมตร กว้าง 0.3-1 มิลลิเมตร ผิวด้านนอกมีขน กลีบดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน รูประฆัง เชื่อมกันเป็นหลอดที่ฐานยาว 1-1.5 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 4 แฉกเล็กน้อย แต่ละแฉกยาว 0.1-0.2 มิลลิเมตร สูงกว่ากลีบเลี้ยงเล็กน้อย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ติดที่กลางหลอดกลีบดอก อับเรณูรูปกลม ยาว 0.1-0.2 มิลลิเมตร ติดกับก้านชูเกสรที่ด้านหลัง ก้านชูเกสรเพศเป็นแท่งยาว 0.3-0.5 มิลลิเมตร เกสรเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปใบหอก 2 อันประกบกัน แต่ละอันยาว 0.5-1 มิลลิเมตร ก้านชูเกสรยาว 0.1-0.2 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมีย แยกเป็น 2 แฉกแต่ละแฉกรูปรียาว 0.05-0.1 มิลลิเมตร

ผล ผลรูปหอก 2 อันประกบกัน กว้าง 1-3 เซนติเมตร ด้านข้างของผลมีจะงอยเล็กน้อย ผิวมีขน มีกลีบเลี้ยงหุ้มผล

หญ้าตีนตุ๊กแก
หญ้าตีนตุ๊กแก ลำต้นมีขน ทอดนอนตามพื้น
ดอกหญ้าตีนตุ๊กแก
ดอกหญ้าตีนตุ๊กแก ดอกสีเหลืองอ่อน

การขยายพันธุ์ของหญ้าตีนตุ๊กแก

การเพาะเมล็ด, การปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่หญ้าตีนตุ๊กแกต้องการ

ประโยชน์ของหญ้าตีนตุ๊กแก

ต้นอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์ได้

สรรพคุณทางยาของหญ้าตีนตุ๊กแก

ใบ  รสเฝื่อน ตำพอกแก้ปวด แก้อักเสบตามข้อ พอกฝี

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าตีนตุ๊กแก

การแปรรูปของหญ้าตีนตุ๊กแก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10315&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment