หญ้าหนวดแมว อีตู่ดง ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก พืชที่อยู่ในพวกเดียวกับกะเพราและโหระพา

หญ้าหนวดแมว

ชื่ออื่นๆ : พยับเมฆ (กรุงเทพ) อีตู่ดง (เพชรบูรณ์) บางรัก (ประจวบคีรีขันธ์)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หญ้าหนวดแมว พยับเมฆ Java Tea, Kidney tea, Cat’ s Whiskers

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon aristatus (Blume) Miq. Bolding.

ชื่อวงศ์ : Lamiaceae

ลักษณะของหญ้าหนวดแมว

ต้น เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นสี่เหลียม มีสีน้ำตาล

ใบ ใบเดี่ยวเรียงตัวแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก (decussate) รูปร่างใบแบบ รูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย

ดอก ช่อดอกแบบกระจุก ปลายยอดคล้ายฉัตร ออกบริเวณปลายยอด และปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศ สมมาตรด้านข้าง กลีบดอกมีสีขาว และสีม่วง เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นรูปปากเปิด

ซึ่งเป็นพืชที่จัดอยู่ในพวกเดียวกับ กะเพราและโหระพา

ต้นหญ้าหนวดแมว
ต้นหญ้าหนวดแมว ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก
ดอกหญ้าหนวดแมว
ดอกหญ้าหนวดแมว กลีบดอกสีขาว ดอกแบบกระจุก ปลายยอดคล้ายฉัตร

การขยายพันธุ์ของหญ้าหนวดแมว

การปักชำและการเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หญ้าหนวดแมวต้องการ

ประโยชน์ของหญ้าหนวดแมว

มีประโยชน์ทางยา

สรรพคุณทางยาของหญ้าหนวดแมว

  • ใบ  รักษาโรคไต อาการปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ขับกรดยูริกออกจากไต
  • ราก  ขับปัสสาวะ
  • ต้น  แก้โรคไต ขับปัสสาวะ โรคนิ่ว โรคเยื่อจมูกอักเสบ

วิธีการใช้ ยอดอ่อนนำมาหั่นตากให้แห้ง ใช้ ประมาณ 2 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว / ต้น สด ใช้ประมาณ 90-120 กรัม แห้ง ใช้ประมาณ 40-50 กรัม ชงกับน้ำ 1 แก้ว วันละ 3 ครัง ก่อนอาหาร

ข้อควรระวัง
คนที่เป็นโรคหัวใจ ไต ห้ามรับประทาน เพราะในหญ้าหนวดแมวมี โพแทสเซียมสูงมากถ้าไตไม่ปกติ จะไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกมาได้ ทำให้เกิดโทษกับร่างกาย ไม่ควรใช้การต้ม ให้ใช้การชง และควรใช้ใบอ่อน เพราะใบแก่จะมีความเข้มข้นอาจทำให้มีฤทธิ์กดหัวใจ ควรใช้ใบตากแห้ง เพราะใบสดจะทำให้มีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่น ไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน เพราะสารจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยาจำพวกแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น

องค์ประกอบทางเคมี
ต้น : Hederagenin, Beta-sitosterol, Ursolic acid
ใบ : Glycolic acid, Potassium salt 0.7-0.8%, Orthosiphonoside, Tannin, Flacone, Organic acid, Volatile oil

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าหนวดแมว

การแปรรูปของหญ้าหนวดแมว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12158&SystemType=BEDO
http://www.ananhosp.go.th
https://www.flickr.com

Add a Comment