มณีเทวา หญ้าหัวหงอก วัชพืช นิยมใช้เป็นไม้ประดับในตู้ปลา

มณีเทวา หญ้าหัวหงอก

ชื่ออื่นๆ : มณีเทวาหญ้ากระดุมเงิน, หญ้ากระดุม, หญ้าดอก, หญ้าหัวหงอก (อีสาน) หญ้าตุ้มหู

ต้นกำเนิด : เกิดตามธรรมชาติตามทุ่งนา หลังฤดูเก็บเกี่ยว

ชื่อสามัญ : Manee Dhevaa  Eriocaulon sp.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eriocaulon spp.

ชื่อวงศ์ : ERIOCAULACEAE

ลักษณะของมณีเทวา หญ้าหัวหงอก

ต้น  เป็นพืชล้มลุก อายุสั้นหรือหลายปี/วัชพืช มีเหง้าสั้น ขึ้นเป็นกอคล้ายหญ้า

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเวียนที่โคนเป็นกอสั้นคล้ายหญ้า รูปแถบแคบ ยาว 1 – 3.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ก้านช่อชูขึ้นสูง มีขนสีขาวขนาดเล็ก ยาว 14 – 20 เซนติเมตร ใบประดับรูปหอกกลับสีน้ำตาลอ่อน ขนาด 2 – 2.5 เซนติเมตร

ต้นหญ้าหัวหงอก
ต้นหญ้าหัวหงอก ขึ้นเป็นกอคล้ายหญ้า ใบแคบปลายใบแหลม

ดอก  ดอกขนาดเล็ก มีดอกเป็นช่อกระจุก กลีบดอกเรียงอัดกันเป็นกลุ่มคล้ายลูกบอลขนาดเล็กอัดกันเป็นช่อทรงกลมเหมือนหัวแหวนสีขาวก้านช่อกลมเล็กเรียวตั้งสูง 10-20 ซม.  ออกดอกเดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ ออกดอกปีละ 1 ครั้ง

เมล็ด  เมล็ดสีเหลือง

ดอกหญ้าหัวหงอก
ดอกหญ้าหัวหงอก ดอกเป็นช่อทรงกลมเหมือนหัวแหวนสีขาว

การขยายพันธุ์ของมณีเทวา หญ้าหัวหงอก

การเพาะเมล็ดและแยกกอ

ธาตุอาหารหลักที่มณีเทวา หญ้าหัวหงอกต้องการ

  • ดิน ดินร่วนปนทราย ชื้นแฉะ
  • น้ำ  มาก ชอบอากาศเย็น
  • แสงแดด ตลอดวัน

ประโยชน์ของมณีเทวา หญ้าหัวหงอก

  • นิยมปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับในตู้ปลา
  • เป็นไม้ประดับป่าที่นำดอกมาย้อมสีแล้วเข้าช่อกับดอกไม้แห้งชนิดอื่นๆ
  • เป็นดอกไม้ป่า 1 ใน 5 ชนิด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระราชทานชื่อไว้ว่า “มณีเทวา”
  • เป็นสมุนไพรใช้เข้าเครื่องยา เป็นยาสงบประสาท แก้ไข้ แก้ปวดและขับปัสสาวะ ในจีนและมาเลเซียใช้รักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา เป็นยาแก้อักเสบสมานแผล

สรรพคุณของมณีเทวา หญ้าหัวหงอก

ทั้งต้น   รสจืดเย็น เป็นยาสงบประสาท แก้ไข้ แก้ปวด ขับปัสสาวะ

คุณค่าทางโภชนาการของมณีเทวา หญ้าหัวหงอก

การแปรรูปมณีเทวา หญ้าหัวหงอก

นิยมนำดอกมาย้อมสีแล้วเข้าช่อกับดอกไม้แห้งชนิดอื่นๆ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : สำนักพิมพ์บ้านและสวน
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment