หญ้าแขม ไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า เจริญเติบโตเป็นกอขนาดใหญ่

หญ้าแขม

ชื่ออื่นๆ : หญ้าแขม ตะโป (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) แตร๊ง (เขมร-สุรินทร์) ปง (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saccharum arundinaceum Retz.

ชื่อวงศ์ : Gramineae

ลักษณะของหญ้าแขม

ไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า เจริญเติบโตเป็นกอขนาดใหญ่ตั้งตรง สูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ไส้กลวงมีเยื่อสีขาว ใบแคบเรียว ขนาดยาวประมาณ 100-150 ซม. ปลายใบแปลม ขอบใบเป็นจักเล็กแข็ง เส้นกลางใบเป็นร่องสีขาว สังเกตเห็นได้ชัดเจน ดอก ออกเป็นช่อชนิดพานิเคิลขนาดใหญ่ แต่ละดอกย่อยมีกลีบดอก 2 กลีบ คือกลีบนอกและกลีบใน ยาวประมาณ 0.5 ซม. มีเส้นขนเป็นปุยสีขาวหุ้มอยู่รอบนอก ปุยนี้จะยาวกว่ากลีบดอก ติดเมล็ดเป็นรูปกระสวยมีปุยขนติดที่เมล็ดทำให้เมล็ดลอยตามลมไปได้ไกลๆ ออกดอกเกือบตลอดปี

หญ้าแขม
หญ้าแขม ลำต้นเป็นกอ ใบแคบเรียว ปลายแหลม

การขยายพันธุ์ของหญ้าแขม

ใช้เมล็ด พบขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ริมหนอง บึง ชายคลอง

ธาตุอาหารหลักที่หญ้าแขมต้องการ

ประโยชน์ของหญ้าแขม

สรรพคุณทางยาของหญ้าแขม

ราก น้ำต้มกินเป็นยาเย็น ขับปัสสาวะ และแก้โรคผิวหนังบางชนิด
ต้น ต้มน้ำกินแกฝี หนอง

ดอกหญ้าแขม
ดอกหญ้าแขม ดอกออกเป็นช่อ มีเส้นขนเป็นปุยสีขาวหุ้มอยู่รอบนอก

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าแขม

การแปรรูปของหญ้าแขม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11711&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment