หนานเฉาเหว่ย ใบมีสรรพคุณ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันเลือด

หนานเฉาเหว่ย

ชื่ออื่นๆ : ป่าช้าเหงา, ป่าช้าหมอง, หนานเฟยเฉา, หนานเฟยซู่, ป่าเฮ่วหมอง, บิสมิลลาฮ์

ต้นกำเนิด : ประเทศจีน

ชื่อสามัญ : Bitter leaves

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnanthemum extensum

ชื่อวงศ์ : Asteraceae

ลักษณะของหนานเฉาเหว่ย

ต้น เป็นพืชกลุ่มเดียวกับฟ้าทะลายโจร พญายอ หนานเฉาเหว่ยเป็นไม้ยืนต้นสูง 6-8 เมตร มีตาสีขาวตรงข้อของลำต้น

ใบ  ใบออกสลับ มีรูปรี ปลายแหลม โคนป้านเกือบมน ใบอ่อนและใบแก่ มีรสขมจัด เมื่อเคี้ยวตอนแรก จะขมในปากมาก แต่พอสักพักจะรู้สึกหวานในปากและในลำคอ

ดอก  ดอกมีสีขาว ออกตามซอกใบ และปลายยอด

ผล  ผลมีรูปทรงกลม มีเมล็ด

ต้นหนานเฉาเหว่ย
ต้นหนานเฉาเหว่ย ไม้ยืนต้น ใบรูปรี ปลายแหลม

การขยายพันธุ์ของหนานเฉาเหว่ย

การปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่หนานเฉาเหว่ยต้องการ

ประโยชน์ของหนานเฉาเหว่ย

ใบ มีสารกลุ่ม flovonoids, steroid glucosides, steroid, saponin ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ ระงับความเจ็บปวด ลดระดับน้ำตาลในเลือด คั้นน้ำจากใบสดรักษาอาการเบาหวาน ชุ่มคอ ต้านมาลาเรีย แก้การปวดเมื่อย ยาระบาย

สรรพคุณทางยาของหนานเฉาเหว่ย

ใบ ทั้งแบบทานใบสด และนำไปต้มดื่มกับน้ำ มีสรรพคุณ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันเลือด
ใบสด รักษาอาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามร่างกาย

ใช้ใบสด ล้างสะอาด ควรเคี้ยวไม่เกินวันละ 3 ใบ ไม่แนะนำให้กินทุกวัน ผู้ป่วยเบาหวาน หากกินมากเกินไปอาจพบภาวะน้ำตาลตกได้

ผู้ป่วยที่มีโรคไตห้ามใช้เนื่องจากมีรายงานว่ามีผลกระทบต่อไต และประสบการณ์จริงของผู้เขียนบทความ ส่งผลให้เกิดอาการเท้าบวม มือบวมเมื่อรับประทานเป็นเวลาต่อเนื่องกว่า 2 สัปดาห์ การรับประทานจึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และตรวจสอบค่าต่างๆ ในร่างกายเพราะทุกสิ่งในโลกนี้ต้องใช้อย่างเหมาะสม น้อยเกินไป ก็ขาด มากเกินไป ก็เกิน ต่างมีผลกระทบต่อร่างกายเสมอ เห็นควรที่จะตรวจวัดค่าไตอย่างต่อเนื่องหากทดลองใช้ ก่อนที่จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อไต หรืออันตรายต่อชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคไต

คุณค่าทางโภชนาการของหนานเฉาเหว่ย

การแปรรูปของหนานเฉาเหว่ย

นำไปทำเป็นชาหนานเฉาเหว่ย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10873&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment